ภาพที่ 1 AnujจากPexels โรคไข้เลือดออก อย่างที่เรารู้ๆ กันว่ามีอีกหนึ่งโรคที่นิยมเกิดขึ้นกับมนุษย์เรา เรียกว่าแทบจะเคยเป็นทุกๆ คนเลยทีเดียวและโรคที่พูดถึงก็คือ โรคไข้เลือดออก ใช่แล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นช่วงฝนตก เพราะช่วงฝนตกมักจะเกิดน้ำขังอากาศชื้นทำให้ยุงมาไข่ทิ้ง ทำให้มียุงเยอะในช่วงฝนตกและสถานที่ที่มีอากาศเย็นชื้น ผู้คนส่วนใหญ่มักเป็นไข้จากการโดนยุงลายกัดและแพร่เชื้อได้ง่ายๆ ติดกันง่ายมาก ในแต่ละปีจะมีการระบาดแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกันออกไป การป้องกันไม่ให้เกิดโรค และการดูแลผู้ที่เป็นอยู่นั้นจึงสำคัญ ภาพที่ 2 Egor KamelevจากPexels โรคไข้เลือดออกนั้นมีอาการอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค คือ1. มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน2. คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร3. หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน4. ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา5. ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก และเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า กลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้การป้องกันโรคไข้เลือดออก1. ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดใช้สารไล่ยุงชนิดต่างๆ เช่น DEET รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาหลบซ่อนในบ้าน ยุงลายมักกัดในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและใกล้เคียง ด้วยการปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้ เช่น แจกัน ทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาดปราศจากเศษวัสดุที่อาจมีน้ำขังได้ เช่น ขวดเก่า กระป๋องเก่า เป็นต้น3. ในรายที่อายุมากกว่า 9 ปี และน้อยกว่า 45 ปี ร่วมกับมีประวัติ เคยเป็นไข้เลือดออกมาแล้ว อาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากสายพันธุ์อื่น ภาพที่ 3 ThirdmanจากPexelsวิธีการดูแลผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น1. เช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้พาราเซนตามอล เมื่อมีไข้สูงควรหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินหรือไฮบรูโพรเฟนลดไข้ เพราะอาจจะทำให้มีเลือดออกหยุดได้ยาก มีอาการทางสมองและตับวายได้2. ถ้าพอรับประทานอาหารได้ ควรให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย หากรับประทานอาหารได้น้อย ควรให้ดื่มนม น้ำผลไม้หรือเกลือแร่3. ถ้าพบแพทย์ตรวจเช็ดระดับเลือดแล้ว หากพบมีเกร็ดเลือดต่ำควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทก เพราะอาจจะมีเลือดออกได้ง่าย ภาพที่ 4 Alex GreenจากPexels ภาพที่ 5 Pietro JengจากPexels หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นะคะ การดูแลอย่างเดียวไม่พอต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำยุงลายด้วยนะคะ ป้องการไม่ให้มีน้ำขังเพื่อลดอัตราการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกค่ะขอบคุณเนื้อหาจาก : https://www.bumrungrad.com/th/โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ภาพหน้าปกโดย Polina TankilevitchจากPexelsผู้เขียนบทความ : T.tichaเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !