ยาลดกรดยูริค ยี่ห้อไหนดี แชร์ประสบการณ์ใช้ยารักษาโรคเกาต์ โคลซิซีน ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาเล่าถึงประสบการณ์ใช้ยาเพื่อรักษาโรคเกาต์ โคลซิซีน (Colchicine) ซึ่งเป็นยาลดกรดยูริค แต่ต้องขอเกริ่นก่อนนะคะว่าเนื้อหาในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างและแนวทางการใช้ยารักษาโรคเกาต์ ไม่สามารถนำข้อมูลนี้ไปปรับใช้ได้ในผู้ป่วยโรคเกาต์รายอื่นในลักษณะเดียวกันได้ โดยไม่มีข้อมูลทางการแพทย์บ่งชี้และสนับสนุนว่าสามารถใช้ยาโคลซิซีนได้!ปกติในร่างกายของเราสามารถกำจัดกรดยูริคได้ตามธรรมชาติและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ แต่เมื่อมีปัจจัยส่งเสริมให้ร่างกายมีการเผาผลาญพิวรีนมากกว่าปกติจนทำให้ไม่สมดุลกับปริมาณของกรดยูริคที่ถูกขับออกได้ หรือระบบขับกรดยูริคออกจากร่างกายบกพร่อง จะพบว่าร่างกายเกิดการสะสมกรดยูริคเอาไว้ในกระดูกและบริเวณข้อกระดูกโดยเฉพาะกระดูกระยางค์ขนาดเล็ก เช่น มือกับเท้า การจะระบุว่าเป็นโรคเกาต์จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาระดับของกรดยูริคในเลือดว่าเกินกว่าปกติไหมอยู่มาวันหนึ่งพ่อของผู้เขียนเจ็บเท้ามาก มีอาการปวด บวม แดง ซึ่งคือลักษณะของการอักเสบ ในกรณีของพ่อผู้เขียนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นที่เท้า ในวันนั้นเองผู้เขียนได้ใช้เวลาหนึ่งวันเต็มเพื่อค้นหาหนทางในการรักษาโรคเกาต์ให้พ่อของผู้เขียน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะคะว่าผู้เขียนได้ศึกษามาทางด้านสุขภาพ ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ที่ผู้เขียนได้ค้นเจอนั้นผู้เขียนจะสามารถเข้าใจได้ทันทีและนำมาใช้ได้ ประกอบกับผู้เขียนได้นำเอาข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นไปปรึกษากับหมอด้วยก่อนที่จะสรุปว่าต้องการใช้ยาโคลซิซีน เพื่อการรักษาโรคเกาต์ของพ่อนานมากกว่า 3 ปีแล้วค่ะ ที่พ่อของผู้เขียนไม่เคยมีอาการอักเสบที่เท้าเลย ซึ่งก็คือตั้งแต่ที่ผู้เขียนได้เริ่มให้พ่อกินยาโคลซิซีน เพื่อรักษาอาการของพ่อ สำหรับพ่อของผู้เขียนนั้นกินยาเพียงตัวเดียว คือ ยาโคลซิซีน พ่อของผู้เขียนยอมจ่ายเงินซื้อยาโคลซิซีนเองค่ะ แผงละ 30 บาท ได้จำนวน 10 เม็ด ในวันแรกที่มีอาการหนักและเริ่มใช้ยาโคลซิซีนนั้น ผู้เขียนได้ให้พ่อของผู้เขียนกินยาโคลซิซีนจำนวน 1 เม็ด ทุกหนึ่งชั่งโมงเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง ซึ่งในระหว่างนั้นผู้เขียนจะนั่งเฝ้าติดตามอาการของผลข้างเคียงจนครบ 8 ชั่วโมง และในวันถัดมาจะกินเพียง 1 เม็ดต่อครั้ง ในเวลาเช้ากับเย็น หลังจากที่อาการอักเสบหายไป ผู้เขียนได้ให้พ่อของเขียนกินยาโคลซีซีนเมื่อมีอาการเท่านั้น แต่ในหนึ่งวันไม่เกิน 2 เม็ด และล่าสุดพ่อของผู้เขียนได้กินยา จำนวน 1 เม็ด เช้าและเย็น ทุกวัน พ่อของผู้เขียนไม่ได้ควบคุมเรื่องอาหารที่มีพิวรีนสูงแบบ 100% ทำเท่าที่เป็นไปได้เท่านั้นค่ะ และจากที่สังเกตมาโดยตลอดนั้น ผู้เขียนไม่พบอาการข้างเคียงจากที่พ่อของผู้เขียนใช้ยาโคลซิซีน ไม่มีอาการแพ้ยาและพ่อก็แฮปปี้มากกับที่พ่อสามารถดูแลตัวเองได้และสามารถเดินเหินใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง▪️เกาต์▪️กรดยูริค▪️โคลซิซีนเครดิตภาพปกจาก Roberto Sorin/unsplash ออกแบบใน canvaเครดิตภาพประกอบเนื้อหาจาก: ภาพที่ 1: Nino Liverani, ภาพที่ 2-4: ผู้เขียนบทความอื่นที่นาสนใจ▪️▶️ วิธีลดไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล ด้วยตัวเอง ▪️▶️ วิธีปรับอารมณ์ ลดความโกรธ ลดความเครียด▪️▶️ 6 วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !