ลูกเขียนหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือไม่ออก บวกเลขไม่ได้ หมอบอกว่าลูกเป็น "โรค LD" หลายคนคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้ แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้คือโรคอะไร? จะรักษาหายมั๊ย? วันนี้เรามีคำอธิบายให้คุณรู้ว่า โรค LD คืออะไร…อธิบายให้เข้าใจภายใน 10 ข้อ1. โรคแอลดี (Learning Disabilities : LD) หรือ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ เกิดจากความผิดปกติของสมองบางส่วนที่ทำให้การเรียนรู้ด้านการอ่าน เขียนสะกดคำ และการคำนวณต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันอย่างชัดเจน เช่น เด็กเรียนชั้นป.4 แต่สามารถอ่านหนังสือได้เท่ากับเด็กชั้นป.12. หน้าตาของเด็กแอลดีจะปกติเหมือนเด็กทั่วไป พูดคุยตอบคำถามทั่วไปรู้เรื่องดี ดูฉลาดหรือปกติในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเรียนที่จะช้ากว่าเพื่อน3. หลีกเลี่ยงวิชาที่ต้องใช้การอ่าน เขียน หรือคำนวณ โดยมักจะพูดว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้” ไม่อยากทำภ่าพจาก : pixabay URL : https://cdn.pixabay.com/photo/2017/01/12/10/40/school-1974369_960_720.jpg4. มีความบกพร่องในการจำพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มีความยากลำบากในการอ่านสะกดคำ จึงมักอ่านหนังสือไม่ออก อ่านข้ามคำ อ่านเติมคำ อ่านเดาคำ อ่านได้ใช้เฉพาะคำที่เห็นบ่อย ๆ เช่น โรงเรียน การบ้าน เป็นต้น ไม่สามารถอ่านสรุปใจความสำคัญได้5. มีความบกพร่องในการเขียนสะกดคำ จึงมักเขียนสะกดแบบตรงตัว ไม่ถูกตามหลักภาษาไทย ไม่สามารถเขียนตัวสะกด วรรณยุกต์ การันต์ได้ถูกต้อง ไม่สามารถเขียนแต่งประโยคและสรุปเนื้อหาสำคัญได้6. ขาดทักษะและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน ค่าของตัวเลข ได้แก่ หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น เขียนตัวเลขกลับกัน เช่น 35 เขียนเป็น 53 คิดเลขช้า ผิดพลาด สับสนในการยืม การทดเลขจำสูตรคูณ สูตรคณิตศาสตร์ และสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ไม่ได้ภ่าพจาก : pixabay URL : https://cdn.pixabay.com/photo/2017/06/15/11/51/learn-2405206_960_720.jpg7. โรค LD ไม่ใช่โรคสติปัญญาบกพร่องหรือปัญญาอ่อน ผู้ป่วยโรคนี้มีระดับเชาวน์ปัญญาที่สามารถเรียนรู้เรื่องทั่วไปได้ แค่บกพร่องเรื่องเรียน8. โรค LD ถือเป็นความพิการทางเรียนรู้ หากได้รับการตรวจประเมินโดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นหรือกุมารแพทย์ สามารถออกหนังสือรับรองความพิการได้ภ่าพจาก : pixabay URL : https://cdn.pixabay.com/photo/2012/02/22/20/07/book-15584_960_720.jpg9. ไม่มียาที่ช่วยรักษาโรค LD ให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้โดยได้รับการฝึกฝนทักษะการเรียนในด้านที่มีปัญหาอย่างสม่ำเสมอและถูกเทคนิค หากได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นจะใช้ชีวิตได้เหมือนปกติทั่วไป สามารถเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนได้ ประกอบอาชีพ (ที่เน้นการปฏิบัติ) ได้10. โรคแอลดี มักพบร่วมกับความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทในด้านอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น พูดช้า พูดไม่ชัด และปัญหาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การหยิบจับสิ่งต่าง ๆ การกะระยะ ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ผู้ปกครองควรนำมาพบแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมภ่าพจาก : pixabay URL : https://cdn.pixabay.com/photo/2016/12/08/13/49/pencil-1891732_960_720.jpgโรคแอลดี หรือความบกพร่องในการเรียนรู้ เป็นโรคที่สามารถพบได้ในเด็กทั่วไปร้อยละ 5-10 ถึงแม้โรคนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายได้แต่สามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการให้ความรู้กับผู้ปกครอง การให้คำแนะนำในการจัดการศึกษาที่เหมาะสม การประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือในชั้นเรียน และการใช้ยาเพื่อลดอาการด้านพฤติกรรมที่อาจเป็นปัญหาร่วม เช่น อาการสมาธิสั้น แต่ในทางตรงข้ามหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ดี อาการความผิดปกติที่เป็นจะทำให้เกิดผกระทบต่อผู้ป่วยทั้งในด้านการเรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคมในอนาคตได้แหล่งข้อมูลอ้างอิงสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. (2562). เด็กแอลดี คู่มือสำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย