โรคความดันสูง เป็นโรคที่พบมากในประชากรไทย เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม หรือลักษณะการดำรงชีวิตประจำวัน คนปกติจะมีความดันโลหิตอยู่ไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยความดันสูงจะมีค่าความดันโลหิตตัวแรกมากกว่า 140 และตัวหลัง มากกว่า 90 โดยอาการผู้ป่วยของโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการให้เห็นมากนัก จะพบมีอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น เหนื่อยง่าย ซึงถ้าไม่ได้รับการตรวจบางคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันสูง ยกตัวอย่างพ่อของผู้เขียนทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันสูงตอนก่อนเข้ารับการถอนฟัน และเข้ารับการรักษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้โรคความดันสูงจะน่ากลัวแต่ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้โรคนี้เป็นอันตรายต่อเราได้ ดังนี้1. ไม่รับประทานอาหารเค็ม อาหารเค็มถือเป็นสิ่งต้องห้ามของผู้ป่วยความดันโรหิตสูง แต่จะห้ามไม่ให้รับประทานเลยก็คงเป็นเรื่องยาก ผู้เขียนได้ควบคุมอาหารของพ่อโดยลดปริมาณเครื่องปรุงที่มีความเค็มไปทีละน้อยจะถือว่าอยู่ในระดับที่พอเหมาะ ให้ร่างกายของพ่อปรับสภาพไปเรื่อยๆ จนปัจจุบันสามารถรับประทานอาหารที่มีความเค็มน้อยได้เป็นปกติ และค่าความดันก็อยู่ในระดับไม่เป็นอันตราย 2. ไม่รับประทานอาหารหมักดอง อาหารหมักดองทุกชนิด ไม่เหมาะกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากไม่สามารถงดรับประทานได้ทันที ก็ควรลดการรับประทานลงไปทีละน้อยจนกว่าจะสามารถหยุดรับประทานของเหล่านี้ได้ในที่สุด3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่ต้องเลือกออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเองอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆละ 30 นาที หากเราออกกำลังกายหนักเกินไป ก็จะเป็นผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้สูงอายุอย่างพ่อผู้เขียน จะเลือกวิธีการเดินเป็นการออกกำลังกาย เดินไปพูดคุยกับคนอื่นไป ทำให้สุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ4. ไม่รับประทานอาหารประเภททอด ให้ปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารประเภทต้ม นึ่งแทน เพื่อลดไขมันสะสมในเลือด หากต้องการรับประทานอาหารประเภททอดให้ใช้การทอดแบบไม่ใช้น้ำมันแทน ซึ่งถ้าลดอาหารประเภทนี้ได้จะสามารถควบคุมความดันได้เป็นอย่างดี 5. ควบคุมน้ำหนักตนเอง โดยหมั่นชั่งน้ำหนักเทียบกับส่วนสูงและอายุ หากน้ำหนักจะเกินเกณฑ์ควรควบคุมเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย นอกจากคุมน้ำหนักแล้วก็ควรวัดความดันเป็นประจำ ซึ่งพ่อของผู้เขียนได้วัดความดันและบันทึกลงสมุดประจำทุกวัน แล้วนำผลการวัดความดันไปให้หมอดูเมื่อไปพบตามหมอนัด ทำให้หมอสามารถวินิจฉัยและให้ยาได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นมากกว่าการวัดความดันครั้งเดียวก่อนไปพบหมอที่โรงพยาบาล6.ทำจิตใจให้แจ่มใส ความเครียดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเสียสมดุล และทำให้เกิดเจ็บป่วยได้ ผู้เขียนจะให้คอยให้การสนับสนุนกิจกรรมของพ่อทุกอย่าง จะไม่ห้ามหากท่านต้องการทำอะไร แต่จะคอยบอกและให้เหตุผลมากกว่า เพื่อให้ท่านได้มีความสุขในการใช้ชีวิต ซึ่งทำให้ท่านมีจิตใจที่แจ่มใส7. ปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง สิ่งหนึ่งที่ทำให้พ่อของผู้เขียนสามารถอยู่กับโรคความดันโลหิตสูงมากว่า 15 ปี โดยไม่มีอาการอันตรายต่อร่างกาย และสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในค่าที่ปลอดภัย คือเมื่อเข้ารับการรักษาแล้วท่านปฏิบัติตนตามหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด ทั้งการรับประทานยา การความคุมอาหาร และข้อห้ามในการทำกิจกรรมต่าง ทำให้สามารใช้ชีวิตอย่างปกติสุขเรื่อยมา แม้อาการของโรคความดันสูงจะไม่เป็นอันตรายในระยะแรก แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ไตวาย หัวใจวาย หมดสติ ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ทางที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองตามวิธีข้างต้นเพื่อใช้ชีวิตให้มีความสุขต่อไป ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Pixabayภาพปก โดย Steve Buissinne จาก Pixabay ภาพประกอบที่ 1โดย andreas160578 จาก Pixabay ภาพประกอบที่ 2โดย Anna Palinska จาก Pixabay ภาพประกอบที่ 3โดย 5688709 จาก Pixabayภาพประกอบที่ 4 โดย Steve Buissinne จาก Pixabay Community ฟุตบอล ถกประเด็นร้อนฟุตบอลทุกลีก ใครตัวเต็ง ใครฟอร์มตก ต้องเคลีย