กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวเพื่อสุขภาพและเคล็ดลับดี ๆ เอามาฝากท่านผู้อ่านทุกคน ๆ การกดจุดเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งทางการแพทย์แผนโบราณที่มีมาเนินนานแต่ละประเทศก็มีการกดจุดที่ไม่เหมือนใคร เทคนิคและความเชี่ยวชาญก็มีความแตกต่างกันแต่มีอยู่อย่างเดียวที่เหมือนกันคือ ทำให้มนุษย์ทุกคนได้รับการผ่อนคลายจากการปวดเมื่อยหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์และไม่อยากให้เกิดขึ้น เทคนิคการกดจุดเพื่อสุขภาพในตอนที่ 5 นี้เป็นการกดจุดเพื่อลดอาการ เมารถ และ แก้อาการท้องผูก เป็นการกดจุดของชาวญี่ปุ่นที่มีมาหลายร้อยปี การกดจุดเพื่อแก้อาการ "เมารถ" อาการเมารถ คลื่นไส้ อาเจียน มักเกิดจากอาการอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพบางโรค แพ้อาหารบ้าง ซึ่งมีผลจากสารเคมีในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ความสมดุลย์ของร่างกายแปลเปลี่ยนไป บางคนก็เรียกอาการ "เมารถ" นี้ว่า "น้ำในหูไม่เท่ากัน" ทำให้เกิดอาการวิงเวียนในขณะนั่งรถเดินทางไกล นั่งเรือที่มีคลื่นลมแรง กดจุดไคคัง แก้เมารถ อาการของโรค เมื่อเมารถเมาเรือ ควรกดจุดนี้เพื่อระงับทันที หรือผู้ที่เมารถง่าย ควรกดจุดนี้ป้องกันไว้ก่อน ชื่อของจุดนี้ จุดไคคัง อยู่ด้านหลังฝ่ามือห่างจากข้อมือ ห่างออกมา 3 นิ้ว (ดูที่รูป) เคล็ดลับในการรักษาอาการ จะเริ่มจากมือซ้ายหรือขวาก่อนก็ได้ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุด เมื่อกดจุดแล้วจะรู้สึกว่าแรงกดจุดวิ่งไปยังข้อศอก แสดงว่ากดจุดได้ถูกจุดไคคัง กดค้างไว้เป็นระยะเวลา 5 นาที พักอีก 3 นาที ทำซ้ำแบบนี้ 5 ครั้ง แล้วทำอีกด้านหนึ่ง ถ้าต้องการให้ได้เห็นผลอย่างรวดเร็วควรตั้งนิ้วมือแล้วกดจุด (ดูที่รูป) จุดไคคัง อยู่ด้านฝ่ามือจากเส้นรอยย่นข้อมือ ห่างออกมายังด้านข้อศอก 3 นิ้วมือ CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง เมื่อกดจุดนี้จะรู้ว่า มีเส้นเอ็นอยู่ 2 เส้น ออกแรงกดเข้าไประหว่าง 2 เส้นนี้จะได้ผลดียิ่งขึ้น CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง หมายเหตุ ก่อนขขึ้นรถต้องหายใจลึก ๆ ผู้ที่เมารถง่าย ๆ ต้องหายใจลึก ๆ เพื่อทำให้ความรู้สึกดีขึ้น แล้วกดจุดป้องกัน เพื่อความไม่ประมาท CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง การกดจุดเพื่อแก้อาการ "ท้องผูก" อาการท้องผูก เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องเคยท้องผูกถ่ายไม่ออก ถ่ายยาก จะรู้สึกอืดอัดท้องไม่สบายตัว แต่มาลองวิธีนี้กันดู กดจุดไดโชยุ จุดไดโคะ ช่วยทำให้ขับถ่ายสะดวก อาการของโรค หากไม่ได้ถ่ายเป็นเวลานานหลายวันและอุจจาระแข็งเป็นแบบนี้ติดต่อกันเรื่อย ๆ เรียกว่าท้องผูก เมื่ออุจาระตกค้างอยู่ในตัวจะส่งผลเสีย ตั้งแต่รู้สึกหงุดหงิด หรือถ้าเป็นหนักอาจถึงขั้นกลายเป็นต้นต่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนั้นอย่าปล่อยให้ท้องผูกเป็นระยะเวลานานต้องรีบแก้ไข ชื่อของจุดนี้ จุดไดโคะ จุดนี้อยู่ใต้สะดือเฉียงออกมาด้านนอก 3 นิ้ว (ดูที่รูป) จุดไดโชยุ อยู่ด้านหลังบนขอบกระดูกเชิงกราน ห่างจากเส้นกลางหลังออกมา 2 นิ้วมือ (ดูที่รูป) เคล็ดลับในการรักษาอาการ จุดไดโคะ เป็นจุดคู่ แต่ควรเน้นจุดฝั่งซ้ายของตนเพราะเป็นบริเวณที่มีอุจาระตกค้างง่าย การกดจุดนี้เพื่อให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น ยิ่งกดจุดไดโชยุร่วมด้วยยิ่งให้ผลดีมากขึ้น จุดไดโคะ เน้นจุดซ้ายของตน CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง ใช้ 4 นิ้ว กดค้างไว้ 5 วินาที และพัก 3 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง จุดไดโชยุ อยู่บนแนวขอบบนของกระดูกเชิงกราน CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง มือเท้าสะเอวใช้หัวแม่มือกดจุด CR : ภาพผู้เขียนออกแบบเอง เป็นอย่างไรบ้างครับลองทำตามดูแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง ต้องลองทดสอบดูนะครับ นักเขียนลองดูวิธีนี้แล้วถือว่าได้ผลเกินคาด ในเรื่องของคนขับขี่รถอยู่เป็นประจำลองทดลองดูก็ไม่เสียหาย ส่วนเรื่องอาการท้องผูกผู้เขียนเป็นบ่อย เพราะรับประทานอาหารที่ย่อยยาก เมื่อทดลองกดจุดถือว่าเห็นผลเช่นเดียวกัน แต่เดี๋ยวนี้ท้องไม่ผูกแล้วขับถ่ายสบาย ๆ อุจจาระไม่แข็ง หากไม่ท้องผูกก็สามารถทำได้นะครับ เป็นการบริหารท้องไปในตัวอีกด้วย เคล็ดลับการกดจุดเพื่อสุขภาพนี้จึงอยากให้ท่านผู้อ่านลองไปทำดูนะครับ ศาสตร์นี้เป็นตำราของชาวญี่ปุ่นที่ใช้กันมานานและไม่มีผลข้างเคียงอะไรเลย และคอยติดตามกดจุดเพื่อสุขภาพกันในตอนต่อไปนะครับ สวัสดี CR : ที่มาภาพหน้าปกจากเว็บไซต์ภาพฟรี >>https://pixabay.com/photos/ CR: ภาพประกอบบทความผุ้เขียนใช้วิธีการสเก็ตภาพและตกแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop cc