การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา แต่การนอนเยอะจนเกินไปอาจไม่ส่งผลดีต่อระบบร่างกายอย่างแน่นอน นอกจากจะไม่ช่วยให้รู้สึกสดชื่นหรือหายง่วงแล้ว ยังทำให้ร่างกายตอบสนองในทางตรงกันข้ามอีก นั่นก็คือจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดหัว หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย และยังทำให้ง่วงได้ตลอดเวลาอีก และที่แย่ไปกว่านั้นอาจจะทำให้มีอาการป่วยแบบไม่รู้ตัวอีกด้วยโดยปกติแล้วเราควรนอนหลับพักผ่อนประมาณ 7-9 ชั่วโมง ก็เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นแล้ว ถ้าเกินไปกว่านี้อาจจะทำให้รู้สึกปวดหัว อ่อนเพลีย หายใจไม่ค่อยสะดวก เหนื่อยง่าย และอยากนอนตลอดเวลา ถ้าหากบางคนที่ทำงานมากจนมีเวลานอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ร่าวกายของเราตอบสนองช้า ซึ่งนั่นก็หมายความว่าจะทำให้เรามีอาการเฉื่อยชานั่นเอง ดังนั้นควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป จะทำให้วันรุ่งขึ้นของเราสดใส หายเครียด และสมองพร้อมทำงานแบบเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมอีกภาพโดย www.freepik.comแล้วทำไมการนอนหลับพักผ่อนเยอะ ๆ ถึงยังมีอาการเหนื่อยหรือยังง่วงอยู่ตลอดเวลา ? แล้วจะต้องทำอย่างไรให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการได้รับ ?1. ห้ามฝืนตัวเองหรือห้ามอดนอนเราทุกคนมักจะมีช่วงเวลาที่เร่งรีบในการทำงานกันทุกคนอยู่แล้ว บางทีต้องรีบทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา และเพื่อให้ทันส่งงานในตอนเช้า แต่หลายคนลืมไปว่าหากร่างกายต้องฝืนทำอะไรแบบนี้ไปนาน ๆ อาจจะส่งผลเสียร้ายแรงตามมากับสุขภาพได้ ดังนั้นการจัดตารางหรือแพลนงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถกำหนดระยะเวลาในการทำงานที่สำคัญก่อนไปหลังได้ดี ซึ่งจะช่วยให้เราได้มีการจัดสรรค์ตารางการนอนหลับพักผ่อนให้กับตัวเอง เพื่อให้วันรุ่งขึ้นยังคงความสดใส และเหมือนเป็นการชาร์ตแบตเตอรี่ให้กับตัวเองได้ดีเลยทีเดียว2. เลือกกิน เลือกดื่มพอจะนอนหลับตาพักผ่อนก็รู้สึกกระวนกระวาย ปวดท้อง หรือกระเพาะของเราเกิดมีเสียงของการทำงานดังออกมา นั่นคงเป็นการรับประทานอาหารที่มากจนเกินไปในมื้อเย็น หรืออาหารอาจจะมีรสจัดมาก จนทำให้กระเพาะทำงานอย่างหนัก ทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างสนิท หรือวันนั้นอาจจะเผลอดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไปหน่อยจนทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลโดยตรงให้ร่างกายรู้สึกแปรปรวน และนั่นคงเป็นเรื่องที่ไม่ดีต่อร่างกายอย่างแน่นอน ทางที่ดีไม่ควรรับประทานอาหารที่มากจนเกินไป และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินวันละ 3-4 แก้วต่อวัน แต่แค่ 2 แก้วต่อวันก็มากพอแล้ว เพราะจะได้ไม่ไปรบกวนการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งอาจส่งผลไม่ดีต่อร่างกายนั่นเอง3. นอนให้ตรงเวลาพยายามเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุก ๆ วันเพื่อให้ร่างกายจดจำ และทำให้การนอนหลับพักผ่อนเป็นไปได้อย่างที่ร่างกายต้องการได้รับ เมื่อร่างกายจดจำพฤติกรรมการเข้านอนและตื่นนอนจะทำให้เราเป็นนาฬิกาปลุกให้กับตนเองได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้การตื่นนอนเป็นเรื่องโดยธรรมชาติ ร่างกายจะตอบสนองไปในทางที่ดีขึ้น รู้สึกกระปรี่กระเปร่า สดชื่น และสมองโลดแล่นได้ดีขึ้นกว่าเดิมนั่นเองภาพโดย www.freepik.com4. ปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเมื่อร่างกายไม่ยอมหลับสักที นอนหลับตาพลิกตัวไปมาก็แล้ว แต่ก็ยังไม่มีท่าทีที่จะหลับ บางคนเลยใช้วิธีการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นในยามดึก แต่นั่นจะยิ่งเป็นการรบกวนการนอนของเราเป็นอย่างมาก เพราะโทรศัพท์ ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์ที่คุณกำลังเล่นอยู่ นั่นจะมีแสงสีน้ำเงิน และคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นอันตรายมากหากมองโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ และยิ่งจะหนักขึ้นไปอีกหากปิดไฟเล่น เพราะนั่นจะทำให้สิ่งเหล่านี้มารบกวนสายตา สมอง และระบบการไหลเวียนต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนพักผ่อนก็ควรวางอุปกรณ์สื่อสาร หรือปิดเครื่องไปเลยได้จะยิ่งดีกับคุณมากเท่านั้น5. ก็เพราะนอนมากเกินไป เลยทำให้การนอนผิดปกติเชื่อหรือไม่ว่าการนอนที่มากเกินไป เสี่ยงเป็น “โรคนอนเกิน (Hypersomnia)” โรคนี้เกิดจากพฤติกรรมการนอนหลับที่เกินพอดี จนทำให้เรามีอาการขี้เซา เหนื่อยง่าย อ่อนล้า สมองสั่งการช้า และอยากนอนตลอดเวลา ดังนั้นการนอนหลับอย่างพอดีควรนอนให้ได้ระหว่าง 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งนั่นก็เพียงพอกับความต้องการที่ร่างกายจะได้รับแล้ว และถ้าหากไม่อยากป่วยทีหลังล่ะก็ เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนพักผ่อนต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคตภาพโดย www.freepik.comอย่างไรก็ตามการนอนหลับพักผ่อนนั้นสำคัญมาก เราไม่ควรที่จะฝืนกับธรรมชาติ เพราะนั่นอาจส่งผลเสียร้ายแรงให้กับร่างกายของเราได้ ฉะนั้นแล้วเมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนหลับพักผ่อนก็ควรที่จะนอน เมื่อถึงเวลาที่จะตื่นนอนก็ต้องรีบตื่น รีบนอนให้เร็วขึ้น ตื่นให้เช้า ซึ่งนั่นจะทำให้ร่างกายเราสดชื่น กระปรี่กระเปร่าขึ้น อีกทั้งยังมีเวลาที่จะจัดการตารางชีวิตให้กับตนเองได้มากกว่าการตื่นสายเสียด้วยซ้ำไป ขอบคุณภาพหน้าปกโดย www.pixabay.comเขียนโดย Zeenan Waraporn