มองหาตัวช่วย ต่อต้านโรคซึมเศร้า ในบทความหนึ่งกล่าวว่า การคิดบวกสามารถต่อต้านอาการซึมเศร้าได้ โดยอธิบายว่าการคิดบวกนั้นช่วยต่อต้านความเครียด ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว บรรเทาอาการปวดหัว และต่อต้านอนุมูลอิสระ โรคซึมเศร้า หรือในทางการแพทย์ Depressed เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่ง จะส่งผลต่ออารมณ์ เกิดความรู้สึกไปทางเศร้า หดหู่ ไม่มีความสนใจต่อสิ่งต่างๆ อีกต่อไป ทางด้านสุขภาพร่างกาย บางคนจะส่งผลต่ออาการไม่อยากอาหาร ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ในบางรายก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับที่ยาวนานมากขึ้น หรือบางรายนอนไม่หลับเลย ที่ส่งผลมากต่อผู้เป็นโรคซึมเศร้า คือการคิดวิตกกว่าคนทั่วไป ส่งผลต่อการตัดสินใจโดยขาดการยั้งคิด อันนำไปสู่การฆ่าตัวตายในผู้ป่วยบางราย จึงมีหลายวิธี ที่มีการแนะนำสำหรับผู้ที่รู้ตัวว่ากำลังเข้าสู่สภาวะโรคซึมเศร้า เช่น การแนะนำให้ผู้ป่วยนั้นเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ การส่งเสริมจากคนรอบข้างให้ผู้ป่วยมีสุขภาพใจที่ดีขึ้น โดยเริ่มต้นจากการคิดบวก แม้ว่าฟังดูจะเป็นหลักในทางบวก แต่แท้ที่จริงแล้ว การลงมือปฎิบัติกลับยากมาก ในหน้าข่าวทั่วไป กลับมีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ตกอยู่ในสภาวะโรคซึมเศร้าตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง เช่น ข่าวของเด็กสาวอายุ 17 ปี ฆ่าตัวตายโดยการกระโดดสะพาน และทิ้งข้อความที่ส่งหาหามารดา พูดถึงความเศร้า การหมดพลังจะมีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้านั้นไม่จำกัดอายุ แต่ส่งผลร้ายแรงต่อการควบคุมตนเองของผู้ป่วย การคิดบวกนั้นถูกอธิบายในทางหนึ่งถึงการมีความหวังในสิ่งต่างๆ ของชีวิต โดยเฉพาะการมีความหวังในการมีชีวิตอยู่ เมื่อเราคิดบวกอย่างต่อเนื่อง จะเหมือนขุมพลังที่ถูกสร้างไม่หยุดหย่อน รวมถึงการสร้างกำลังใจในตัวเอง พูดกับตัวเองเสมอ โดยเริ่มต้นจากการกล่าวให้กำลังใจตัวเองก่อน เมื่อเริ่มมีความหวัง มีพลังทางบวกแล้ว จะเกิดความเชื่อมั่นตามมา จนกระทั่งสามารถพบความสุขในตนเองได้ สำหรับประเทศไทยนั้น มีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ตกอยู่ในสภาวะอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ หรือขาดกำลังใจในตัวเอง รวมถึงผู้มีปัญหาชีวิตในเรื่องส่วนตัว ครอบครัว ครอบคลุมถึงสภาวะอารมณ์ต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการยับยั้งชั่งใจ เป็นต้น #สายด่วนสุขภาพจิต1323 #กรมสุขภาพจิต #กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณะสุข กรมสุขภาพจิต ได้ออกสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรี 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่เกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง ได้เป็นที่พึ่งทางใจ เมื่อตกอยู่ในสถาวะอารมณ์ต่างๆ โดยมีการรณรงค์ให้ #สุขภาพจิตดีเริ่มต้นที่ตัวเรา ขณะเดียวกันในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ ก็มีแพทย์ให้คำปรึกษาเบื้องต้น โดยสามารถเข้ารับคำปรึกษาเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยได้ ในทางการรักษาแม้ผู้ป่วยจะต้องเข้าพบจิตแพทย์ ก็ไม่จำเป็นต้องถูกวินิจฉัยว่าเป็นจิตเภทในทุกราย ประโยชน์ของการเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีแล้ว นี่คือหนทางสำคัญต่อการรักษาอย่างถูกต้อง และทุกวันนี้การพูดคุยกับจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป เมื่อพบว่าตัวเราเองกำลังเผชิญสภาวะซึมเศร้า อย่าลืมมองหาตัวช่วยเพื่อรักษาใจของเรา ให้มีความหวังและความสุขอีกครั้ง อ้างอิง www.dmh.go.th กรมสุขภาพจิต www.bangkokhospital.com ศูนย์จิตรักษ์ www.psychiatry.org (depression)