สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ เราเชื่อว่าหลาย ๆ บ้านจะต้องมีเด็กตัวเล็ก ๆ อาศัยกันอยู่อย่างแน่นอนใช่ไหมคะ และวันนี้เรื่องที่เราจะมาพูดถึงก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็กค่ะ นั่นก็คือโรค IPD ซึ่งเราจะอธิบายถึงโรคนี้ว่าคืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง มีอันตรายแค่ไหนและโรคนี้มีวิธีป้องกันอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ ! Image by Stephanie Pratt from Pixabay โรค IPD คืออะไร ? โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของทุกคน มันสามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม แบคทีเรียนี้มีหลายสายพันธุ์จึงทำให้ก่อเกิดโรคที่ต่างกันไป โรค IPD นี้ต้องบอกก่อนเลยว่ามีความโชคดีอยู่บ้างถ้าหากมีใครเป็น เพราะโรคนี้สามารถรักษาได้และยังมีวัคซีนเพื่อป้องกันอีกด้วย แต่ก็ยังมีอีกกรณีนึงที่พบว่ามีสายพันธุ์ 19A ที่มักจะมีอาการดื้อยา การดื้อยาหมายถึงเชื้อโรคมีการปรับตัวได้เอง ทำให้การใช้ยาจึงไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรทำให้การรักษามีความยากขึ้น โรคนี้จะสามารถพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากเด็กเล็กยังมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำ เชื้อไวรัสนี้ยังสามารถแตกแขนงออกมาเป็นโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งก็มีดังต่อไปนี้ 1. โรคติดเชื้อในกระแสเลือด 2. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 3. โรคปอดบวม 4. โรคหูชั้นกลางอักเสบ Image by Clker-Free-Vector-Images from Pixabay โรค IPD มีอันตรายแค่ไหน ? 1. มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50% ในเด็กที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรค IPD 2. อาจเกิดการสูญเสียการได้ยิน พิการทางสมอง มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติและมีอาการชักได้ ในเด็กทารกที่เคยป่วยเป็นโรค IPD 3. ผู้ที่ป่วยจะต้องได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลนานถึง 12 วันโดยเฉลี่ย 4. แม้จะรักษาโรคด้วยโรงพยาลรัฐ แต่ผู้ป่วยจะต้องจ่ายค่ารักษามากกว่า 50,000 บาท โดยเฉลี่ย วิธีป้องกันลูกน้อยจากโรค IPD 1. หลีกเลี่ยงในการพาลูกน้อยไปยังสถานที่ที่มีผู้คนแออัด 2. ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อความสะอาดและห่างไกลจากเชื้อแบคทีเรีย 3. ทำการปิดปาก จมูก เมื่อเวลาไอหรือจามเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ 4. ปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้การป้องกันโรคและรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค IPD Image by Myriam Zilles from Pixabay โรค IPD นอกจากจะเกิดในเด็ก ๆ ได้แล้ว ผู้ใหญ่อย่างเราก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรดูแลรักษาทั้งสุขภาพลูกน้อยและสุขภาพของตนเองด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นนะคะ ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก: หนังสือ "Bye Bye IPD #สร้างภูมิคุ้มกันให้หนูห่างไกล IPD" ของ Pfizer , https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/70903 ภาพปกจาก: https://www.canva.com/