8 ผักที่มีเอนไซม์ช่วยย่อย ระบบทางเดินอาหารดีขึ้นง่ายๆ คุณทำได้เอนไซม์คือโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในกระบวนการทางชีวเคมีภายในเซลล์ โดยช่วยในเร่งการออกซิเดชันของสารต่าง ๆ ที่ไปทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายเกิดขึ้นได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเอนไซม์จึงมีความสำคัญต่อร่างกายที่หลายคนยังมองภาพไม่ออกค่ะ ต่อไปนี้คือประโยชน์ที่จะได้รับถ้าร่างกายได้รับเอนไซม์จากแหล่งภายนอก - การย่อยอาหาร เอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารช่วยย่อยสลายอาหารให้เป็นสารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำไปใช้ในร่างกายได้ เช่น เอนไซม์ที่ย่อยสลายโปรตีนเป็นกระบวนการสร้างกรดอะมิโนให้กับร่างกาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อค่ะ- ช่วยกระบวนการทางชีวเคมี เอนไซม์เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวเคมี ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารต่างๆ ในร่างกายที่สำคัญค่ะ เช่น เอนไซม์ในตับช่วยในกระบวนการเปลี่ยนแอลกอฮอล์ที่เป็นสารพิษในร่างกาย- กระบวนการสร้างฮอร์โมน เอนไซม์มีบทบาทในการสร้างฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับร่างกายค่ะ เช่น การสร้างฮอร์โมนเพศในผู้ชายและผู้หญิงการที่ร่างกายมีปริมาณของเอนไซม์ที่ไม่เพียงพออาจเป็นปัจจัยชักนำของปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เช่น ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง โรคเกี่ยวกับการเผาผลาญและภูมิแพ้ เป็นต้น ดังนั้นการหันมาดูแลสุขภาพมีส่วนอย่างมากที่ไปช่วยให้เอนไซม์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ค่ะ และเอนไซม์ในผักเป็นอีกหนึ่งทางเลือกง่ายๆ ใกล้ตัว ตัวช่วยส่งเสริมสุขภาพดีที่มีส่วนสำคัญที่สามารถช่วยย่อยอาหารและกระตุ้นกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายเรา ซึ่งต่อไปนี้คือตัวอย่างของผักที่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติที่สำคัญที่สามารถพบได้ค่ะ1. สับปะรด มีเอนไซม์ที่สามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เรียกว่า โบมีเลนค่ะ มีการศึกษาพบว่า โบมีเลนพบมากในแกนของสับปะรดเมื่อเทียบกับเนื้อของสับปะรด และเนื้อของสับปะรดมีโบมีเลนมากกว่าน้ำสับปะรดค่ะ ดังนั้นการกินสับปะรดที่ต่างกันยังทำให้ได้รับเอนไซม์โบมีเลนต่างกันด้วยนะคะ2. มะละกอ เป็นผักที่หลายคนกินประจำ แต่อาจลืมว่ามะละกอมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยอาหารได้ นั่นคือ เอนไซม์ปาเปนค่ะ หลายคนได้รับเอนไซม์ปาเปนเป็นหลักเพราะชอบกินส้มตำ จริงไหมค่ะ? ซึ่งนี่คือข้อดีของการชอบกินส้มตำค่ะโดยเฉพาะบ้านเราที่สามารถหาส้มตำได้ง่ายมากๆ ค่ะ3. บรอกโคลี ผักฝรั่งแต่ก็หาได้ง่ายแล้วในบ้านเรา ช่วงหน้าหนาวยิ่งถูกหนักค่ะ บรอกโคลีสามารถพบเอนไซม์ไมโรซิเนสได้ค่ะ โดยไมโรซิเนสคือหนึ่งในเอนไซม์ตามธรรมชาติที่มีส่วนทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นค่ะ4. หน่อไม้ฝรั่ง เป็นผักที่สามารถให้เอนไซม์แอสพาราจิเนสได้ค่ะ ซึ่งแอสพาราจิเนสนี้ก็เป็นเอนไซม์ที่มีส่วนสำคัญต่อระบบย่อยอาหารค่ะ โดยหน่อไม้ฝรั่งเป็นผักที่หาได้ทั่วไปตามตลาดค่ะ ราคาก็ไม่แพงมาก 5.แตงกวา เป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่มีเอนไซม์กับเขาด้วย โดยเอนไซม์ในแตงกวามีส่วนช่วยสนับสนุนให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ โดยเอนไซม์ในแตงกวา มีชื่อว่า อีเรปซิน และแตกวาถูกและหาง่ายในบ้านเรา ดังนั้นหากต้องการเอนไซม์ตามธรรมชาติต้องเพิ่มการกินแตงกวาค่ะ6. บีทรูท มีเอนไซม์ที่น่าสนใจ ชื่อว่า อินเวอร์เทส ที่เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับสารที่เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายค่ะ โดยบีทรูทหาได้ทั้งในห้างสรรพสินค้าและตลาดสดค่ะ เพราะว่าผู้เขียนมีโอกาสเห็นบีทรูที่ตลาดคลองถมค่ะ บีทรูทมีกลิ่นคล้ายรากไม้ค่ะ สามารถนำมาหั่นใส่สลัดผักได้และสามารถทำน้ำบีทรูทได้ค่ะ7. มะเขือเทศ พบโพลิเมอเรสที่เป็นเอนไซม์ตามธรรมชาติที่มีส่วนสำคัญต่อร่างกายของเราค่ะ การกินมะเขือเทศในส้มตำ ยำ สลัดผัก เป็นแนวทางง่ายๆ ที่สามารถที่ได้รับเอนไซม์โพลิเมอเรสค่ะ8. ขิง เป็นผักที่หลายคนมีโอกาสกินบ่อยได้ง่ายๆ เช่น นำขิงสดมากินกับไส้กรอกอีสาน หรือกินขิงที่มีมาในเมี่ยงปลาเผา เมี่ยงคำหรืออื่นๆ คล้ายแบบนี้ค่ะ โดยการกินขิงทำให้ได้รับเอนไซม์ตามธรรมชาติที่ชื่อว่า ซิงกิเบนค่ะและทั้งหมดคือตัวอย่างของผักที่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติ ที่หลายคนอาจยังไม่รู้มาก่อน ดังนั้นการหันมากินผักที่มีเอนไซม์ช่วยย่อยสามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้กระบวนการดูดซึมสารอาหารดีขึ้นแน่นอนค่ะ อย่างไรก็ตามการทำอาหารจากผักที่ผ่านความร้อนมีผลทำให้เกิดการสูญเสียเอนไซม์ในผักที่มีประโยชน์ไปนะคะ ดังนั้นการกินผักสดถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดและการกินผักให้หลากหลายมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ร่างกายได้รับเอนไซม์ที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ปกติผู้เขียนกินผักตลอดค่ะเพราะตั้งกฎให้ตัวเองว่า อย่างน้อยต้องกินผักวันละ 3 ชนิด เพราะเคยสังเกตดูตัวเองค่ะพอเราไม่มีเป้าหมายว่าจะกินผักๆ หายไปจากชีวิตเลย‼️ และจากที่ผักมีเอนไซม์ดีๆ หลายอย่างจึงทำให้ผู้เขียนยิ่งต้องกินผักเพิ่มขึ้นอีกค่ะ จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยหันมากินผักมากขึ้น เพื่อประโยชน์ดีๆ ที่จะได้รับจากเอนไซม์ตามธรรมชาติในผักชนิดต่างๆ ค่ะเครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Ella Olsson จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหาโดย ผู้เขียนออกแบบหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ5 วิธีทำให้อาหารย่อยเร็ว ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ตามปกติ วิธีเลือกกินอาหารให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขภาพดี คุณทำได้รีวิวน้ำสลัดงาคั่วญี่ปุ่น ยามาโมริ สูตรไม่มีผงชูรส ไอเทมอร่อยง่ายๆ ที่บ้าน เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !