( cr. ภาพหน้าปก ) คำนี้อาจจะไม่คุ้นหูในหมู่คนไทยสักเท่าไหร่ แต่ใครที่หลงรักการเดินเขา ปีเขา หรือไปบนะพื้นสูงมาก ๆ เกิน 4000 เมตรแล้วละก็ ต้องเคยได้รับคำเตือนถึงภัยอันตรายของโรคนี้ แม้จะเก่งกาจ ร่างกายแข็งแรงขนาดไหน โรคนี้ก็สามารถคร่าชีวิตคุณได้หากไม่มีความพร้อมเลย วันนี้จะมาบอกเล่าภัยเงียบของโรคที่น่ากลัวในหมู่นักท่องเที่ยวปีเขาสูง หรือโรคแพ้ที่สูงนั่นเองโรคแพ้ที่สูง ( Altitude Sickness หรือ Mountain sickness : AMS ) มักพบในคนที่มาจากพื้นที่ราบ เช่น คนไทยที่อยู่บนที่ราบภาคกลาง จะไปปีนเขาที่เนปาลที่ความสูง 3000 เมตร ก็สามารถมีอาการ AMS ได้เพราะร่างกายไม่มคุ้นชินกับสภาวะอากาศเบาบาง ทำให้ไม่มีการปรับตัว แม้แต่คนที่แข็งแรงมาก ๆ เป็นนักกีฬา ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็สามารถมีอาการนี้ได้ บางคนไม่ออกกำลังกายบ่อยนัก อาจจะไม่มีอาการก็ได้ อยู่ที่ร่างกายของแต่ละคนสามารถปรับตัวได้มากเท่าไหร่ ทำให้โรคนี้น่ากลัวมาก ๆ เมื่อเราขึ้นไปอยู่ที่จุดสูง ๆ มากและอาการ AMS เกิดกำเริบมาก ๆ ทำให้คนลงมาข้างล่างเพื่อรักษาไม่ได้ โอกาสเสียชีวิตสูงมากค่ะ ( cr. https://unsplash.com/photos/5xB7yc1Umog )อาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อไปอยู่ในที่สูงมาก ๆ ความกดอากาศต่ำ อากาศเบาบาง ส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อความสูงระดับ 2500 เมตร จากระดับน้ำทะเล โรคจะกำเริบเมื่อร่างกายปรับตัวไม่ทัน มักเกิดในคนที่ราบต่ำ คนที่เกิดในพื้นที่ราบสูงจะคุ้นชิน ไม่เกิดอะไรขึ้น ดังนั้นเมื่อเรารู้ตัวว่าจะมีแผนไปเที่ยวในพื้นที่สูง ต้องวางแผนเตรียมพร้อมร่างกายให้คุ้นชิน พื้นที่สูง เช่น เนปาล โบลิเวีย ทิเบต แหล่งท่องเที่ยวภูเขาสูง ที่นักดึงดูนักท่องเที่ยวไปค้นหาความงาม แต่ก็มีหลายชีวิตที่ได้ทิ้งไว้บนภูเขาเพราะร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้กับภูมิประเทศเหล่านั้น ( cr. https://unsplash.com/photos/dstd4DoLQ90 )อาการ AMS ที่กำเริบนั้นจะมีอาการของเหนื่อย หายใจลำบาก มีอาการปวดหัว ไม่อยากอาหาร รวมไปถึงชีพจรเต้นแรง อาเจียน เมื่อเรามีอาการดังกล่าวควรรู้ตัวว่าควรจะหยุดกิจกรรม และหลีกเลี่ยงการขึ้นไปสูงกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้อาการแย่หากดึงดันจะเดินขึ้นต่อไปอีก ควรจะหยุดให้ร่างกายเกิดการปรับตัวก่อน หากใครคนที่เกิดมีอาการรุนแรงอาจจะเกิดอาการน้ำท่วมปอด น้ำคั่งในปอด และสมองบวม หมดสตินำไปสู่การเสียชีวิต ยากต่อการรักษาในระยะที่สูงขนาดนั้น ( cr. https://unsplash.com/photos/5mezpWin6T8 )โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน เอาแน่เอานอนไม่ได้ วิถีรักษาก็แค่ต้องหยุดพัก ให้พาลงที่ราบ การรักษาแบบทันทีให้หายไปทันทีแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากเรารู้ตัวว่าจะไปในระยะความสูงเกิน 2500 เมตร ควรจะปรึกษาแพทย์เฉพาะเพื่อคำแนะนำ การปฎิบัติตัวเมื่อหากอาการกำเริบ และต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หายใจลึก ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารอ่อน และดื่มน้ำสม่ำเสมอ อาจจะมีการใช้ยา Diamox ช่วยหากต้องการจะขึ้นที่สูงแบบกระชั้นชิด แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์การเตรียมตัวที่ดี จะเป็นการลดความเสี่ยงของการนำไปสู่การเสียชีวิต เพราะมีนักปีนเขามากมายในอดีตที่เอาชีวิตไปทิ้งไว้บนเขา ไม่ได้กลับลงมาอีกเลย อย่าทำให้ทริปในฝัน กลายเป็นวันที่เราไม่สามารถเรียกกว่ามาได้อีก ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ ( cr. https://unsplash.com/photos/62CE-NE_bnc)