สำหรับคนที่รักสุขภาพนั้น พืชสมุนไพรถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสมุนไพรนั้นนอกจากจะช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ได้แล้วนั้น ยังช่วยเสริมสร้างร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพราะยังเป็นพืชธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างในร่างกาย สมุนไพรท้องถิ่นของไทยเรานั้นมีมากมายนับพันชนิด แต่เรารู้จักพืชสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ทั้งนี้ผู้เขียนจึงมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการนำข้อมูลต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมาเผยแพร่ข้อมูลเป็นความรู้ให้แก่ทุกท่าน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจและเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลของพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีความน่าสนใจและหาได้ยากแล้วในปัจจุบัน นั่นคือ “เถาวัลย์เปรียง” ที่มีสรรพคุณรักษาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดีภาพถ่ายโดยผู้เขียนลักษณะของ “เถาวัลย์เปรียง” จัดเป็นพรรณไม้ประเภทเถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ กิ่งของมันมีความเหนียวและทนทางมาก และสามารถแตกกิ่งเลื้อยยาวได้อย่างรวดเร็ว เถาแก่จะมีเนื้อไม้ที่แข็งเป็นอย่างมาก มักจะเลื้อยไปพาดต้นไม้อื่นที่อยู่รอบข้าง เปลือกของเถาและลำต้นจะเรียบเหนียว มีสีน้ำตาลอมเทาหรืออมดำ เถามักจะไม่ตรงแบะบิดไปมา เนื้อไม้นั้นจะมีสีแดง จะมีขนปกคลุมตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อน เป็นพืชที่ขอบอากาศเย็นแต่มีแดดจัด สามารถทนต่อความแร้งได้ดี ในส่วนของใบนั้นจะเป็นลักษณะของใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกันตรงก้านใบ ใจจะรีเรียวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ปลายใบแหลมและโคนใบมน หลังใบและท้องใบสีเขียวเข้มเรียบมัน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อนคล้ายกับดอกถั่ว มีสีม่วงแดงภาพถ่ายโดยผู้เขียนสรรพคุณ “เถาวัลย์เปรียง” แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด แก้กษัย เป็นยาอายุวัฒนะ รักษาอาการตกขาวของสตรี เป็นยาบำรุงกำลัง รักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหักภาพถ่ายโดยผู้เขียน“เถาวัลย์เปรียง” มักจะขึ้นอยู่ริมป่าที่อยู่ชายน้ำ ซึ่งเมื่อสมัยผู้เขียนเป็นเด็ก ก็เห็น “เถาวัลย์เปรียง” ต้นใหญ่ขึ้นอยู่ริมป่าชายคลองท้ายสวน ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ปู่ของผู้เขียนมักจะเล่าเรื่องราวประโยชน์ของสมุนไพรให้ฟังอยู่เสมอ และได้พาผู้เขียนไปตัดเถาของ “เถาวัลย์เปรียง” มาได้หนึ่งหอบ จากนั้นก็นำมาปอกเปลือกสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดไว้สามถึงสี่แดดจนแห้ง จากนั้นก็นำมาคั่ว แล้วนำมาต้มดื่มเป็นน้ำชา จะช่วยให้เส้นเอ็นหย่อย และคลายกล้ามเนื้อช่วยให้หายปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี ปู่ของผู้เขียนนั้นดื่มเป็นประจำทุกวันจนมีร่างกายที่แข็งแรง นอกจากนี้หากมีเพื่อนบ้านบาดเจ็บกระดูกหัก ปู่ก็จะใช้เถาสดมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวและเถาเอ็นอ่อน จนได้นำสมุนไพรเหนียวข้นมาทาบริเวณที่บาดเจ็บก็จะทำให้ช่วยสมานกล้ามเนื้อและกระดูกให้หายเร็วขึ้นที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงสรรพคุณบางส่วนที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์มา ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้นั้นยังสามารถนำไปรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกหลายอาการ อีกทั้งยังนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นประกอบเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายชนิด ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับพืชสมุนไพรมากขึ้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไป