Hello นักอ่านที่น่ารักทุกท่าน วันนี้ ปรินซ์ กลัมาพร้อมกับบทความใหม่ที่เกี่ยวกับสายแฟชั่น ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านเพื่อนๆคงเห็นกันว่าในประเทศไทยเกิดกระแสแฟชั่นแนวสตรีท (Street fashion) แต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่ใครหลายๆคนชอบ ซึ่งปรินซ์ก็จะมาบอกเล่าเกี่ยวกระแสที่ว่า นั้นก็คือ กระแสแฟชั่นแนวสเก็ต (Skate fashion) ที่มาของแฟชั่นแนวสเก็ตก็มาจาก วัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด (Skate Culture) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฉะนั้นวันนี้ปรินซ์จะมาเล่าเรื่องของ วัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดกับแบรนด์แฟชั่นในสหรัฐอเมริกาที่ถือกำเนิดมาจากวัฒนธรรมดังกล่าวกัน 1. จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด (Skate Culture) เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ หรือ ชาติพันธุ์ ความเชื่อ ทำให้สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดวัฒนธรรมระดับโลกหลายอย่าง ซึ่งวัฒนธรรมที่โดดเด่นอย่างหนึ่งสหรัฐอเมริกานั่นก็คือ วัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด (Skate Culture) ที่เริ่มต้นมาจากการรวมกลุ่มของเหล่าคนที่เล่นกีฬาสเก็ตบอร์ดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยกีฬาสเก็ตบอร์ดเริ่มต้นในช่วงปี 1950 แทนการโต้คลื่น (Surfing) เป็นที่นิยมของวัยรุ่นของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งคนทั่วไปเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า “Sidewalk surfing” แต่ด้วยความอันตรายในการเล่นทำให้สเก็ตบอร์ดถูกห้ามเล่นในหลายๆแห่ง จนกลายเป็นกีฬาใต้ดิน แต่แล้วกระแสสเก็ตบอร์ดก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อเริ่มมีการตีพิมพ์นิตยสารเกี่ยวกับสเก็ตบอร์ด ตลอดจนเริ่มมีการจัดการแข่งขันสเก็ตบอร์ดระดับประเทศ ทำให้สเก็ตบอร์ดถูกรวมเป็นวัฒนธรรม ทำให้วัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดจึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการเล่นสเก็ตบอร์ดอีกต่อไป แต่รวมถึงรสนิยมการฟังเพลง สไตล์การแต่งกาย และจากการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดและความแพร่หลายของวัฒนธรรมนี้ จึงเกิดแบรนด์เสื้อผ้าใหม่ๆขึ้น เช่น VANS , Supreme , DC Shoes , Fallen ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด หรือ Thrasher Magazine ที่เริ่มจากการตีพิมพ์นิตยสารสเก็ตบอร์ดก็ได้หันมาออกแบบเสื้อยืดที่มีแรงบันดาลใจมาจากความเท่ของสเก็ตบอร์ด และในปัจจุบันแบรนด์เหล่านี้ได้ขึ้นแท่นเทียบเท่ากับแบรนด์แฟชั่น Hi-End อย่าง Louis Vuitton หรือ Chanel 2. แบรนด์แฟชั่นในสหรัฐอเมริกาที่มีต้นกำเนิดมาจากวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด ในสหรัฐอเมริกามีแบรนด์แฟชั่นหลากหลายแบรนด์ และแน่นอนว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักแบรนด์ SUPREME , Thrasher Magazine และ VANS แต่คงมีเพียงไม่กี่คนที่จะรู้ว่าแบรนด์แฟชั่นดังกล่าวที่มีจุดเริ่มมาจากกระแสของวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดที่กำลังมาแรงในสมัยนั้น SUPREME สำหรับแบรนด์แรก คือ SUPREME ที่ก่อตั้งโดยชายหนุ่มชาวอังกฤษชื่อ James Jebbia ที่มาเข้าทำงานใน New York ตั้งแต่ปี 1983 เขามีความชื่นชอบและการได้คลุกคลีกับ street fashion และพวก skater มานาน เขาก็ได้มีไอเดียที่จะสร้างร้านเสื้อผ้าสำหรับ skater ขึ้นมา James ได้คำนึงถึงลูกค้า skater เป็นหลัก จึงออกแบบให้ร้านมีพื้นที่โล่งตรงกลาง และจัดสินค้าชิดผนังไว้ เพื่อให้ทุกคนสามารถไถสเก็ตบอร์ดเข้ามาในร้านได้ อีกทั้งพนักงานในร้านคนแรกอย่าง Gio Estevez ก็เป็น skater แถม Supreme ยังมีการจัดทีมสเก็ตของตัวเองขึ้นมาและโปรโมทเสื้อผ้าไปในตัว บรรยากาศของร้านจึงเป็นมิตรสำหรับ skater ทุกคน และทำให้ร้านแห่งนี้กลายเป็นคลับย่อมๆ ของวัยรุ่นกลุ่มนี้ไปโดยปริยาย และต่อให้ไม่ใช่คนที่เล่นสเก็ต ก็ยังชื่นชอบในเอกลักษณ์ของร้าน Thrasher Magazine แบรนด์ที่สอง คือ Thrasher Magazine เป็นชื่อแบรนด์หนังสือและเสื้อยืดที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ คือ ลายสกรีนคำว่า Thrasher ที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษมีไฟลุกท่วม โดย Thrasher Magazine ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1981 โดย Eric Swenson และ Fausto Vitello มีจุดประสงค์เพื่อโปรโมทสเก็ตบอร์ดและอุปกรณ์เสริมภายใต้แบรนด์ของพวกเขาเพียงเท่านั้น แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปจึงได้กลายมาเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับแวดวงสเก็ตบอร์ดในแทบทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่กำหนดทิศทางของเทรนด์การแต่งกาย ทำให้หนังสือ Thrasher Magazine เป็นเสมือนไบเบิลของเหล่า Skater VANS แบรนด์สุดท้าย คือ VANS ที่ก่อตั้งและวางจำหน่ายในครั้งแรกเมื่อปี 1966 ที่เริ่มต้นโดย Paul Van Doren เขาได้ใช้ประสบการณ์ตลอด 20 ปีในโรงงานรองเท้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนแบรนด์รองเท้าของตัวเอง โดยมีพี่ชายของเขา Jim Van Doren ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญในด้านการใช้งานด้านเครื่องจักรการผลิต และยังได้ผู้คิดค้นและมีความชำนาญในการออกแบบจนทำให้รองเท้าแวนเป็นรองเท้าที่มีความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน สองคนนั้นคือ Serge D’Ella และ Gordy Lee ในช่วงที่การเล่นสเก็ตบอร์ดกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในทุกแห่งของสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังทำให้เกิดรูปแบบสไตล์การแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ แต่กลับไม่มีรองเท้าที่ทนทานพอจะใส่เล่นสเก็ตบอร์ดได้ Paul ก็ได้เห็นแนวช่องทางที่เขาจะสร้างรายได้ขึ้น จึงตัดสินใจที่จะผลิตรองเท้าสเก็ตบอร์ด เพราะในขณะนั้นมีบริษัทรองเท้าขนาดใหญ่คือ CONVERSE RUBBER และ US KEDS ซึ่ง CONVERSE RUBBER ได้เน้นไปที่ด้านรองเท้าbasket ball ส่วน US KEDS ก็หันไปจับตลาดรองเท้าที่เน้นใส่สบาย ดังนั้นการผลิตรองเท้าสเก็ตจึงไม่มีคู่แข่ง การเกิดขึ้นของแบรนด์แฟชั่นอย่าง SUPREME VANS และ Thrasher Magazine ยังทำให้กระแสวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดไปไกลมากกว่าที่จะเป็นแค่วัฒนธรรมในสหรัฐอเมริกา เพราะในประเทศไทยก็ได้มีบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายสเก็ตบอร์ดชื่อดังอย่าง Preduce หรือในอังกฤษก็มีแบรนด์แฟชั่นสเก็ตที่โด่งดังอย่าง Palace ที่ก้าวขยับจากแบรนด์ที่สวมใส่กันเองเฉพาะกลุ่ม ขึ้นไปสู่หนึ่งในแบรนด์สตรีทระดับโลกได้ หลังจากที่ Supreme ได้ตัดสินใจเข้ามาบุกตลาดฝั่งยุโรป ด้วยการเปิด Shop ที่ลอนดอนเป็นที่แรก นั่นหมายความว่าวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดจะถูกจับตามองและเป็นที่พูดถึงมากขึ้น หวังว่านักอ่านที่น่ารักทุกท่านจะชื่นชอบกับบทความชิ้นนี้ของปรินซ์นะคะ ไว้เจอกันใหม่ในบทความหน้านะคะ เครดิตรูปหน้าปก โดย The Prince (ผู้เขียน) ผ่านเว็บไซต์ canva เครดิต รูปที่ 1 เครดิต รูปที่ 2 เครดิต รูปที่ 3 เครดิต รูปที่ 4 เครดิต รูปที่ 5 เครดิต รูปที่ 6 เครดิต รูปที่ 7