8️⃣ ข้อเสียจากผักไฮโดรโปนิกส์ต่อสุขภาพ จากการปลูกที่ไม่ได้มาตรฐาน 🥬ผักโฮโดรโปนิกส์เมื่อ 🔟 ปีก่อน ยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากเหมือนในปัจจุบันค่ะ เพราะสมัยนี้ไม่ว่าจะไปเดินตลาดในชนบทเล็กๆ ก็ยังสามารถหาซื้อผักโฮโดรโปนิกส์ได้ค่ะ และนั่นคือภาพที่ผู้เขียนได้เห็นมากับตาตัวเอง ผักโฮโดรโปนิกส์จะว่าปลอดภัยก็ปลอดภัยค่ะและจะว่าไม่ปลอดภัยก็สามารถเป็นไปได้เหมือนกันหากไม่ได้มาตรฐานในการปลูกค่ะ ผักโฮโดรโปนิกส์หากนำมาวิเคราะห์หาอันตรายต่อสุขภาพตามข้อมูลด้านสุขาภิบาลอาหารนั้น มักพบว่ามีข้อเสียอยู่หลายข้อเหมือนกันค่ะ โดยในบทความนี้ผู้เขียนต้องการส่งต่อข้อมูลที่สามารถทำให้คุณผู้อ่านมองเห็นภาพใหญ่ของผลเสียต่อสุขภาพ จากการซื้อผักโฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานมากินค่ะ ซึ่งต้องบอกก่อนนะคะว่าไม่ใช่ทุกเจ้า แต่เราจะเน้นไปในกรณีที่การปลูกที่ไม่ได้มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและการเกษตรค่ะ โดยต่อไปนี้คือ 8️⃣ อันตรายจากผักโฮโดรโปนิกส์ต่อสุขภาพที่สามารถพบได้จากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานค่ะ1️⃣ มีสารเคมีตกค้าง แน่นอนค่ะว่าหากผักโฮโดรโปนิกส์มีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยที่ไม่เหมาะสม ผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมักมีสารเคมีตกค้างในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อกินเข้าไปค่ะการปลูกผักผักโฮโดรโปนิกส์เพียงเล็กน้อยอาจพบศัตรูพืชได้ยาก แต่เวลาที่ปลูกจำนวนมากมักมีปัญหาในเรื่องของแมลงและโรคพืชค่ะ พอเป็นแบบนี้ก็เป็นไปได้ว่าผักโฮโดรโปนิกส์จากแหล่งนั้นอาจปนเปื้อนด้วยยาฆ่าแมลง จึงควรเลือกผักโฮโดรโปนิกส์ที่เพาะปลูกในโรงเรือนแบบปิด เพราะเราสามารถคาดเดาได้ว่าตัวโรงเรือนช่วยควบคุมศัตรูพืชและมีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชน้อยลงค่ะ 2️⃣ การปนเปื้อนของโลหะหนัก ผักโฮโดรโปนิกส์สามารถพบโลหะหนักได้ค่ะ โดยโลหะหนักอาจมีได้ทั้งในส่วนของสารอาหารหรือจากแหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการปลูก การมีโลหะหนักในผักโฮโดรโปนิกส์เป็นอันตรายต่อสุขภาพค่ะ เพราะโลหะหนักบางตัวสะสมในร่างกายและส่งผลต่อสุขภาพได้ มิหนำซ้ำโละหนักบางชนิดยังสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้อีกด้วยค่ะ จึงน่ากลัวมากๆ หากซื้อผักโฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานมากินค่ะ ที่ผักโฮโดรโปนิกส์สามารถมีโลหะหนักได้ เพราะพืชสามารถดูดซับและสะสมไว้เอาไว้ได้ผ่านทางราก จึงทำให้ผักโฮโดรโปนิกส์จากแหล่งหนึ่งมีการการปนเปื้อนของโลหะหนักในผัก ดังนั้นจะดีกว่ามากหากตรวจสอบผักโฮโดรโปนิกส์ก่อนซื้อค่ะ โดยต้องมาจากแหล่งหรือฟาร์มที่น่าเชื่อถือได้ค่ะ และอีกวิธีการง่ายๆ คือให้ดูในเรื่องมาตรฐานที่ผักโฮโดรโปนิกส์ได้รับการรับรองค่ะ 3️⃣ มีจุลินทรีย์ก่อโรค ถึงแม้ว่าผักโฮโดรโปนิกส์จะไม่ได้ปลูกในดินก็ตามค่ะ แต่ผักโฮโดรโปนิกส์ยังสามารถปนเปื้อนกับจุลินทรีย์ที่มากับน้ำและอากาศได้ด้วย อีกทั้งการปนเปื้อนข้ามในระหว่างการแพ็ค การขนส่งและการจัดเก็บรักษาของคนขายผักโฮโดรโปนิกส์ เพราะในบางครั้งผักโฮโดรโปนิกส์บางเจ้าไม่ได้แพ็คในถุง ใช่อยู่ว่าผักโฮโดรโปนิกส์ตอนออกมาจากฟาร์มอาจไม่ได้ปนเปื้อน แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่าการปนเปื้อนข้ามสามารถเกิดจากแม่ค้าขายผักโฮโดรโปนิกส์ใช้มือจับผักโดยตรงที่ไม่ได้อยู่ในถุงและทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ค่ะ อีกทั้งถ้าแหล่งผลิตผักโฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานไม่เข้าใจว่าในน้ำสามารถพบการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพค่ะ และแบคทีเรียที่เรากังวลมากที่สุดคือ อีโคไลค่ะ 4️⃣ สารอาหารไม่สมดุล สูตรสารอาหารที่ไม่ถูกต้องหรือสารละลายธาตุอาหารที่ไม่สมดุลในระหว่างปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สามารถนำไปซึ่งการขาดสารอาหารในผักโฮโดรโปนิกส์ได้นะคะ แล้วสถานการณ์นี้มักส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการและผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมาทีหลัง ปกตินั้นธาตุอาหารพืชที่กินใบเป็นหลักเราเน้นหนักที่การเตรียมสารละลายน้ำที่มีไนโตรเจนเป็นหลักค่ะ โดยไนโตรเจนนี้มักอยู่ในรูปของไนเตรตเพราะรูปนี้พืชสามารถดูดซับและนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ ในบางครั้งถ้าเราเห็นผักโฮโดรโปนิกส์ที่ไม่งาม ก็สามารถเดาได้ว่าผักโฮโดรโปนิกส์ชุดนั้นอาจมีสารอาหารที่ไม่สมดุลได้ค่ะ และในทางตรงกันข้ามหากผักโฮโดรโปนิกส์งามเกินไป ในด้านสุขาภิบาลอาหารเรามักมองว่ามีอันตรายต่อสุขภาพด้วย เพราะทำให้ได้รับไนเตรตมากเกินไปจนสามารถเป็นปัจจัยชักนำทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาค่ะ5️⃣ รสชาติและเนื้อสัมผัสไม่ดี ในบางครั้งสภาพในการปลูกที่ไม่เหมาะสมสามารถส่งผลต่อรสชาติของผักโฮโดรโปนิกส์ค่ะ เพราะการปลูกผักโฮโดรโปนิกส์ต้องมีการควบคุมปัจจัยในการปลูกหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการวัดค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ของน้ำ ค่าความนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity; EC) หากปลูกไม่ได้มาตรฐานจึงเป็นจุดอ่อนและทำให้ผักโฮโดรโปนิกส์มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ไม่ดีได้ค่ะ ซึ่งข้อนี้ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์มาค่ะโดยผักโฮโดรโปนิกส์มักมีรสขม 6️⃣ สูญเสียการได้รับสารประกอบบางอย่างจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช โดยเฉพาะสารประกอบที่เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่พบในพืชค่ะ เพราะว่าผักไฮโดรโปนิกส์ถูกควบคุมปัจจัยในการปลูก และแสงแดดคือหนึ่งในหลายๆ ปัจจัย จึงสามารถส่งผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชตามมาค่ะ7️⃣ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ปลอดภัยมีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ค่ะ เพราะเมื่อระบบไฮโดรโปนิกส์ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ความเสี่ยงสามารถเกิดจากที่มีสารพิษ สิ่งปนเปื้อนและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเมื่อสิ่งเหล่านี้คุกคามสุขภาพแน่นอนว่ามีผลต่อระบบภูมิกันโรคที่ต้องทำงานหนักขึ้นค่ะ 8️⃣ ผลกระทบในระยะยาวที่ไม่ทราบสาเหตุ การกินผักไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ค่ะ ที่ในบางครั้งมีความซับซ้อนเพราะเกิดจากการที่เรากินผักไฮโดรโปนิกส์เพียงอย่างเดียวอย่างต่อเนื่องและในปริมาณมากๆ ค่ะ ซึ่งสถานการณ์นี้สามารถพูดได้ว่าเราจะได้รับสารพิษตกค้างชนิดเดิมจำนวนมากๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาค่ะและทั้ง 8️⃣ ข้อที่ผู้เขียนได้พูดไว้นั้นคือความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สามารถพบได้จากการกินผักไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานค่ะ ต้องบอกว่าประเด็นนี้นักศึกษาปริญญาโทสามารถนำมาทำเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้เลย โดยการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการปลูกผักผักไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานค่ะ เพราะจากที่เพื่อนร่วมรุ่นของผู้เขียนได้ข้อมูลมานั้น พบว่าผักไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐานสามารถคุกคามสุขภาพได้ อย่างแรกเกิดจากน้ำที่นำมาใช้ในระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และการปนเปื้อนข้ามตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงมือผู้ซื้อผักไฮโดรโปนิกส์ค่ะ 🥬อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองว่าผักไฮโดรโปนิกส์ยังปลอดภัยและสามารถกินได้หากได้รับการรับรองจากมาตรฐานต่างๆ และเป็นแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเราควรกินผักให้มีความหลากหลายจากแหล่งที่ปลูกที่น่าเชื่อถือได้ค่ะ และไม่ควรกินผักไฮโดรโปนิกส์ชนิดเดิมต่อเนื่องในจำนวนมากๆ เพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ค่ะ จึงขอจบเนื้อหาเกี่ยวกับผลเสียของผักไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพไว้เพียงเท่านี้ค่ะ หากชอบบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้เพื่อไม่ให้พลาดเนื้อหาใหม่ๆ ที่จะมาอัปเดตเรื่อยๆ ค่ะ🥬เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Jatuphon Buraphon จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1 โดย Anna Tarazevich จาก Pexels, ภาพที่ 2 โดย ผู้เขียน, ภาพที่ 3 และ ภาพที่ 4 โดย Pragyan Bezbaruah จาก Pexels ออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจวิธีเลือกกินอาหารให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขภาพดี คุณทำได้6️⃣ วิธีลดสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ8️⃣ สารพิษในใบชะพลู ที่ส่งผลต่อสุขภาพได้ จากการกินเยอะ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !