ทานอะไรยังไง ให้หุ่นไม่พัง !? กินดีอยู่ดี ความสุขพื้นฐานที่หลาย ๆ คน โหยหา บางครั้งก็มีความต้องการไปจนถึง “กินหรู ๆ อยู่อย่างกับไฮโซ” แต่อะไรจะสำคัญไปกว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะนั่นหมายถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรังหรือเป็นโรคร้ายแรง!! ซึ่งปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของวัยรุ่นจนถึงคนวัยทำงาน คือ การมีน้ำหนักเกิน หรือการเป็น "โรคอ้วน" ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่จะตามมาถึงแม้อายุจะยังน้อยก็ตาม สาเหตุแรก ๆ เกิดจาก อาหารการกินค่ะ การรับประทานอาหารแบบตามใจปาก หรือภาวะเครียด สอบตก อกหักรักพังก็ยิ่งทานมากขึ้น ๆ กลับมามีสติรู้สึกตัวอีกที อ้าว ตัวบวมหุ่นพังเสียแล้ว แถมเหนื่อยง่าย เดินชอปปิงแป็บ ๆ หน้ามืดหมดแรงทั้งที่ยังไม่ได้ Pay เลยอ่ะ ชีวิตหมดสนุกไปเลยก็เป็นได้ ภาพจาก Freepik วันนี้เราจะมาปรับการกินกันใหม่ค่ะ เพื่อให้การกินก็ยังดี ที่สำคัญหุ่นก็ดีไปด้วยก่อนอื่นเรามาสำรวจกันค่ะ ว่าเราทานอาหาร 3 กลุ่มนี้ซ้ำกี่ชนิด กี่ครั้ง ?อาหารจำพวกแป้ง ไขมัน น้ำตาล/เกลือ ต้องขอบอกเลยว่า อาหารกลุ่มนี้มีผลต่อน้ำหนักตัวอย่างที่สุด ยิ่งกินซ้ำยิ่งอ้วนวันอ้วนคืน ไม่แปลกเลยถ้าจะเห็นคนรุ่นใหม่ จะดูอ้วนท้วนเกินไปทั้งที่อายุยังไม่ถึง 30 !!! ภาพจาก Freepik และการที่จะหุ่นดีร่างไม่พังได้ ง่าย ๆ ดังคาดค่ะ เราต้อง "ลดการทานซ้ำ" อาหารจำพวกข้างต้นนี้ค่ะ แป้ง ไขมัน น้ำตาล/เกลือ 1. อาหารในกลุ่มแป้ง ข้าวอาหารหลักของคนไทย บางคนกินข้าวครบ 3 มื้อต่อวัน ระหว่างวันยังมีแซนวิช ขนมปังกรอบ พิซซ่า เบอร์เกอร์ มันฝรั่ง โดนัท แถมยังตุนติดรถไว้กินเวลาหิว วางไว้บนโต๊ะทำงานไม่เคยขาด ลองเปลี่ยนอาหารกินรองท้องกลุ่มนี้เป็นผลไม้สด (ไม่หวาน) หรือนมไขมันต่ำ 1 กล่องกับบิสกิต 2-3 ชิ้น น้ำหนักตัวที่เคยพรุ่งปรี๊ดจะชะลอลง 2. อาหารกลุ่มไขมัน เมนูหาซื้อง่ายกินซ้ำ ๆ ข้าวขาหมูติดมัน ข้าวมันไก่ติดหนัง อาหารสั่งที่มักมีหมูกรอบกับสารพัดอาหารทอดน้ำมันที่มักมีส่วนผสมของแป้ง น้ำมัน น้ำตาลและเกลือครบถ้วน อาหารทอดน้ำมันหาซื้อได้ง่ายอีกเช่นกัน กินมากเกินไปก็อ้วนเห็นผลทันตา บ้างก็สิวเห่อเต็มใบหน้า ลามไปถึงคางและคอ3. น้ำตาล เราบริโภคน้ำตาลตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอนกันอยู่ใช่ไหม ? เครื่องดื่มยามเช้า 1 แก้ว กาแฟ ชา โกโก้ หรือกาแฟสดแก้วใหญ่มหึมาหวานมันสุดๆ กินหนึ่งแก้วอิ่มไปครึ่งวัน ขนมปังที่เต็มไปด้วยนมเนย น้ำตาล เมนูอาหารมื้อเที่ยง มีน้ำตาลแน่นอน เครื่องดื่มหวาน ๆ ดับกระหายระหว่างวัน ลูกอม ขนมขบเคี้ยวหรือหมากฝรั่งที่มักมีน้ำตาล4. เกลือโซเดียม ไม่ทำให้อ้วนแต่ทำให้บวมน้ำ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนกินอาหารเค็มมากเกินไปยิ่งตัวบวมบิ๊กบึ้ม เกลือมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปูเค็ม ปลาร้า ปลาส้ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุงรส ผงปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซอส ซี้อิ๊ว อาหารสำเร็จรูป โจ๊ก บะหมี่ ซุป อาหารกระป๋อง ไส้กรอก ลูกชิ้นหรือแม้แต่ในขนมปังกรอบก็มีเกลือโซเดียมนะจ๊ะ … เหมือนเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ภาพจาก Pixabay ขอแนะนำว่า ปริมาณโซเดียมต่ออาหารหนึ่งชาม ไม่ควรจะเกิน 200 กรัม และปริมาณโซเดียมต่อวัน ควรน้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัมค่ะขอเสริมอีกนิดค่ะว่า เรามีอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดในเรื่องของสารอาหารในกลุ่มแป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือ ในร่างกาย ได้ง่าย ๆ นั่นก็คือการเน้นรับประทานผักผลไม้ หรือรับประทานอาหารรสจืดปรุงสุก ด้วยการอบ นึ่ง ย่างแทนอาหารทอด หากรับประทานผักผลไม้ได้ต่อเนื่องหรือสลับกับการกินตามใจปากบ้าง รับรองน้ำหนักลดหุ่นดีขึ้นในหนึ่งเดือน … ต้องลองดูเลยค่ะ !! เป็นยังไงบ้างค่ะกับวิธีทานอาหารเพื่อสุขภาพที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หากนำไปปฏิบัติกันบ้างแล้ว อย่าลืมแชร์ผลลัพธ์ที่ให้เราฟังด้วยนะคะ :) ภาพปกจาก Freepik