การทานผัก เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ บางท่านทุกครั้งที่ทานอาหารจำเป็นต้องมีผักเป็นเครื่องเคียง แต่การทานผักให้ปลอดภัยนอกจากการล้างทำความสะอาดแล้ว การนำไปปรุงสุกก่อนรับประทานก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการปรุงสุกโดยการผ่านความร้อนช่วยให้สารพิษที่ยังตกค้างในผักหมดไป วันนี้จึงอยากมาแนะนำผักที่หากซื้อจากตลาดเพื่อนำมาประกอบอาหารอาจมีสารพิษตกค้างจำนวนมาก หรือหากทานแบบดิบ ๆ แทนที่ผักจะช่วยสร้างประโยชน์กับร่างกาย อาจกลายเป็นให้โทษในระยะยาวแทนค่ะ วันนี้จึงอยากมาแนะนำผักยอดนิยมที่ห้ามทานดิบ 5 ชนิดดังนี้1. แครอท เราคนนึงที่เคยได้ยินว่ากินแครอทปริมาณมาก ๆ แล้ว "ตัวจะเหลือง" เนื่องจากแครอทมีสารเบต้าแคโรทีน (Carotenoids) ซึ่งการทานแครอทดิบ ๆ จะทำให้การดูดซึมสารเบต้าแคโรทีน ที่เป็นตัวช่วยต้านอนุมูลอิสระน้อยลง ดังนั้นก่อนรับประทานจึงควรนำมาปรุงให้สุกก่อน เพราะเราจะได้ประโยชน์มากกว่า และแครอทเป็นผักที่มีประโยชน์สูงแต่หากเรากินในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ผิวมีสีเหลืองขึ้น ฟันเสื่อมได้2. กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีดิบเชื่อว่าทุกคนอาจได้ทานแบบดิบในเมนูลาบ ส้มตำ หรือร้านอาหารส่วนใหญ่มักแถมกะหล่ำปลีฝอยดิบมาตกแต่งให้อาหารดูน่าทาน ซึ่งการทานกะหล่ำปลีแบบดิบ ๆ ผู้ทานจะได้รับสารออกซาเลต (Oxalate) โดยจะมีผลสะสมไปที่กรวยไตมาก ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เสี่ยงโรคนิ่วในไตได้3. ถั่วงอก ถั่วงอกเป็นผักที่ผู้เขียนชื่นชอบมากที่สุดจนสามารถเพาะปลูกรับประทานเองได้ และด้วยประสบการณ์การเพาะทำให้รู้ว่าการปลูกถั่วงอกทานเองต้องปลูกในที่มืดและใช้ความชื้นสูงและอาจเกิดเชื้อแบคทีเรียระหว่างการเพาะ ยิ่งซื้อถั่วงอกในท้องตลาดมารับประทานอาจพบสารฟอกสีที่มีฤทธิ์ฟอกขาว เพราะบางร้านค้าใช้สารฟอกขาวมาแช่ถั่วงอก เพื่อให้ถั่วงอกมีสีขาว อวบ น่ารับประทานและเก็บไว้จำหน่ายได้นาน ซึ่งการที่ร่างกายสะสมสารฟอกขาวจะทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง ปวดศีรษะ อาเจียน อุจจาระร่วง และหากบางคนเกิดแพ้สารนี้อย่างรุนแรงจะทำให้ถ่ายเป็นเลือด ชัก ช็อก หมดสติ หายใจไม่ออก 4. ถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาวเป็นผักที่เห็นเกือบทุกเมนู บางร้านทำกระเพราใส่ถั่วฝักยาว ยิ่งไปกว่านั้นผู้เขียนเคยซื้อยำวุ้นเส้นแถมถั่วฝักยาวดิบ ซึ่งถั่วฝักยาวจะมีปริมาณไกลโคโปรตีน พร้อมทั้งเลคตินสูง สารชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดอาการท้องเสียได้ในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ดังนั้นผักชนิดนี้จึงควรนำไปปรุงสุกก่อนรับประทานมาก ๆ 5. ผักโขม หลายท่านสงสัยว่าเราไปทานผักโขมดิบตอนไหน! เพราะเมนูส่วนใหญ่ที่ใช้ผักโขมเป็นส่วนประกอบ เช่น ผักโขมอบชีส เปาะเปี๊ยะทอดผักโขมอบชีส เกี๊ยวทอดไส้ผักโขม ฯลฯ แต่มีอีกเมนูที่อาจเผลอทานผักโขมไปแบบดิบๆ ก็คือ สลัดผัดโขมค่ะ น้องชอบแทรกมาในผักสลัดโดยที่เรายังไม่ทันรู้จักกัน 555 ซึ่งผักโขมดิบ ๆ มีกรดออกซาลิก (Oxalic) ที่เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมไปใช้ แต่กรดออกซาลิกตัวนี้จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อเจอความร้อน ซึ่งก็หมายความว่าเราควรปรุงผักโขมให้สุกก่อนนำมารับประทานนั่นเองค่ะ คำแนะนำเพิ่มเติมคือ หากต้องการปรุงผักให้สุก ควรเลือกปรุงด้วยการนึ่ง ย่าง หรือผัดแทนการต้ม เพื่อลดปริมาณสารอาหารที่อาจเสียไปจากการละลายน้ำค่ะ หรือให้ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควรปลูกทานเองเพราะการทานผักปลอดสารพิษย่อมลดผลเสียที่เกิดขึ้นในระยะยาว การที่ร่างกายสะสมสารเคมีไปเรื่อย ๆ ย่อมก่อให้เกิดโรคภัยที่อาจจะสายเกินแก้ เชื่อว่าบทความนี้จะมีเป็นประโยชน์กับผู้ที่ชื่นชอบการทานผัก ได้รู้ว่าผักบางชนิดควรนำไปผ่านกระบวนการปรุงสุกก่อนรับประทานเพราะจะทำให้รับประโยชน์มากกว่าโทษ รวมถึงสร้างความเข้าใจใหม่ให้กับผู้ที่เชื่อว่าการทานผักดิบทุกชนิดจะได้รับวิตามินค่ะ สุดท้ายผู้เขียนขอแชร์ภาพผักคะน้าที่ปลูกทานเองที่บ้าน..ปิดท้ายบทความนี้ค่ะ เครดิตภาพเครดิตภาพปก: Canva.com, ภาพ ICON แครอท โดย iconsy, ภาพ ICON ผัก โดย Pixabay, ภาพ ผักบีทสด โดย iconsy, ภาพ ป้าย โดย mu2021, ภาพพื้นหลังปก โดย tourismaustraliaเครดิตภาพที่ 1: โดย jackmac34, เครดิตภาพที่ 2: โดย ulleo, เครดิตภาพที่ 3: โดย hansbenn, เครดิตภาพที่ 4: โดย K_Kristie, เครดิตภาพที่ 5: โดย Showmeyourflowers และภาพที่ 6: โดยผู้เขียน#ผักห้ามกินดิบ #ผักดีต่อสุขภาพ #บทความสุขภาพ #ผักปลอดสารพิษ #ทานผักดิบ #ข้อเสียการทานผักดิบออกกำลังกายอยู่บ้านได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !