8 วิธีลดอาการปวดขา จากการเดินเป็นเวลานาน | บทความโดย Pchalisaปวดขาจากการเดินนาน เป็นอาการที่ผู้เขียนเองก็เจอได้บ้างค่ะ โดยเฉพาะตอนไปเที่ยวต่างจังหวัด ที่ต้องมีการเดินค่อนข้างนาน เพราะกว่าจะเดินชมโน่นชมนี่เสร็จหมด ก็ทำเอาแทบหมดแรงและไม่อยากไปต่อเลยค่ะ การเดินนานอีกอย่างที่เจอก็คือการเดินในพื้นที่การเกษตร เนื่องจากมีต้องไปทำงานกลางแจ้งบ้าง เลยมองภาพออกและชัดเจนเวลาพูดถึงการปวดขาจากการเดินนานค่ะและหลังจากที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มาบ้าง ก็ตาสว่างและเจอทางออกดีๆ หลังจากได้หาทางดูแลตัวเองถ้าต้องมีการเดินนานแล้วมีปวดขา ดังนั้นเป็นความโชคดีที่ผู้เขียนตั้งใจมาส่งต่อข้อมูลดีๆ จากการใช้พื้นที่ในบทความนี้พูดถึง วิธีลดอาการปวดขาจากการเดินนาน ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านหลายๆ คน ส่วนจะมีวิธีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น อ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะ ดังนี้1. ใช้การพักขา แน่นอนค่ะว่าพอปวดขาจากที่เดินนานเกินไป อย่างแรกที่ต้องทำก็คือการพักขาค่ะ คือเมื่อรู้สึกปวดขาก็ให้หาที่นั่งพัก และถ้าสามารถยกขาขึ้นสูงเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นได้ก็ควรทำค่ะ เช่น การวางขาพาดเก้าอี้ การวางขาพิงผนังห้อง เป็นต้น2. นวดลดปวด เมื่อปวดขาจากการเดินนาน ให้ลองนวดที่ขาเบาๆ ค่ะ โดยเฉพาะบริเวณที่ปวด โดยจากที่ผู้เขียนได้สังเกตมานั้น เดินนานแล้วมักปวดขาช่วงน่องกับข้อเท้าค่ะ และบางช่วงก็มักนวดขาในจุดที่ปวดด้วยตัวเอง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดค่ะ3. ใช้การประคบเย็น การลองใช้ผ้าเย็นหรือน้ำแข็งห่อด้วยผ้า มาประคบในบริเวณที่ปวด การทำแบบนี้ก็เพื่อลดอาการปวดได้ค่ะ สำหรับวิธีนี้ผู้เขียนไม่ค่อยได้ใช้บ่อย เพราะในบางครั้งพอปวดขา มักลองใช้วิธีการอื่นดูก็สามารถลดปวดและหายปวดได้ค่ะ4. สวมรองเท้าที่เหมาะสม หายครั้งผู้เขียนก็สังเกตนะคะว่าทำไมตัวเองปวดขา ทั้งๆ ที่บางทีก็ไม่ได้เดินตลอด จนมาจับจุดสังเกตได้ว่า การเลือกสวมรองเท้าที่นุ่มสบายและมีการรองรับอุ้งเท้าที่ดี สามารถลดแรงกระแทกขณะเดินได้ ในตอนหลังมาเลยมีรองเท้าหลายแบบที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่ต้องมีการเดินค่ะ เช่น รองเท้าผ้าใบสำหรับออกกำลังกาย รองเท้าแตะสำหรับการเดินในกิจกรรมง่ายๆ สบายๆ รอบบ้าน และรองเท้าพลาสติกที่หุ้มเท้าและข้อเท้าแบบยาว สำหรับใช้ในการเดินทำงานในสวนค่ะ5. ยืดกล้ามเนื้อ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า!? การยืดกล้ามเนื้อน่องและต้นขาเป็นประจำ มีส่วนช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และป้องกันอาการปวดขาหลังจากที่มีการเดินเป็นเวลานานได้ โดยผู้เขียนมักใช้การหมุนข้อเท้า สลับกับการเหยียดขาตรงและยกขึ้นลงค่ะ 6. ควบคุมน้ำหนัก โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนมักปวดขาก็ต่อเมื่อเดินนานจริงๆ เท่านั้น แต่ในบางคนที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาจพบว่ามีอาการปวดขาเร็วกว่าผู้เขียนได้นะคะ เพราะการมีน้ำหนักมากไปเพิ่มแรงกดบนข้อต่อและกล้ามเนื้อ จึงทำให้ปวดขาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการหันมาจัดการเรื่องน้ำหนักตัว ถือเป็นแนวทางดูแลตัวเองอีกวิธีการหนึ่งค่ะ7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นประจำถือว่าสำคัญค่ะ เพราะต่อให้เราจะปวดขาหลังจากเดินหรือไม่ก็ตาม เพราะการออกกำลังกายมีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้แข็งแรงขึ้นและลดอาการปวดขาได้ค่ะ ซึ่งปกติผู้เขียนออกกำลังกายประจำค่ะ โดยมักใช้การออกกำลังกายแบบหลากหลาย ที่บางวันสะดวกไปปั่นจักรยานก็จะไปค่ะ การเดิน การวิ่งก็ทำบ้างแต่ส่วนมากช่วงนี้ทำโยคะและยกน้ำหนักด้วยดัมเบลที่บ้านค่ะ8. เลือกพื้นที่เดินที่ราบเรียบ การเดินในพื้นที่ที่ไม่เรียบเสมอกัน อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่ายนะคะ เพราะเราต้องจิกนิ้วเท้า ยิ่งถ้าพื้นที่นั้นลื่นไถลง่ายหรือมีความลาดชั้น ดังนั้นหากสามารถหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ทำให้เกิดอาการปวดขาได้ก็ต้องทำค่ะและทั้งหมดนั้นคือแนวทางเอาไว้ดูแลตัวเองจากอาการปวดขาเวลาเดินนาน และขอแนะนำเพิ่มเติมว่าในผู้สูงอายุ ก็อาจมีปวดขาได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาวนะคะ จึงต้องระวังเป็นพิเศษ และเวลาไปเดินตลาดที่ต้องหิวของหนัก แบบนี้ก็ปวดขาง่ายได้เหมือนกันค่ะ เพราะเคยสังเกตตัวเองเวลาไปเดินตลาดคลองถม การเดินจะช้าลงๆ และเริ่มเดินลากขา พอกลับมาบ้านก็ไม่ช้าที่จะยกขาพาดบนเก้าอี้และนวดขาในจุดที่ปวดค่ะ และทุกครั้งๆ ก็ดีขึ้น ยังไงนั้นคุณผู้อ่านต้องลองนำแนวทางในนี้ไปปรับใช้กันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่มากก็น้อย และถ้าชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😄เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Juan Manuel Montejano Lopez จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1 โดย Anete Lusina จาก Pexels, ภาพที่ 2-4 โดยผู้เขียน และภาพที่ 5 โดย Lacey Raper จาก Unsplashออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaเกี่ยวกับผู้เขียนภัคฒ์ชาลิสา จำปามูลศึกษาเกี่ยวกับ: พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://intrend.trueid.net/post/449750 https://intrend.trueid.net/post/355341 https://intrend.trueid.net/post/392966 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !