ในปัจจุบันเราได้รับน้ำตาลทั้งในอาหารคาว อาหารหวาน และเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ และนั่นยังไม่นับรวมน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะจากผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำนม หรือ อื่น ๆ หลายคนติดกินหวาน จนเหมือนติดน้ำตาลไปแล้ว วันนี้เราจะขอแชร์ 6 โทษของการกินหวาน กินน้ำตาล เสี่ยงโรคอะไรบ้าง ? เมื่อรู้แล้วก็ถึงเวลา ลด ละ เลิก ก่อนจะสายเกินไปนะคะเราจะนึกถึงโทษของการกินหวาน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดัน แต่จากงานวิจัย การกินหวาน เสี่ยงทั้งโรคมะเร็ง โรคเก๊าท์เลยนะคะ เรามาดูกันก่อนค่ะว่าเราได้รับน้ำตาลจากทางไหนบ้างน้ำตาลที่ได้รับในแต่ละวันมาจากไหนบ้าง ?เราขอยกตัวอย่างจากพฤติกรรมการกินอาหารของเราเอง ว่าในแต่ละวันเรากินหวาน กินน้ำตาลมากขนาด ไหน ?มื้อเช้ากินข้าว กับต้มเลือดหมู เติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความกลมกล่อมให้ต้มเลือดหมูดื่มน้ำเปล่าหนึ่งแก้วหลังจากนั้นดื่มชาเขียวเย็น หวานปกติ 1 แก้วเพื่อกระตุ้นให้สามารถนั่งทำงานได้ทั้งวันมื้อเที่ยง กินข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง คอหมูย่าง พร้อมน้ำจิ้มแจ่วแซ่บ แบบเปรี้ยวหวานถึงรสกับเพื่อน ๆสั่งน้ำอัดลมมากินแก้เผ็ดหลังจากนั้นแวะซื้อ ฝรั่ง และสับปะรด ไปกินระหว่างทำงานเพื่อช่วยย่อย ช่วยเสริมวิตามินให้ร่างกาย กลัวตัวเองจะขาดสารอาหาร!มื้อเย็น แวะซื้อข้าวกล่อง เป็นกะเพราหมูสับ ไข่ดาว แม่ค้าส่วนใหญ่เติมน้ำตาลให้ประมาณหนึ่ง โดยไม่ต้องร้องขอ!ซื้อขนมหวานมากิน บางวันก็เปลี่ยนเป็นไอติมแทนซื้อน้ำผลไม้ปั่นกินแก้อาการอ่อนเพลีย หลังจากการทำงานซึ่งถ้าดูจากอาหารที่เรากินในแต่ละมื้อ จะเห็นเลยว่า เราได้รับน้ำตาลมาจากน้ำตาลจากผัก และผลไม้ ถ้าวันไหนกินแพนเค้ก ก็จะได้น้ำตาลจากน้ำผึ้งมาด้วยน้ำตาลจากการเติมน้ำตาลลงในอาหาร (เติมเอง เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปาก)น้ำตาลที่ได้จากการเติมน้ำตาลในอาหาร ทั้งคาว และหวาน (ผู้ผลิตเติมให้)น้ำตาลจากเครื่องดื่มผสมน้ำตาล หรือ สารเพิ่มความหวาน เช่น ชาเย็น กาแฟเย็น น้ำผลไม้บรรจุขวด น้ำอัดลม นม เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆกินหวานเสี่ยงโรคอะไรบ้าง ?กินหวานเสี่ยงโรคต่อมไร้ท่อ และการเผาผลาญอาหาร 34%กินหวานเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง 30%กินหวานเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 20%กินหวานเสี่ยงโรคอื่น ๆ 10%กินหวานเสี่ยงโรคระบบประสาท 4% กินหวานเสี่ยงโรคเกี่ยวกับฟันและช่องปาก 2% ต่อไปเรามาดูรายละเอียดกันต่อค่ะ1. กินหวานเสี่ยงโรคต่อมไร้ท่อ และการเผาผลาญอาหาร 34%จากงานวิจัยของต่างประเทศระบุว่า เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน คือตัวที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เหล่านี้มากที่สุด ขอยกตัวอย่างมาแค่บางส่วนนะคะเครื่องดื่มที่มีรสหวานเสี่ยงเกิดโรคอ้วน การดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานวันละ 250 มิลลิลิตร เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคอ้วนประมาณ 12%เครื่องดื่มที่มีรสหวานเสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน การดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานวันละ 1 ขวดอย่างต่อเนื่องเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน 27%เครื่องดื่มที่มีรสหวานเสี่ยงเกิดโรคเก๊าท์ หรือ กรดยูริคในเลือดสูง โดยถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานอาทิตย์ละ 1 ขวดเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ประมาณ 4% แต่ถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานวันละ 1 ขวด เพิ่มความเสี่ยงโรคเก๊าท์ถึง 35% 2. กินหวานเสี่ยงต่อความเสี่ยงโรคมะเร็ง 30%จากรายงานการวิจัยพบว่า การกินหวานเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งนี้การกินหวานเสี่ยงโรคมะเร็งมากถึง 30% เพราะฉะนั้นอาจจะไม่แปลกใจที่ทำไมยอดคนป่วยด้วยโรคมะเร็งปัจจุบันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ3. กินหวานเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 20%การกินหวานเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอุดตันที่สมอง โรคความดัน และไขมันในเลือดสูง4. กินหวานเสี่ยงโรคอื่น ๆ 10%การกินหวานเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหอบหืดในเด็ก การกินหวานทำให้กระดูกแตกหักง่าย โดยจากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่า คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน น้ำอัดลมชนิดต่าง ทำให้กระดูกหักง่ายกว่าคนที่ไม่กินหวาน5. กินหวานเสี่ยงโรคระบบประสาท 4% จากงานวิจัยพบว่าการกินหวานเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น และโรคที่เกี่ยวกับพัฒนาการอื่น ๆ6. กินหวานเสี่ยงโรคเกี่ยวกับฟันและช่องปาก 2%แน่นอนค่ะว่าการกินหวานจะทำให้ฟันผุ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ตามต่างจังหวัดที่พ่อแม่ไม่ได้ใส่ใจดูแลสุขภาพปากมากนัก เด็ก ฟันหน้าดำและผุ ตั้งแต่อายุ 2-3 ขวบเพราะเราให้เด็กกินขนม และเครื่องดื่มที่มีรสหวานแบบไม่จำกัด ซึ่งแตกต่างกับเด็ก ๆ ในประเทศสวีเดนที่พ่อแม่เค้าจะอนุญาติให้ลูกกินขนมและอาหารหวานเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น เมื่อกินเสร็จก็ต้องแปรงฟันให้เรียบร้อย เราสังเกตคนที่นี่ฟันแข็งแรงมาก บางคนอายุ 80-90 ปีฟันยังแข็งแรงอยู่เลยค่ะ ทั้งหมดนี้คือ ข้อมูลจากงานวิจัยบางส่วนที่เกี่ยวกับโทษของการกินหวาน โดยส่วนตัวเราเองสังเกตได้ชัดเจนว่า ถ้าเมื่อไรที่ดื่มชาเย็นวันละ 1-2 แก้วเป็นเวลาต่อเนื่องทุกวันประมาณ 1-2 เดือนน้ำหนักก็จะขึ้นมาอย่างรวดเร็วประมาณ 2-3 กิโลกรัมแต่ถ้าช่วงที่อยู่ต่างประเทศเราเปลี่ยนเป็นดื่มชาเขียวร้อนวันละ 1 แก้วโดยเติมน้ำผึ้งแทนน้ำตาล ถึงแม้จะกินทุกวันน้ำหนักก็ไม่เพิ่มขึ้น สำหรับเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม นาน ๆ เราจะกินทีจึงไม่มีข้อเปรียบเทียบให้เห็น อาหารอีกชนิดที่เราสังเกตว่าจะทำให้น้ำหนักขึ้นเร็วมากคือ พวกเค้ก หรือ ขนมหวานต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ เราก็ไม่ได้ชอบ แต่หลายครั้งที่ต้องกินตามมารยาทในที่ทำงาน สำหรับผลไม้ถ้าไม่ใช่ทุเรียนที่พลังงานมหาศาล เรากินเยอะ น้ำหนักก็ไม่เคยขึ้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ทั้งนี้ก็อาจจะเพราะเราชอบผลไม้ที่มีรสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน น้ำตาลน้อย แคลอรี่ต่ำด้วยค่ะ อ่านต่อ 10 ผลไม้ น้ำตาลน้อย แคลอรี่ต่ำ สำหรับคนต้องการคุมน้ำหนัก (trueid.net)สมัยก่อนตอนที่เราเองยังเป็นเด็กพ่อแม่ปู่ย่าตายายจะทำอาหารคาวโดยไม่ใส่น้ำตาล เราสังเกตว่าคนสมัยก่อนจะไม่อ้วน และไม่ค่อยมีโรคเช่นทุกวันนี้ แต่ปัจจุบันการทำอาหารไทยแทบทุกชนิด มีการเติมน้ำตาลลงไปค่อนข้างเยอะ ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะอาหารไทยมีรสชาติจัดจ้าน จึงต้องเติมน้ำตาลเพื่อให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น ซึ่งเราเองก็คิดว่าแทบทุกครัวเรือนที่เติมน้ำตาลลงในอาหารคาว เห็นโทษของการกินหวานแบบนี้แล้ว ช่วงนี้น้ำตาลขึ้นราคา ก็อย่าลืม ลด ละเลิกกินหวาน ก่อนจะสายเกินไปนะคะ สุขภาพร่างกายเป็นของเรา ถ้าเราไม่ดูแล ใครจะดูแลให้เรา จริงมั้ยค่ะ ? เดี๋ยววันหลังมาแชร์สูตรอาหารคลีน แล้วพบกันใหม่นะคะบทความอื่นที่เกี่ยวข้องhttps://women.trueid.net/detail/rGVkJb6d2m2whttps://food.trueid.net/detail/zo6YWr2Wr001https://women.trueid.net/detail/4LRV2vlrRZpLขอขอบคุณภาพปก ภาพปก by Myriams-Fotos/ Pixabayภาพประกอบบทความทั้งหมดโดยผู้เขียน By Nurseonomy เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !