สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะขอเล่าถึงประสบการณ์การไปใช้บริการที๋โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นการไปใช้บริการเป็นครั้งแรกในชีวิตเลย คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลายคนออกตัวก่อนว่า เราเป็นคนดูแลแม่ซึ่งมีโรคประจำตัวหลายโรคมาเกือบ 20 ปี ปกติเราพาไปโรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้านเพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่ค่าบริการค่อนข้างสูง จนถึงจุดที่บริษัทประกันแจ้งมาว่าเราเบิกจนเต็มวงเงินและไม่สามารถคุ้มครองการรักษาได้แล้ว กุมขมับเลยจ้าเราเลยแจ้งกับคุณหมอท่านหนึ่งที่ดูแลเรื่องการนอนและโรคสมองเสื่อม ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ว่า เราสู้ค่ารักษาไม่ไหวเพราะประกันไม่คุ้มครอง คุณหมอเริ่มแนะนำให้เราไปหาซื้อยาเอง จะได้ราคาถูกกว่าจากทางโรงพยาบาล ซึ่งช่วยประหยัดไปได้เยอะพอพาแม่ไปพบคุณหมอหลายๆ ครั้ง เลยได้ทราบว่าคุณหมอออกตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วย อย่างที่ทุกคนทราบกันอยู่ว่า เป็นโรงพยาบาลของรัฐ และ ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน แต่เราเองก็ไม่รู้จะพาแม่ไปเริ่มตรงไหน เพราะแม่ไม่เคยมีประวัติรักษากับที่นั่น เวลาเดินผ่านที่นั่นตอนเช้า ก็เห็นผู้ป่วยและญาติมารอจนล้นเลยแค่นี้ก็ท้อแล้วคุณหมอเลยแนะนำว่า ให้เราไปติดต่อที่อาคาร ภปร ชั้นล่าง เพื่อทำบัตรผู้ป่วยใหม่ ให้มีเลข HN หรือเลขประจำตัวผู้ป่วยก่อน แล้วโทรศัพท์ไปที่แผนก เพื่อขอคิวนัดหมาย แล้วมาติดตามมารักษากับหมอที่นี่คุณหมอท่านนี้ชื่อ คุณหมอปุณฑริก ศรีสวาท ค่ะ (อันนี้เราขออนุญาตคุณหมอแล้วว่าขอเอ่ยชื่อคุณหมอ) เราทำตามคำแนะนำคุณหมอเลยได้รู้ว่า มันไม่ยากอย่างที่คิด อันนี้ภาพอาคาร ภปร ของ รพ จุฬาลงกรณ์ ที่อยู่ริมถนนพระราม 4 ค่ะ มีรถเมล์ผ่านหลายสาย รวมถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดง และรถใต้ดินสถานีสีลม เดินไม่ไกลคุณหมอบอกว่า ให้ไปที่ชั้น 1 เคล็ดลับคือ ถ้าไปช่วงบ่าย คนจะไม่แออัดเท่าตอนเช้ามีเจ้าหน้าที่ยืนให้บริการมากมาย สามารถสอบถามได้ จุดที่ทำบัตรผู้ป่วยใหม่นั้นทันสมัยกว่าที่คิดอีก คือ แค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เสียบไปที่น้องหุ่นยนต์นี้ 1 นาทีก็เรียบร้อยได้หมายเลขผู้ป่วยใหม่มาเลยค่ะ อันนี้คือเราไปด้วยตัวเอง ถื่อโอกาสทำบัตรคนไข้ของเราเองเผื่อไว้ด้วยมีมุมให้กรอกประวัติผู้ป่วยใหม่เห็นเด่นชัดตรงชั้น 1 แบบนี้ค่ะ แต่ถ้าต้องทำให้แม่หรือผู้ป่วยสูงวัย ให้ถือบัตรประชาชนพวกท่านไป แล้วไปติดต่อที่คลีนิกพิเศษ ชั้น 13 อาคาร ภปร เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลให้ แล้วจึงจะได้เลขประจำตัวผู้ป่วยใหม่เจ้าหน้าที่จะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเพิ่มไว้ใส่ในทะเบียนประวัติด้วย เป็นข้อมูลพื้นฐาน หน้าเดียวแบบนี้ ไม่ยุ่งยากค่ะ ไม่ขอหลักฐานอะไรเพิ่มเติมคุณหมอที่แสนดีของเรา แนะนำว่าพอได้เลขประจำตัวผู้ป่วยแล้ว เราสามารถโทรศัพท์ไปขอนัดพบคุณหมอได้เลย โดยแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยที่เคยรักษากับคุณหมอมาแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะแจ้งคิวว่างให้ ทำใบนัด เราแค่มาพบแพทย์ตามวันที่นัด อันนี้บอกเลยว่า ถ้าเราไปรักษาครั้งแรก แล้วไม่ระบุแพทย์ อาจจะได้คิวที่รวดเร็ว แต่ถ้าเป็นแพทย์ที่คนไข้เยอะ อาจจะต้องรอ 2-3 สัปดาห์ อยู่ที่คิวว่างในวันที่แพทย์ออกตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีแพทย์เฉพาะทางให้บริการทุกด้านเลยค่ะ เราเลือกคลีนิกพิเศษเพราะเปิดให้บริการวันเสาร์-อาทิตย์ รถไม่ติด แต่ถ้าเป็นคลีนิกธรรมดา เปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์ตั้งแต่ 08.00 น เลยเราพาแม่ไปตามนัด กดบัตรคิว เจอคุณหมอ รอรับยา แค่นี้ค่ารักษาพยาบาลและค่ายาที่เราต้องจ่ายก็น้อยลงไปเยอะมาก และ ไม่ยุ่งยากอย่างที่เราคิดไว้เลยเราเชื่อว่า เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก เป็นปัญหาของหลายคน เอาจริงๆ โรงพยาบาลรัฐที่บ้านเรามีบุคลากรทางการแพทย์และยาที่ตอบสนองความต้องการได้ในราคาที่จับต้องได้จริงๆ นะคะ ตอนเริ่มต้นอาจจะวุ่นวายหน่อย อาจจะต้องรอนานกว่าโรงพยาบาลเอกชน แต่พออยู่ในระบบของเขาแล้ว บริการที่ได้ถือว่าคุ้มค่า บุคลากรทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ เกินราคาจริงๆ ขอบพระคุณอาจารย์ปุณฑริก ศรีสวาท ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไว้ ณ ที่นี้ค่ะ เราเขียนเล่าไว้เผื่อแนวทางจะเป็นประโยชน์กับใครที่ประสบปัญหาค่ารักษาพยาบาลกับ รพ เอกชน และ อยากประหยัดค่าใช้จ่ายค่ะภาพทุกภาพที่เห็นคือภาพที่เราถ่ายเองทั้งหมดเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !