รีเซต

3 ขั้นตอนจัดการเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ มีเงินใช้แบบไม่สะดุด

3 ขั้นตอนจัดการเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ มีเงินใช้แบบไม่สะดุด
Faii_Natnista
25 กันยายน 2563 ( 11:30 )
10.3K
6

     เงินเดือนออกทีไร แปปๆ เงินก็หมด เงินเก็บไม่มี แถมเงินใช้จ่ายก็ไม่พอ ใครที่กำลังเจอปัญหาแบบนี้อย่าชะล่าใจไปนะคะ มาดู 3 ขั้นตอนจัดการเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ มีเงินใช้ในอนาคต แถมไม่มีหนี้กันดีกว่า!

     สำหรับใครที่ยังจัดการกับเงินเดือนไม่ถูก ไม่รู้จะแบ่งเงินยังไงดี วันนี้เราก็มีขั้นตอนง่ายๆ ในการจัดการเงินเดือนมาบอกกันค่ะ ทำตามนี้ให้ติดเป็นนิสัย รับรองว่า มีเงินออมไว้ใช้ในอนาคต แถมช่วยให้การจัดการเงินในอนาคตเป็นระบบมากขึ้นด้วย!

 

 

1. แยกบัญชีเงินเดือนออกเป็น 3 บัญชี

     เริ่มแรกให้เปิดบัญชีไว้ 3 บัญชีค่ะ เพื่อแยกเงินแต่ละส่วนไม่ให้ปะปนกันหลังได้รับเงินเดือน โดยบัญชีทั้ง 3 บัญชีจะแบ่งออกเป็น

  • บัญชีเงินออม 30% ของรายได้ 
  • บัญชีรายจ่ายหนี้สินต่างๆ 40% ของรายได้ 
  • บัญชีรายจ่ายส่วนตัว 30% ของรายได้

โดยหลักการแบ่งเงินนั้นจะแบ่งได้ง่ายๆ ตามนี้ค่ะ

รายได้ - เงินออม - หนี้สิน = รายจ่ายส่วนตัว

     เมื่อมีรายได้เข้ามาแล้วให้หักเข้าบัญชีเงินออมก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ จากนั้นหักเข้าบัญชีรายจ่ายหนี้สิน และเหลือเท่าไหร่ ส่วนที่เหลือก็จะเป็นเงินสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวค่ะ

ตัวอย่าง : เงินเดือน 20,000 บาท

  • หักเข้าบัญชีเงินออม 6,000 บาท
  • หักเข้าบัญชีรายจ่ายหนี้สินต่างๆ 8,000 บาท
  • เหลือเงินเข้าบัญชีรายจ่ายส่วนตัว 6,000 บาท

 

2. จัดการกับบัญชีเงินออม

     แม้ว่าเราจะมีบัญชีเงินออมแล้ว แต่ก็ต้องจัดการกับเงินออมที่มีอยู่ด้วยนะคะ โดยเราต้องรู้ก่อนว่าเงินออมที่เรามีนั้นเราจะออมเพื่ออะไรบ้าง อาจจะแบ่งง่ายๆ ออกเป็น

  • เงินออมสำหรับกรณีฉุกเฉิน
  • เงินออมสำหรับการเกษียณ โดยเงินออมในส่วนนี้เราสามารถเก็บได้ในอีกหลายรูปแบบค่ะ เช่น การฝากประจำ, การซื้อกองทุนรวมหุ้น LTF, การซื้อประกันแบบออมทรัพย์, การซื้อหุ้นปันผล RMF, การซื้อประกันแบบบำนาญ
  • เงินออมสำหรับการลงทุนทำสิ่งต่างๆ ในชีวิต เช่น การทำธุกิจส่วนตัว การซื้อบ้าน การแต่งงาน หรือเรียนต่อ

    โดยเงินในแต่ละส่วนสามารถแบ่งตามได้ความเหมาะสมของแต่ละคนเลยค่ะ เนื่องจากบางคนอาจมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงินต่างกันไป แต่แนะนำว่าให้เกลี่ยเงินให้ได้ตามเป้าหมายแต่ละข้อที่เราตั้งเป้าไว้ค่ะ

 

3. จัดการกับบัญชีรายจ่าย

     จัดการกับบัญชีเงินออมแล้ว บัญชีรายจ่ายก็ต้องจัดการเช่นกันค่ะ โดยบัญชีรายจ่ายที่เราแบ่งนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 บัญชีตามที่กล่าวข้างต้นค่ะ คือบัญชีรายจ่ายหนี้สินต่างๆ และบัญชีรายจ่ายส่วนตัว

  • บัญชีรายจ่ายหนี้สินต่างๆ คือหนี้สินทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าบัตรเครดิต ค่าหนี้บัตรเครดิต ค่าหนี้นอกระบบ ค่าหนี้สินอื่นๆ โดยเงินส่วนนี้จะหัก 40% ของเงินเดือน เมื่อหักรายจ่ายหนี้สินทั้งหมดแล้ว ส่วนที่เหลือก็ถือว่าเป็นเงินออมไปในตัวค่ะ หากไม่พอ ควรลดการใช้จ่ายบัตรเครดิตต่างๆ ลงค่ะ
  • บัญชีรายจ่ายส่วนตัว คือรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ค่าเดินทางไปทำงาน ค่ากินข้าว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าภาษี ค่าช้อปปิ้ง ค่าท่องเที่ยว และอื่นๆ ส่วนนี้จะหัก 30% ของเงินเดือน หรือเมื่อหักเงินออมและเงินรายจ่ายหนี้สินต่างๆ หมดแล้ว จะนำมาใส่ในส่วนนี้ทั้งหมดเลยก็ได้เช่นกันค่ะ แต่ก็เช่นเดียวกันค่ะ หากเงินในส่วนนี้ไม่พอ ก็จำเป็นต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง หรือหารายได้เสริมเพิ่มเติม

 

     การจัดการกับเงินเดือนเบื้องต้นก็มีขั้นตอนง่ายๆ ตาม 3 ขั้นตอนนี้เลยค่ะ ซึ่งหากทำได้รับรองว่ามีเงินออม และมีเงินใช้แบบไม่สะดุดแน่นอน! 

 

.........................................

 

อัพเดทเทรนด์เมคอัพ แฟชั่น เคล็ดลับลดน้ำหนัก และไลฟ์สไตล์ผู้หญิงใหม่ๆ ทุกวัน

ได้ที่แอปพลิเคชัน ทรูไอดี ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!

 

บทความที่เกี่ยวข้อง