เคยมั้ยคะที่เพื่อนๆ รู้สึกว่าในหัวคิดอะไรเต็มไปหมด ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ รู้สึกกระวนกระวาย มองเห็นปัญหาหรือเรื่องๆ นึง เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก โดยคำว่า Monkey mind หรือแปลตรงๆ คือ จิตลิง ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในพระพุทธศาสนาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2000 ปีก่อน โดยกล่าวถึงสภาวะจิตนี้ เปรียบเสมือนจิตของลิง ที่วุ่นวาย กระโดดจากความคิดหนึ่งไปยังความคิดหนึ่งไม่รู้จักหยุดหย่อน และการที่เราเลี้ยงเจ้า Monkey Mind ไว้กับตัวนี่แหละ จะนำความวุ่นวายมาสู่ชีวิต และทำให้ยากที่จะจดจ่อกับสิ่งใดจนบรรลุเป้าหมายได้สัญญาณที่บอกว่าเรากำลังเลี้ยงเจ้า Monkey Mindคิดหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกันรู้สึกว่าจิตของเราล่องลอยไปคิดเรื่องต่างๆ ขณะกำลังทำบางสิ่งบางอย่างเพียงไม่นานรู้สึกเหน็ดเหนื่อยทางใจ ไม่สามารถทนอะไรได้บ่อยๆ ส่งผลกับสภาวะอารมณ์ที่ไม่คงที่มีความคิดที่กระโดดไป กระโดดมา หรือสลับจากงานหนึ่งไปงานหนึ่ง โดยที่ทำหรือคิดอะไรไม่เสร็จสักอย่างรู้สึกยากลำบากที่จะโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ในปัจจุบันใช้เวลามากเกินไปกับการคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต หรือในอนาคตคิดวนไปวนมากับเรื่องเดิมๆแล้วเจ้า Monkey Mind ถ้าเราเลี้ยงมันไว้ ไม่หาทางรับมือจะเป็นปัญหาอะไรมั้ย จำเป็นต้องรับมือขนาดนั้นเลยหรอ ดังนั้นเราเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาดูผลเสียถ้าหากเราปล่อยให้เจ้า Monkey Mind โลดแล่น และมาควบคุมชีวิตเรา แทนที่เราจะเป็นเจ้านายมันปัญหาที่มาพร้อมกับ Monkey Mindรู้สึกกังวล กระสับกระส่าย ไม่สงบสุขเพิ่มระดับความเครียดลดความสามารถในการจดจ่อ หรือเพ่งความสนใจในสิ่งต่างๆไม่สามารถที่จะคิด หรือเข้าใจอะไรได้อย่างกระจ่างแจ้ง รู้สึกสับสนไม่สามารถที่จะอยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่ว่าจะกับผู้คน หรือกับงานที่อยู่ตรงหน้าเป็นพลังงานลบที่ผลักไสคนรอบข้างออกจากวงโคจรเรา เพราะเหนื่อยที่จะอยู่ใกล้ไม่สามารถใช้ชีวิตที่ดี และสงบสุขได้รบกวนการนอนหลับดึงเราให้ออกห่างจากสิ่งที่สำคัญที่ควรโฟกัสในชีวิตไม่มีความพึงพอใจในชีวิตกลายเป็นนิสัยที่ไม่ดี ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และอาชีพการงาน จริงอยู่ที่สภาวะจิตนี้เกิดขึ้นได้แทบทุกคน และเกิดเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีมากเกินไปจนส่งผลต่อการตัดสินใจอะไรบางอย่าง หรือส่งผลต่อสุขภาพกายและจิต จะไม่ดีกว่าหรอที่เราจะเรียนรู้ที่จะทำให้มันเชื่อง และเกิดผลลัพธ์ในทางตรงข้ามกับที่กล่าวถึงไปด้านบน เราพอจะทำอะไรได้บ้าง?ให้เรามองว่าเจ้า Monkey Mind คือเพื่อน มากกว่าการที่จะไปรู้สึกต่อต้าน หรือโกรธเคืองว่าทำไมคิดไม่หยุด - การที่เรามองเห็นสภาวะจิตนี้อย่างใจเย็น ไม่ขุ่นเคือง เปรียบเสมือนเราสร้างพื้นที่เล็กๆ ให้มันได้วิ่งเล่น โดยที่เราไม่ได้ป้อนอาหารให้มันเพิ่ม ไม่นานมันก็จะสงบลงการทำสมาธิ - เป็นการสอนให้จิตอยู่นิ่งและจดจ่อกับปัจจุบันขณะ เพิ่มความตระหนักรู้ ทำให้รู้สึกสงบ กระจ่างในความคิด มองเห็นปัญหาตามความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่งเพิ่มลองทำกิจกรรมที่ทำให้เราโฟกัสกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) - เช่น จัดบ้าน ล้างจาน อ่านหนังสือ เล่นดนตรี ออกไปเดินข้างนอก รับรู้ถึงความรู้สึกของการทำสิ่งง่ายๆ ที่อยู่ตรงหน้าลดสิ่งเร้า สิ่งรบกวน - เพราะ Monkey Mind ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อความ E-mail ข่าวสาร หรือสิ่งต่างๆ ตาม social media ดังนั้นการปิดการแจ้งเตือนที่ไม่จำเป็น หรือวางมือถือให้ออกห่างจากตัวเมื่อเราต้องการโฟกัส จะช่วยลดการที่เราสอนให้สมองไม่จดจ่อกับอะไรเลย ทุกครั้งที่ปัดมือถือไปมา เพื่อแก้เบื่อ หรือฆ่าเวลามีเวลาให้ตัวเองได้พักบ้างระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ - จิบกาแฟ ออกไปสูดอากาศรับแสงแดด แสงลม หรืองีบหลับการจดบันทึก - การเขียนระบายความคิด ความรู้สึก ช่วยให้เราปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกให้เป็นอิสระ มองเห็นรูปแบบและปัญหาได้ชัดขึ้น ได้จัดระบบความคิด และทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ลึกขึ้น รู้สึกควบคุมสถานการณ์ได้มากขึ้นฝึกการดูแลตัวเอง - โดยเริ่มจากพื้นฐานของชีวิตที่ดี ได้แก่ การนอน การกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ การใกล้ชิดธรรมชาติ - จากผลงานวิจัยพบว่าการอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ หรือแม้แต่การดูรูปภาพ หรือวิดิโอ ส่งผลต่ออารมณ์ในเชิงบวก เช่น เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ การเข้าถึงจิตใจตนเอง ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวในสภาวะต่างๆ หากิจกรรมที่ทำให้เราอยู่ในสภาวะ flow บ่อยๆ - คือการที่เราทำกิจกรรมบางอย่างที่เราแทบจะไม่รู้สึกถึงความพยายามที่จะจดจ่อเลย เหมือนเรามุ่งความสนใจไปกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าโดยอัตโนมัติ รู้สึกเวลาผ่านไปเร็วมาก รู้สึกหยุดคิดถึงเรื่องต่างๆ ที่จะแยกเราออกจากสิ่งที่ทำอยู่ได้โดยง่าย อาจจะเป็นอะไรที่เราสังเกตว่าชอบทำเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างของเราก็คือการ ค้นคว้าข้อมูล ทำความเข้าใจเพื่อมาเขียนบทความ โดยงานนั้นๆ จะต้องเข้าหลัก 3 ประการดังนี้ 1) ตั้งเป้าหมายของงาน 2) สามารถวัดผลหรือความคืบหน้าได้ ว่าเราทำงานบรรลุถึงขั้นไหน 3) เป็นงานที่สมดุลระหว่างสร้างความท้าทายที่พอดีกับทักษะที่เรามีอยู่ เพราะถ้าหากง่ายเกินไป ก็จะทำให้เราเบื่อ แต่ถ้ายากเกินไปก็จะทำให้เราท้อ เครียด และล้มเลิกได้ออกไปช่วยเหลือผู้อื่น - เพราะเจ้า Monkey Mind มักมีอีโก้สูง สนใจจับจดแต่กับเรื่องของตัวเอง เราสามารถดึงความสนใจออกจากสภาวะนี้ โดยการส่งมอบ ช่วยเหลือผู้อื่นเริ่มต้นทำสิ่งที่สำคัญต่อชีวิต - สิ่งที่สนับสนุนจุดมุ่งหมายในชีวิต สิ่งที่เรายึดมั่น และเปิดโอกาสให้เราทำเพื่อผู้อื่น และทำมันอย่างต่อเนื่องสุดท้ายนี้เราได้ฟังวิดิโอนึงที่พูดถึง Monkey Mind ไว้ดีมาก จึงอยากแชร์ให้เพื่อนๆ ฟัง หวังว่าจะเป็นประโยชน์ ได้มีชีวิตที่สุขสงบและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สำคัญในชีวิตได้ง่ายขึ้นกันนะคะhttps://www.youtube.com/watch?v=2Yz9_7dd8xM ภาพปกจาก Pixabay โดย HtcHnmภาพประกอบจาก Pixabay โดย geraltภาพประกอบจาก Pixabay โดย geraltภาพประกอบจาก Pixabay โดย johnhainวิดิโอจาก YouTube โดยช่อง Moojijiส่องที่เที่ยว พิกัดลับห้ามพลาด มุมถ่ายรูปสวยที่ทรูไอดีคอมมูนิตี้