ซาวน่า มาจากคำว่า "Sauna" หากจะออกเสียงในภาษาไทยให้คล้ายกับเสียงที่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษออกเสียงแบบใกล้เคียงสุด ๆ ควรออกเสียงว่า "ซอน่า" แต่แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินกันต้นกำเนิดของซาวน่า ว่ากันว่ามาจากประเทศฟินแลนด์ ดินแดนที่เมื่อถึงฤดูหนาว อากาศจะหนาวสุด ๆ แต่ซาวน่าแพร่กระจายในแถบเอเชีย ไล่ตั้งแต่ประเทศหนาวมาก ไปจนถึงประเทศหนาวน้อย เรื่อยมาถึงประเทศร้อนอย่างไทยได้อย่างไรนี่ อาจไม่มีผู้ทราบได้แน่ชัดแท้จริงแล้วห้องซาวน่าร้อน ๆ ไม่น่าจะเหมาะกับประเทศร้อน แต่แน่นอนว่าคนในประเทศร้อนส่วนหนึ่ง แม้ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน แต่เหงื่ออาจจะไม่ออกมาก เลือดในร่างกายอาจจะไม่หมุนเวียนดีเท่ากับอยู่ห้องร้อน ๆ จึงต้องใช้ห้องซาวน่าช่วยดังนั้น ซาวน่าในประเทศร้อนจึงมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่ก็มีข้อควรระวัง ทั้งในด้านสุขภาพ และข้อควรคำนึงเป็นพิเศษด้านสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิของร่างกายในด้านสุขภาพ ผู้ใช้ห้องซาวน่าไม่ควรมีโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดัน ตั้งครรภ์ มีประจำเดือน หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ หากมีโรคประจำตัวและมีโอกาสพบหมอและนึกได้ ควรถามหมอด้วยว่าควรอยู่ห้องร้อน ๆ เช่นห้องซาวน่าหรือไม่ ข้อควรคำนึงถึงด้านสภาพอากาศ เช่น ในวันที่อากาศร้อนจัด อุณหภูมิในร่างกายพุ่งสูง เช่นนี้ก็หลีกเลี่ยงไม่ควรเข้าซาวน่า หรือพักให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงการปรับอุณหภูมิในร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเข้าห้องซาวน่าเสร็จไม่ควรอาบน้ำทันที อาจพักให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงซักพัก ราว 3-5 นาที แล้วค่อยอาบน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ควรอาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นเกินไปซาวน่าบางแห่งมีคำแนะนำทั้งในรูปแบบภาพที่เข้าใจได้ง่ายและคำอธิบายสั้น ๆ ภาษาอังกฤษหรือไทยประกอบด้วย ลองอ่านและดูภาพว่าต้องทำอย่างไรก่อนเข้าห้องซาวน่าเมื่อเข้าไปในห้องซาวน่า อุณหภูมิที่ร้อนของห้อง จะช่วยให้รูขุมขนขยาย เหงื่อออกมาก เลือดสูบฉีดและไหลเวียนได้ดีมากขึ้นเพราะมีความร้อนเป็นตัวกระตุ้น ผู้ใช้ห้องซาวน่าอาจถือผ้าขนหนูขนาดใหญ่หรือเล็กติดตัวไปด้วยเพื่อเช็ดเหงื่อไคล หรือเพื่อปกปิดร่างกายส่วนที่เขินอายเมื่อต้องใช้ห้องซาวน่าร่วมกับผู้อื่น แต่แน่นอนว่าชาวญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกส่วนหนึ่งไม่นิยมปกปิดร่างกายในห้องซาวน่า ซึ่งอาจทำให้เราคนไทยหัวใจเต้นแรงขึ้นอีกระดับหนึ่ง :)ซาวน่าบางแห่งมีห้องสตีมซึ่งเป็นห้องไอน้ำร้อน ๆ บางแห่งปรุงสมุนไพรสดหรือแห้งใส่ไว้ในห้องด้วย ดีต่อระบบหายใจ แต่ว่ากันว่าคนเป็นโรคปอดหรือมีปัญหาด้านการหายใจไม่ควรเข้าห้องอบไอน้ำนี้เพราะหายใจลำบาก อาจมีปัญหาต่อสุขภาพได้ ส่วนตัวผู้เขียนชอบห้องสตีมเพราะไม่แห้งและร้อนจัดเหมือนอยู่ทะเลทรายเหมือนในห้องซาวน่า แต่หากมีทั้งสอง ผู้เขียนก็เข้าทั้งซาวน่าและสตีม สลับกัน และอาบน้ำเป็นระยะ ๆ หลังเข้าห้องแต่ละห้องลำดับการนั่ง หากผู้ที่เข้าใช้ซาวน่าบ่อย ๆ จะพบว่าที่นั่งชั้นล่าง ยิ่งใกล้พื้นยิ่งร้อนกว่าชั้นบน ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความร้อนตกลงดินได้เร็ว หรือไม่ระเหย กระจายขึ้นบนฟ้าได้รวดเร็วก็ไม่ทราบ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะนั่งชั้นบนหรือล่าง เมื่อรู้สึกว่าตัวเองรู้สึกร้อนมากพอ เหงื่อออกเยอะ และใช้เวลาพอสมควรตามที่ตั้งไว้แล้ว ก็ควรออกจากห้อง พักเป็นช่วง ๆ ไม่ควรฝืน ครูโยคะของผู้เขียนจะบอกเสมอว่าให้รู้จัก "สังเกต" ตัวเอง คือ ถ้าไม่ไหว อย่าฝืน เพราะแทนที่จะสุขภาพผิวดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง จะกลับเป็นผลร้าย ป่วย หรือมีโรคภัยได้ ส่วนตัว ผู้เขียนชอบเข้าซาวน่าและสตีมมาก แต่การเข้าแต่ละครั้งอยู่ได้ไม่นานมาก เพราะไม่ชอบทรมาณตัวเอง อยู่ได้เพียง 7-10 นาที ไม่เกินนี้ห้องซาวน่าที่ดีไม่ควรมีกลิ่นอับ ควรมีกลิ่นหอมไม้สนนิด ๆ ทำความสะอาดดี มีน้ำสำหรับตักราดเตาหินร้อนใส่อ่างหรือโถวางไว้ในห้อง ในน้ำอาจผสมการบูรหรือสมุนไพรกลิ่นอ่อน ๆ ไม่ฉุนเกินไปที่นั่งในห้องสตีมส่วนใหญ่จะเป็นกระเบื้อง หรือหินอ่อน ให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และทนต่อไอน้ำหรือความชื้น เพราะแน่นอนว่าในห้องความชื้นสูงมาก เทียบกับการต้มน้ำร้อนหลาย ๆ หม้อให้ไอน้ำระเหยพุ่นพล่านทั่วห้อง ภาพนี้ถ่ายก่อนเปิดเครื่องสตีม เพราะเมื่อเปิดเครื่อง ควันโขมงมาก ถ่ายภาพไม่ได้ห้องสตีมที่ดีไม่ควรมีกลิ่นอับ พื้นไม่ควรลื่นเกินไป น้ำไม่ขัง ไม่เป็นอันตรายเสี่ยงต่อการลื่นล้ม และเมื่อเข้าไปในห้อง ควรนั่งในพื้นที่ที่จัดไว้ ไม่ควรยืน เพราะเสี่ยงต่อการหกล้ม หรือลื่นล้มได้ซาวน่า สตีมหรือสปาบางแห่งมีภาพสาธิตวิธีการช่วยชีวิตเมื่อหมดสติ เป็นลม หรือเกิดเหตุฉุกเฉินในห้องติดไว้ด้วย ควรอ่านศึกษาดูให้ดี ภาพและคำอธิบายวิธีการช่วยชีวิตหรือกู้ชีพเหล่านี้อาจมีประโยชน์กับเพื่อนเราหรือกระทั่งตัวเรา ผู้ใช้บริการ ปลอดภัยไว้ก่อนดีที่สุด ควรเช็คด้วยว่ามีพนักงานอยู่ทำงานระหว่างใช้ห้องหรือไม่ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะมีใครพอช่วยเราได้ อย่าประมาทสุดท้าย หลังจากเข้าห้องซาวน่าครั้งหนึ่ง ๆ และพักราว 3-5 นาทีแล้ว ควรอาบน้ำชำระเหงื่อไคลและปรับอุณหภูมิพร้อมเข้าห้องแต่ละห้องอีกครั้ง ส่วนตัวผู้เขียนเข้าซาวน่าและสตีมรวมกัน 3-5 ครั้งเท่านั้น โดยมักเรียงจาก เข้าซาวน่า-อาบน้ำ-เข้าสตีม-อาบน้ำ-เข้าซาวน่า-อาบน้ำ-เข้าห้องสตีม-สระผม อาบน้ำฟอกสบู่อย่างดีตบท้าย หลังจากนั้นจะดื่มชาร้อนและของว่างรสไม่หวานจัดเบา ๆ 2-4 ชิ้น พักราว 10-15 นาที และอาจทานอาหารต่อใครยังไม่เคยใช้บริการห้องซาวน่าหรือสตีม แนะนำให้ลองใช้ดู ไม่น่ากลัว ไม่มีอันตรายอะไรหากศึกษาข้อมูลและไม่ประมาท เข้าแล้วรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสนิท ตื่นมาสดชื่นภาพถ่ายโดยผู้เขียนภาพหน้าปกโดยผู้เขียนอ่านบทความทั้งหมดได้ที่ https://cities.trueid.net/@11246