โรคซีสต์...โรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม โรคซีสต์เป็นอีกหนึ่งโรคฮิตของผู้หญิง เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ผู้หญิงมักจะพบเจอซีสต์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะพบซีสต์แต่ก็ควรสำรวจความผิดปกติในร่างกายเพราะคุณอาจอยู่ในภาวะเสี่ยง ซีสต์คือก้อนไขมัน ลักษณะเป็นเนื้องอกที่เป็นถุงน้ำ บริเวณที่มักจะพบซีสต์ได้แก่ กระดูก รังไข่ ตับ ผิวหนัง ส่วนใหญ่มักพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ภาพโดย brucemars ซีสต์ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย แต่ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดซีสต์ได้แก่ร่างกายได้รับสารเคมีจนเกิดการสะสมร่างกาย ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง รับประทานอาหารที่เป็นตัวเร่งทำให้เกิดซีสต์ รับประทานอาหารที่ทำลายระบบเซลล์ในร่างกาย ร่างกายได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือสูดงอกประเภทหนึ่งแต่เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาและผ่าตัดเอาซีสต์ออก นอกจากนี้ยังป้องกันได้จากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช อาหารเหล่านี้จะต่อต้านการเกิดซีสต์รวมทั้งยังยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดมะเร็งอีกด้วยซีสต์ที่พบบ่อยในร่างกายผู้หญิง ได้แก่ ซีสต์ใต้ผิวหนัง ซีสต์ที่เต้านม ช็อกโกแลตซีสต์ ซีสต์เหล่านี้สามารถสำรวจได้ด้วยตัวเองโดยการคลำหาก้อนไขมันแต่บางอย่างก็ไม่สามารถใช้วิธีคลำหาได้ ภาพโดย birdiewyatt ซีสต์ใต้ผิวหนังมีลักษณะเป็นก้อนใต้ผิวหนัง เป็นก้อนนูนถ้าบีบจนแตกจะมีลักษณะคล้ายข้าวสุกที่บดแล้ว ซีสต์ใต้ผิวหนังเกิดจากท่อไขมันอุดตันจนไขมันในถุงขยายตัวโตขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้หรือบีบบ่อย ๆ อาจเกิดอาการอักเสบได้ ควรไปพบแพทย์ให้ทำการผ่าออก 2. ซีสต์ที่เต้านมซีสต์ที่เต้านมมักจะพบได้บริเวณต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม อาจมีขนาดใหญ่เท่าลูกมะนาว วิธีตรวจหาซีสที่เต้านมควรตรวจทุกเดือนโดยใช้มือคลำว่ามีก้อนที่เต้านมหรือไม่ หรืออาจสังเกตว่าบริเวณเต้านมมีผิวขรุขระ ผิวบวม ผิวหนาผิดปกติ หากมีลักษณะตามที่กล่าวมาควรไปพบแพทย์โดยทันที ภาพโดย freepik 3. ซีสต์รังไข่ซีสต์ที่รังไข่พบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อาจมีอาการปวดท้องและหนักท้อง ถุงน้ำในรังไข่เกิดขึ้นและฝ่อหายไปเองได้หลังประจำเดือน แต่หากถุงน้ําในรังไข่แตกอาจทำให้เลือดตกในและปวดท้องอย่างรุนแรงจนต้องผ่าตัดโดยด่วน อาการหลัก ๆ คือหนักท้อง ประจำเดือนมาผิดปกติ และปวดเชิงกราน 4.ช็อกโกแลตซีสต์ช็อกโกแลตซีสต์จะมีอาการปวดท้องทุกครั้งที่มีประจำเดือนและจะปวดมากขึ้นในทุกเดือน อาการอื่น ๆ คืออาหารไม่ย่อย ปัสสาวะผิดปกติ เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากการอักเสบ เนื้องอก และความผิดปกติของฮอร์โมน หมั่นสำรวจร่างกายเป็นประจำหากพบว่ามีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามเราควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ซึ่งการออกกำลังกายนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดซีสต์ได้ เครดิตภาพปก https://www.pexels.com/photo/three-women-wearing-sports-bras-and-leggings-864078/