โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นโรคที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือไม่รู้จักและไม่ค่อยป้องกัน ซึ่งเกิดจากภาวะที่ได้รับความร้อนภายนอกร่างกายของเรามากเกินไป จนส่งผลถึงภายในร่างกาย จนทำให้ภายในระบายความร้อนมาสู่ภายนอกไม่ทันจนร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ยิ่งปล่อยไว้จะส่งผลต่อระบบภายในของร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องมีโอกาสหายถึง 90% เลยทีเดียว แต่ถ้าปล่อยอาการนี้นานเกินกว่าประมาณ 2 ชั่วโมง อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น วันนี้เราเลยมาบอกอาการของโรค และวิธีการป้องกันเบื้องต้น มีดังนี้อาการเบื้องต้นของโรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด อาการขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายด้วย บางรายมีอาการน้อยจนถึงบางรายมีอาการมากขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละผู้ป่วยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมแดดคือ อยู่ในสภาวะขาดน้ำและอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดถ้าหากเป็นแค่เบื้องต้นจะมีอาการดังนี้· มีอาการบวมปลายมือและปลายเท้า· รู้สึกกระหายน้ำมาก ๆ · หน้ามืด หรือเวียนศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียนไม่มีเหงื่อออก แม้อากาศจะร้อนซึ่งอาการนี้ต่างจากอาการเพลียแดดธรรมดาตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆปวดศีรษะ มึนงงหายใจเร็ว เหมือนหอบเหนื่อยหัวใจเต้นแรง อาการสั่นผิดปกติกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดได้· เด็กและผู้สูงอายุ กลุ่มนี้จะมีโอกาสสูญเสียความร้อนได้มากกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งเป็นวัยที่เกิดอาการโรคลมแดดได้ง่าย· กลุ่มคนที่ทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน· ผู้ที่อดนอนหรือผู้ที่ทำงานหนักจนพักผ่อนน้อย· ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากหรือดื่มจัด· ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้นอาชีพที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดได้ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เช่น ก่อสร้าง นักวิ่งมาราธอนหรือกีฬากกลางแจ้ง เป็นต้นพนักงานขับรถส่งอาหารหรือไรเดอร์ เกษตรกร เกษตรกรรมนักกีฬาทหารที่รับการฝึกหรือทหารเกณฑ์วิธีการปฐมพยาบาลโรคฮีทสโตรกเบื้องต้นหากเกิดอาการดังกล่าวให้หลีกเลี่ยงโดนแดดหรือพักในที่ที่ร่ม มีลมพัดและมีอากาศถ่ายเทที่สะดวกให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเยอะ ๆ และรีบลดอุณหภูมิให้ต่ำลงโดยใช้น้ำแข็ง (ในกรณีที่สามารถหาได้)จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นเล็กน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดหากมีอาการอาเจียน ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เพื่อให้อาเจียนออกก่อน แล้วค่อยหันนอนหงายควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้ร่างกายคลายความร้อนได้สะดวกและเร็วขึ้นใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ เช็ดตามตัว บริเวณคอ รักแร้ และหน้าผากโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อนใช้พัดลมหรือพัด ช่วยให้ระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลงโดยเร็วเพื่อไม่ให้เกิดอาการเกร็ง หรือชักกระตุกหากปฐมพยาบาลแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบโทร 1669 เพื่อนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที การป้องกันไม่ให้เกิดโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด1. การดูแลตัวเองในช่วงหน้าร้อนโดยการไม่อยู่กลางแดดนานเกินไป หากอยู่บ้านก็ควรเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก2.จิบน้ำบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ๆ หรือในขณะที่แดดจัด3. หากเป็นผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานท่ามกลางสภาพอากาศแดดแรงจัด อาชีพกลุ่มนี้ต้องดูแลตัวเองพิเศษเพราะต้องทำงานกลางแดดตลอดวัน ต้องมีการพักเป็นระยะ ๆ และไม่ทำให้ตัวเองร้อนจนเกินไป มีการดื่มเป็นระยะเพื่อระบายความร้อนหรือไม่ให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงเกินไป4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการลมแดด คือเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ควรหลบอยู่ที่ร่มไม้และอากาศถ่ายเทที่สะดวก5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอนหรือทำงานหักโหมจนเกินไป เมื่อร่างกายอ่อนแอ อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคฮีทสโตรก หรือลมแดดง่ายขึ้น6. ควรเตรียมน้ำดื่มไว้ หากต้องไปทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ7. พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานให้ครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีรสจัด8. ออกกำลังกาย อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที นอกจากโรคฮีทสโตรกนี้จะเกิดขึ้นกับคนแล้ว ยังเกิดโรคนี้กับสัตว์ด้วย เช่น สุนัข แมว กระต่าย หนูนก ซึ่งสาเหตุของโรคฮีทสโตรกที่เกิดในคนจะมีอาการคล้ายกับโรคฮีทสโตรกในสัตว์ เราควรจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้โดยการดูแลไม่ให้เกิดอาการร้อนจัดหรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานไม่ว่าจะกับคนหรือสัตว์ ที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วหรือดูสัตว์เลี้ยงไม่ให้ขาดน้ำ หากเราป้องกันไม่ให้เกิดโรคไว้แต่เนิ่นๆ เท่านี้เราก็สามารถใช้ชีวิตให้ปลอดภัยได้แล้วครับขอบคุณรูปภาพจาก canva รูปประกอบที่ 1 / รูปภาพประกอบที่ 2 / รูปภาพประกอบ 3by.lnwnook