โทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของหลาย ๆ คนในยุคดิจิทัล ที่รับเอาโทรศัพท์มาเป็นอวัยวะที่ 33 ร่างกาย ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหน ก็มีแต่ผู้คนที่จดจ่อ ก้มหน้าอยู่กับโทรศัพท์มือถือ เพราะโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิตไปแล้วโรคติดโทรศัพท์มือถือ เราสามารถเช็คได้ว่าเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถืออยู่หรือเปล่า ได้ดังนี้1. เกิดความกังวลเมื่อโทรศัพท์มือถือไม่อยู่กับตัว หรือใกล้ตัว2. เกิดความกลัวว่าโทรศัพท์มือถือจะหาย เมื่อโทรศัพท์อยู่ในที่ที่รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย3. เกิดความกังวล และเครียดมาก ๆ เมื่อโทรศัพท์มือถือนั้นแบตเตอรี่ใกล้จะหมด หรือแบตเตอรี่ลดลงเหลือ 80 %4. เมื่อมีข้อความ หรือการแจ้งเตือนที่โทรศัพท์มือถือ จะหยุดทำกิจกรรมที่ทำอยู่โดยทันที และไปสนใจที่โทรศัพท์แทน5. รู้สึกหงุดหงิด หรือไม่สบายใจ เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หรือมีสัญญาณโทรศัพท์เพียงน้อยนิด6. เมื่อตื่นนอนตอนเช้าต้องดูโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างแรก ก่อนที่จะทำกิจวัตรประจำวันอย่างอื่นต่อ7. ต้องชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือเอาไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา หรือใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาที่ชาร์จแบตเตอรี่อยู่8. นำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในห้องน้ำเมื่อทำธุระส่วนตัว9. ใช้การพิมพ์ข้อความคุยกับคนรอบข้างด้วยโทรศัพท์มือถือ มากกว่าการพูดคุยกันต่อหน้าโดยตรง10. ใช้ชีวิตอยู่กับโทรศัพท์มือถือ มากกว่าการทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวผลกระทบของการติดโทรศัพท์มือถือ หรือ Social media1. ทำให้นิ้วล็อค2. ทำให้มีอากรปวดคอ บ่า และไหล่3. ทำให้ปวดหัว ปวดตา และอาจเป็นไมเกรน4. ดวงตาได้รับแสงสีฟ้าที่ออกมาจากจอโทรศัพท์มือถือมากจนเกินไป ทำให้จอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควรวิธีแก้โรคติดโทรศัพท์มือถือ1. สร้างกิจกรรม หรือใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในครอบครัวให้มากขึ้น2. หลังจากช่วงเวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป เมื่อใช้สายตาสมอง และสายตามาทั้งวันแล้ว ควรพักสายตา หรือควรใช้สมองให้น้อยที่สุด เพื่อให้สมองได้พักผ่อน3. ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากกว่าสมอง และไม่ทำให้ตนเองเครียด4. ใช้เวลาพูดคุยกับคนในครอบครัว หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงให้มากที่สุด5. ลดการใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม อย่างเช่น ช่วงเวลาที่รับประทานอาหาร เดิน ขับรถ หรือนั่งรถโดยสารอย่างไรก็ตาม ควรใช้โทรศัพท์มือถือด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวเราเอง และคนรอบข้างนั่นเองขอบคุณเครดิตรูปภาพภาพปก : Janeb13 / pixabayภาพที่ 1 : Free-photos / pixabayภาพที่ 2 : Luisella Planeta Leoni / pixabayภาพที่ 3 : Dean Moriarty / pixabayภาพที่ 4 : Claudia Dewald / pixabayภาพที่ 5 : Free-photos / pixabay