ฝาดสมาน หวานซึมซาบเนื้อ เมาเบื่อแก้พิษ โลหิตดีขมแก้ลมเผ็ดร้อน มันซาบเอ็นเค็มซาบหนัง เปรี้ยวกัดเสมหะ หอมเย็นบำรุงหัวใจ สำหรับใครที่เรียนทางการแพทย์แผนไทย สาขาเภสัชกรรมไทย อาจจะคุ้นเคยกับกลอนบทนี้เป็นอย่างดีแต่อาจแตกต่างสำหรับเทคนิคการจำของแต่ละมหาวิทยาลัยและแต่ละบุคคล วันนี้หมอยาไทยจะมาเล่าเรื่องยารสประธานเพื่อจะเป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ว่าสมุนไพรเป็นยานั้น มีรสชาติอย่างไรบ้างและแต่ละรสนั้นมีสรรพคุณอย่างไร ในการใช้ยารักษาโรคของแพทย์แผนไทยนั้น รสชาติของตัวยาถือเป็นหลักการสำคัญอันดับแรกในการพิจารณาตัวยามาใช้รักษาโรคต่างๆ รสของตัวยามีทั้งหมด 4 , 6 , 8 , 9 รส ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงยาทั้ง 9 รสรสฝาด สรรพคุณ มีฤทธิ์ทางสมาน เช่น สมานบาดแผลทั้งภายในและภายนอก แผลสด แผลเปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด ท้องร่วง แก้อุจจาระธาตุพิการ คุมธาตุ แสลงกับโรคไอ ท้องผูก โรคลม โรคพรรดึก ท้องผูก เตโชธาตุพิการ (ธาตุไฟ) เช่น ใบฝรั่ง เปลือกผลมังคุด สีเสียดเทศ เปลือกทับทิม เบญกานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สาร แทนนิน (tannin) มักมีฤทธิ์ Antidiarrhea , Astringent รสหวาน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเนื้อ เช่น ทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ไอ แก้เสมหะแห้ง แก้หอบ แสลงกับโรค ฟันผุ เสมหะเฟื่อง อาเจียน โรคเบาหวาน น้ำเหลืองเสีย บาดแผล เช่น ชะเอมเทศ ชะเอมไทย น้ำตาลกรวด น้ำตาลทรายแดง หญ้าหวาน อ้อยช้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลกลูโคส)รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน แสลงกับโรค หัวใจพิการ ไอ เช่น สะแกนา สลอด มะเกลือ หัวข้าวเย็น กลอย ขันทองพยาบาท(มะดูก) หนอนตายอยาก ทองพันชั่ง ส่วนใหญ่มีสารในกลุ่มของกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์ ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Antidote , Anticancer, Anthelmentic รสขม สรรพคุณ แก้ในทางโลหิตและดี แก้กำเดา แก้ไข้ต่างๆ เช่น ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แสลงกับโรค หัวใจพิการ โรคลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ เช่น บอระเพ็ด โกฐกะกลิ้ง ยาดำ ฟ้าทะลายโจร ดีบัว ขี้เหล็ก ระย่อม บวบขม กะดอม มีสารในกลุ่มของกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ Antipyretic รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลมจุกเสียด ขับลมให้ผายหรือเรอ บำรุงเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร แสลงกับโรค ไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง เช่น ดีปลี พริกไทย ขมิ้นชัน ขิง ข่า ไพล กระวาน กานพลู อบเชย สะค้าน ตะไคร้ กระชาย มีสารพวกเรซิน , น้ำมันหอมระเหย รสมัน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึบซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะ ให้ความอบอุ่นแก่ ร่างกาย แสลงกับโรค เสมหะพิการ เช่น ไอ หอบ บิด และไข้ต่างๆ ร้อนในกระหายน้ำ เช่น เมล็ดบัว แห้วหมู หัวกระเทียม ผักกะเฉด เมล็ดถั่วเขียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่สาร สารกลุ่ม ไขมัน (Lipid) น้ำมัน (Fixed oil) โปรตีน, กลัยโคไซด์ กลุ่ม saponin และ flavonoid บางชนิด มีฤทธิ์ Tonicรสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำดับพิษร้อน แสลงกับโรค ลมจุกเสียดแน่น ลมป่วง เช่น มะลิ สารภี พิกุล 4. บุนนาค เกสรบัวหลวง เปลือกชะลูด เตยหอม ส่วนใหญ่มีสารกลัยโคไซด์ ในกลุ่ม coumarin, cardiac glycosides ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ Cardiotonicรสเค็ม สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง โรคพรรดึก ถ่ายชำระน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้เสมหะเหนียว แสลงกับโรค อุจจาระธาตุพิการ โรคบิดมูกเลือด กระเพาะอาหารเป็นแผล เช่น เกลือสินเธาว์ ดินประสิว (Sal Peter) เบี้ยจั่น ตานดำ มะเกลือป่า เกลือสมุทร (เกลือแกง salt) เหงือกปลาหมอรสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ แก้เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ แสลงกับโรค น้ำเหลืองเสีย ท้องเสีย และไข้ต่างๆ เช่น ฝักส้มป่อย มะขาม สมอไทย มะขามป้อม มะขามแขก ซึ่งเป็นพืชที่ประกอบด้วยกรดต่าง ๆ (organic acid)ในตำรา เวชศึกษาจัดรสยาเพิ่มอีก 1 รส คือ ยารสจืด ใช้สำหรับ แก้ในทางเตโช ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อน แก้ไข้นั่นแหละค่ะ กล่าวได้ว่าผู้ที่จ่ายยาให้กับคนไข้นั้นต้องจ่ายยาให้ตรงกับโรคของคนไข้ ดังนั้น การรู้รสและสรรพคุณของตัวยานั้นๆถือเป็นหัวใจหลักของการเป็นหมอยาไทยที่ดี หากใครสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติม หรืออยากทราบรายละเอียดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทยที่เว็ป http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=86 ขอขอบคุณข้อมูลดีๆด้วยค่ะ ภาพ: http://www.pikool.com , https://hellokhunmor.com , http://www.slowlife.company , https://health.mthai.com/howto/health-care/21642.html , https://th.nonilo.com , https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/1684836 , http://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=3293 , https://www.springnews.co.th/news/274854 , https://www.pobpad.com/%E0%B9%84%E0%B8%AD