ภาพประกอบปกบทความจาก freepik โรคความดันโลหิตสูงนั้นไม่ใช่โรคไกลตัวแต่อย่างใด เพราะไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่หรือจะรู้สึกว่าตัวเองสุขภาพแข็งแรงสักเพียงไหน คุณก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมรับประทานอาหารเค็ม ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ และยิ่งหากคุณมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนลงพุงก็จะยิ่งเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงได้มากขึ้น ซึ่งคนปกติทั่วไปควรจะมีความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณวัดความดันแล้วพบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท แสดงว่าคุณอาจจะกำลังมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ ภาพจาก freepik และเมื่อได้รับการวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง การรักษาแรกที่จะได้รับก็คือคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมน้ำหนัก ลดเค็ม งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่หากยังไม่ได้ผลก็จะต้องได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตต่อไป ปัจจุบันมียาที่สามารถใช้เพื่อลดความดันได้มากมาย ซึ่งยาแต่ละชนิดจะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคร่วมแตกต่างกันไป และโดยทั่วไปนั้นหากผู้ป่วยมีความดันโลหิตในระดับไม่สูงมาก ก็จะได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันเริ่มต้นเพียง 1 ชนิด แต่หากยังควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทไม่ได้ ก็จำเป็นจะต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อช่วยลดความดันโลหิตต่อไป ซึ่งยาแต่ละตัวที่จะกล่าวถึงนี้จะมีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตได้ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาการข้างเคียงจากยาลดความดันที่พบบ่อย ได้แก่ ภาพจาก freepik - Enalapril (อีนาลาพริล) เป็นยาลดความดันในกลุ่ม ACEIs (Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors) เมื่อรับประทานต่อเนื่องกันอาจทำให้ผู้ใช้บางรายมีอาการไอแห้ง ๆ เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการจะมีแต่อาการไอเท่านั้น จะไม่มีไข้ มีน้ำมูก หรือมีเสมหะร่วมด้วย อาการไอแห้งที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เมื่อหยุดยา และยากลุ่มนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยชะลอภาวะไตเสื่อมหรือไตวายได้อีกด้วย ดังนั้นหากมีอาการไอไม่มากและไม่ได้มีอาการไอถี่ ๆ แนะนำให้ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอค่ะ - Amlodipine (แอมโลดิปีน) เป็นยาลดความดันในกลุ่ม CCBs (Calcium Channel Blockers) การรับประทานยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ ลักษณะคือเมื่อกดที่เท้าจะมีรอยบุ๋มยุบลงไปและคืนตัวกลับมาเป็นผิวหนังปกติได้ช้า หรือบางรายที่มีอาการบวมไม่มากอาจจะรู้สึกคับแน่นเวลาสวมรองเท้า อาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่อันตรายและสามารถยุบลงได้เองแต่หากมีเท้าบวมมากจนส่งผลรบกวนชีวิตประจำวันควรกลับมาพบแพทย์ ซึ่งกอาการเท้าบวมจากยาแอมโลดิปีนนั้นจะสัมพันธ์กับขนาดยาที่รับประทาน การปรับลดขนาดยาให้ต่ำลงอาจช่วยให้อาการเท้าบวมหายไปได้ - Hydrochlorothiazide (ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์) เป็นยาลดความดันในกลุ่มยาขับปัสสาวะ ออกฤทธิ์โดยการขับน้ำออกทางท่อไตออกมาเป็นปัสสาวะ ดังนั้นผู้ที่ใช้ยานี้จึงอาจมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยทั่วไปจะแนะนำให้รับประทานยานี้เฉพาะมื้อเช้าและมื้อเที่ยงเท่านั้น ไม่ควรรับประทานก่อนนอนเพราะอาจทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะจนต้องตื่นขึ้นกลางดึกได้ และหากผู้ป่วยสามารถทนอาการข้างเคียงนี้ได้จะแนะนำให้ใช้ยาต่อ แต่หากมีปัสสาวะบ่อยมากตลอดวันจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรค่ะ ภาพจาก freepik สิ่งสำคัญที่สุดของการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงเป้าหมายสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงก็คือรับประทานยาลดความดันอย่างถูกต้องสม่ำเสมอร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ และเมื่อเกิดอาการข้างเคียงใด ๆ จากยา ผู้ป่วยที่รับประทานยานั้น ๆ อยู่ก็ไม่ควรปรับลดหยุดรับประทานยาเองโดยเด็ดขาด แต่ควรกลับไปพบแพทย์หรือเภสัชกรพร้อมกับแจ้งอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยประเมินต่อไปว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นจากยาลดความดันที่ใช้อยู่หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ซึ่งหากเกิดจากยาก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนการรักษาต่อไปค่ะ อ้างอิงข้อมูลจาก : แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 บทความอื่นเกี่ยวกับสุขภาพจากผู้เขียน - 💊 ไขข้อสงสัย มีไข้ ไอ เจ็บคอ ทำไมคุณหมอไม่จ่ายยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ? - หน้าร้อนต้องระวัง โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ถามหา ! - 💓 โรคโลหิตจาง ไม่จำเป็นต้อง "เสริมธาตุเหล็ก" เสมอไป - 💉 วิธีประเมินความเสี่ยง "โรคเบาหวาน" ด้วยตนเอง - 😲 ไขข้อข้องใจ ทำไมเราถึงมีอาการ “แพ้” ? - 👩⚕️ 3 วิธีป้องกันโรค “มะเร็งตับ” ภัยร้ายคร่าชีวิตที่สามารถป้องกันได้ - 💊 ประเภทความเสี่ยงของยาที่ใช้ใน "หญิงตั้งครรภ์" เรื่องที่ว่าที่คุณแม่ต้องรู้ - 💊 ยาตีกัน (Drug Interactions) หมายถึงอะไรนะ ? - 💊 เลือกยาแก้แพ้แบบ “ง่วง” หรือ “ไม่ง่วง” แบบไหนดีกว่ากันนะ ? - 💊 3 โรคหายได้ ไม่ต้องกิน “ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” - ใช้ "ยาหยอดตา" อย่างไรให้ถูกวิธี - เคล็ด(ไม่)ลับ แก้ปัญหา "ลืมกินยาบ่อย" - "แพ้ยา" เป็นอย่างไร เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องรู้ - ปัญหาการกินยาที่พบบ่อยใน "ผู้สูงอายุ" - จัดการสาเหตุที่ทำให้ "นอนไม่หลับ" ก่อนพึ่งยา - จริงหรือไม่ ? กินยามากไปแล้วทำให้ "ไตวาย" - ควรทำอย่าไรเมื่อ "ลืมกินยา" - "เชื้อดื้อยา" ป้องกันได้ แค่กินยาให้ครบ - {เภสัชขอเล่า} ทำไมยาบางตัวจึงต้องกินหลังอาหาร”ทันที”!