ในการทำงานด้านการก่อสร้างมีความเสี่ยงอะไรบ้าง เราไปดูกันเลยดีกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากที่ทำงานของเรานั้นมีทั้งหมด 6 ประเภทหลักๆ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างมีวิธีการป้องกันคร่าวๆอย่างไร1. Physical hazard คือสิ่งคุกคามหรืออันตรายทางกายภาพ เช่นฝุ่นละอองจากการก่อสร้างก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และโรคทางเดินหายใจ ทั้งระยะสั้นหรือระยะยาวได้ สามารถป้องกันได้โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นมาสวมขณะปฏิบัติงาน และอาจใช้น้ำฉีดดับฝุ่นความดังของเสียงขณะที่ทำงานก่อสร้าง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางหูของผู้ที่ทำงาน เช่น หูตึง ความดันโลหิตสูง ไม่มีสมาธิในการทำงานอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ วิธีการป้องกัน สามารถป้องกันโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง แต่ต้องคำนึงถึงการสื่อสารกันระหว่างการทำงานด้วย 2. Chemical hazard คือสิ่งคุกคามหรืออันตรายทางเคมี เช่นการสูดดมไอระเหยของสารเคมี ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ และอาจจะส่งผลในระยะยาว เช่น การเกิดโรคมะเร็ง สามารถป้องกันได้โดยสวมใส่อุปกรณ์หรือหน้ากากป้องกันไอระเหยของสารเคมี ขณะปฏิบัติงานหรืออาจใช้ตู้ดูดควันการสัมผัสสารเคมีที่มีความเป็นกรดด่าง ทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางผิวหนัง และส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่มีความอ่อนโยน หากสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ วิธีการป้องกันคือการสวมถุงมือป้องกันขณะทำงานและใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท3. Biological hazard คือสิ่งคุกคามหรืออันตรายทางชีวภาพ เช่นการทำงานในที่ที่มีคนจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบคือทำให้ผู้ร่วมงานต้องเสียเวลากักตัว และผู้ติดเชื้อเองก็เสียเวลาในการรักษาพยาบาล วิธีป้องกันคือปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องของการระบาดโควิด-19 อย่างเคร่งครัดการทำงานในปศุสัตว์ทำให้เสี่ยงต่อการติดโรคจากสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค อาจทำให้เกิดโรคไข้หวัดนก หรือ ปอดอักเสบได้ วิธีป้องกันสามารถทำได้โดยสวมชุดที่มิดชิดและสามารถป้องกันเชื้อโรคได้4. Ergonomics hazard คือสิ่งคุกคามหรืออันตรายที่จะเกิดจากด้านสรีระ เช่นออฟฟิตซินโดรม ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เช่น ปวดหลัง ปวดหัวไมเกรน ปวดคอ ไม่มีสมาธิ กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันได้โดยการเปลี่ยนอริยาบถในการทำงานให้บ่อยครั้งSick building syndrome ทำให้เกิดอาการเครียด เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว เป็นต้น วิธีป้องกันคือการออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอกอาคาร5. Work organization hazard คือสิ่งคุกคามหรืออันตรายที่เกิดจากการบริหารจัดการองค์กรเชิงนโยบาย เช่นการทำงานในหน่วยงานที่มีกฏระเบียบเคร่งครัดจนเกินไป ทำให้เกิดความเครียด และทำให้การประสิทธิภาพการทำงานลดลง สามารถแก้ปัญหาได้โดยการออกนโยบายที่พอดี ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป จะช่วยลดความเครียดในการทำงานได้การทำงานในหน่วยงานที่งานหนักเกินไป ไม่มี work-life balance ทำให้เกิดความเครียดในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง วิธีการป้องกันคือการให้ผู้ทำงานได้พักผ่อน และจัดสรรงานไม่ให้หนักจนเกินไป6. Safety hazard คืออันตรายที่เกิดจากความเสี่ยงในการทำงาน เช่นการทำงานในที่สูง เสี่ยงที่จะเกิดการพลัดตกจากที่สูงได้ ซึ่งผลกระทบของความเสี่ยงนี้คืออันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สามารถป้องกันได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ป้องกันในการทำงานความเสี่ยงจากการตกบันไดในที่ทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพของพนักงาน วิธีป้องกันคือสร้างบันไดที่มีราวจับและมีขั้นบันไดที่ไม่ชันเกินไป ไม่ใช่ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายในที่ทำงานจะมีเพียงเท่านี้ ในความเป็นจริงยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่เราทำ วิธีการป้องกันแต่ละอย่างก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งมุมมองของผู้เขียนเองมีความคิดว่าอันตรายต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงได้ โดยการปฏิบัติพื้นฐานทางด้านความปลอดภัย และไม่ประมาท เพราะสำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเรา ไม่ควรจะประมาท ส่วนตัวผู้เขียนเองมีประสบการณ์การใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความเสี่ยงด้านการใช้สารเคมี แต่ก็มีบ้างที่เกิดเหตุการณ์สัมผัสกับสารเคมีแล้วระคายเคือง แต่นั่นก็เป็นเพราะเราประมาทในการทำ และประมาทที่ไม่ใช้ถุงมือในการปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนไม่ประมาทในการทำงานขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ มูลนิธิสัมมาอาชีวะภาพปกทำเองจากเว็บ canva.comภาพที่ 1 โดย mwitt1337 จาก Pixabayภาพที่ 2 โดย analogicus จาก Pixabayภาพที่ 3 โดย borevina จาก Pixabayภาพที่ 4 โดย StartupStockPhotos จาก Pixabayอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !