หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมมีข่าวออกมาตลอดว่า ขับรถปาดหน้ากัน จอดรถหน้าบ้าน หรือบางคนพูดคำบางคำออกมาแล้วทำให้อีกคนต้องตัดสินใจผิดพลาด หลายๆ คนก็เสียเพียงทรัพย์สินจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่หลายๆ คนก็สูญเสียคนที่รักไป และบางคนก็มีคดีติดตัว อารมณ์ของคนเรามีผลต่อพฤติกรรม โดยเฉพาะอารมณ์โกรธและความเครียดอย่างรุนแรงความโกรธเป็นอารมณ์ที่ไปทำให้สมองส่วนอะมิกดาลา (Amygdala) แสดงบทบาทเหนือสมองส่วนที่เป็นเหตุเป็นผล พูดง่ายๆ คือ คนที่กำลังโกรธจะตัดสินใจผิดพลาดโดยใช้เวลาเพียงเสียววินาที (Amygdala hijack) เราจึงมักจะได้ยินคำว่า "อารมณ์ชั่ววูบ " บ่อยครั้งหลังจากเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงเรามักจะได้ยินคนที่โดนอะมิกดาลาเล่นงานจะพูดว่า "รู้เท่าไม่ถึงการณ์" หรืออีกความหมายหนึ่งคือ เรารู้ไม่เท่าทันการทำงานของสมองส่วนอะมิกดาลา จากประสบการณ์ของผู้เขียนนั้นได้พบเห็นผู้คนรวมทั้งข่าวทางทีวีมากมาย ที่คนจำนวนมากตัดสินใจผิดพลาดเนื่องจากการทำงานของสมองส่วนอะมิกดาลา โดยทั้งหมดเริ่มต้นมาจากความโกรธ ที่เราไม่ควรมองข้าม! หลังจากที่ผู้เขียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะมิกดาลาและเห็นตัวอย่างของผลเสียจากการที่รู้ไม่เท่าทันการทำงานของอะมิกดาลาแล้วผู้เขียนมานั่งคิดว่าเราจะทำไงดีไม่ให้อะมิกดาลาอยู่เหนือเรา เพราะมันน่ากลัวมากหากเราปล่อยให้อะมิกดาลานำทางในการตัดสินใจของเราทั้งชีวิต จนได้ค้นข้อมูลและนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการควบคุมอารมณ์ของผู้เขียนในชีวิตประจำวัน และโดยส่วนใหญ่จะได้ผล ก็มีบ้างที่เผลอเริ่มโกรธแต่ก็พยายามเรียนรู้และควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และผ่อนคลายความเครียดให้มากที่สุดที่จะทำได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้1. พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การมีอารมณ์โกรธ โดยผู้เขียนจะเลือกใช้การเดินหนีไปจากเหตุการณ์หนึ่ง หรือไม่โต้ตอบและเปลี่ยนความสนใจไปในสิ่งอื่นแทน 2. ทำงานอดิเรก โดยผู้เขียนมีงานอดิเรกหลายอย่างให้สนใจ เช่น การทำสวน การอ่านหนังสือ การฟังเพลง การทำงานศิลปะเล็กๆ น้อยๆ พอผู้เขียนได้ทำงานอดิเรกแล้ว หลายครั้งจะทำให้ลืมเหตุการณ์ที่จะทำให้เราโกรธหรือเครียด ในบางครั้งถึงแม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่พอเราทำตัวเองให้ยุ่งกับงานอดิเรกเลยกลายเป็นว่าไม่เครียดไปอัตโนมัติ3. เตือนตัวเองตลอดเวลาถึงผลเสียของความโกรธจากการทำงานของอะมิกดาลา ผู้เขียนจะใช้วิธีนี้เป็นส่วนมาก เพราะมีตัวอย่างเยอะแยะมากมายของคนที่ตัดสินใจจากการทำงานของอะมิกดาลาให้เห็น ผู้เขียนจึงมักจะบอกตัวเองเสมอในขณะที่จะเริ่มโกรธว่า " เจ้าอะมิกดาลาแกทำอะไรฉันไม่ได้หรอก" พอพูดแบบนี้ทำให้ผู้เขียนมีสติมากครั้งและเริ่มสงบปรับอารมณ์ของตัวเองได้4. สนใจที่เป้าหมายในการพัฒนาตัวเองทุกวัน การที่เราสนใจพัฒนาตัวเราเองทุกวันทำให้เครียดน้อยลง เนื่องจากในบางครั้งเรามักจะคาดหวังว่าให้คนนั้นเป็นแบบนั้นแบบนี้และอยากจะไปเปลี่ยนเขา ซึ่งหลายครั้งมักจะตามมาด้วยความเครียดและความโกรธ โดยเฉพาะถ้าอีกคนไม่ทำตามอย่างที่เราแนะนำหรือคาดหวังไว้ ในช่วงสองสามปีให้หลังมาผู้เขียนจะมาสนใจที่การเปลี่ยนที่ตัวผู้เขียนเป็นหลัก ทำง่าย เครียดน้อยลงและลดสถานการณ์ที่จะทำให้เราโกรธได้ค่ะ5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จากที่ผู้เขียนได้ลองสังเกตดูนั้น การออกกำลังกายสามารถลดความเครียดลงได้ และยิ่งถ้าไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะจะทำให้เราได้ใช้เวลาท่ามกลางธรรมชาติ สูดอากาศที่บริสุทธิ์ ผู้เขียนรับรู้ได้ถึงอาการที่ร่างกายมีการผ่อนคลายหลังจากการออกกำลังกายเลยค่ะ 6. ถ้ามีโอกาสผู้เขียนจะใช้เวลาอยู่กับเด็ก เพราะเด็กจะทำให้เราหัวเราะและเพลิน ตัวเด็กเองก็มีมุมที่น่ารักๆ ทำให้เราสนุกสนานไปด้วย เลยทำให้ผู้เขียนไม่คิดถึงเหตุการณ์ที่จะทำให้เราโกรธ เด็กๆ ยังช่วยทำให้เราได้มีความคิดสร้างสรรค์ในระหว่างใช้เวลากับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นจะเล่นของเล่นอะไรกันดี เป็นต้น อยู่กับเด็กไม่ค่อยมีเหตุการณ์ให้เครียดหรือโกรธค่ะ7. คิดบวกมากขึ้น ผู้เขียนจะเลือกตีความหมายของเหตุการณ์หนึ่งในเชิงบวกมากขึ้น มองจากอีกมุม แสดงความคิดเห็นในเชิงบวก ขลุกคลีกับคนที่มีความคิดบวกมากขึ้น 8. พยามหลีกเลี่ยงการใช้เวลากับคนที่มักมีความเครียดง่ายและโกรธง่าย ผู้เขียนพบว่าการที่เราไปใช้เวลากับคนโกรธง่าย มักจะทำให้เราเป็นแบบเดียวกันกับเขา ดังนั้นผู้เขียนพยามจะไม่ไปใช้เวลากับคนที่โกรธง่ายหรือใช้เวลาให้น้อยที่สุดยังมีวิธีการอีกมากมายที่ทำให้เราไม่เป็นคนโกรธง่าย สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ มีความเครียดน้อยลง ซึ่งในทุกๆ วันผู้เขียนก็จะปรับใช้วิธีข้างต้น บางวิธีก็ทำได้มากแต่บางวิธีก็ทำได้น้อย แต่หนึ่งในทุกวิธีที่ผู้เขียนจะไม่ลืมประยุกต์ใช้เลย คือ การเตือนตัวเองถึงผลเสียของความโกรธและความเครียดที่มีผลต่อการตัดสินใจ และในทุกๆ วันก็ยังเรียนรู้ที่จะปรับอารมณ์ของตัวเอง เพื่อลดความโกรธและลดความเครียดลงค่ะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:▪️อ้างอิง 1: Amygdala hijack▪️อ้างอิง 2: Anger management เครดิตภาพปกโดยผู้เขียน จาก yogendras31/pixabay ออกแบบจาก canvaเครดิตภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน จาก ภาพที่ 1: hainguyenrp/pixabay, ภาพที่ 2: QuinceCreative/pixabay, ภาพที่ 3: StockSnap/pixabay, ภาพที่ 4: 2081671/pixabayบทความอื่นที่น่าสนใจ▪️▶️ การคิดบวกดียังไง ทำไมถึงสำคัญ!▪️▶️ เลี้ยงลูกยังไงให้ฉลาด เด็กฉลาดได้จากการเล่น ▪️▶️ หลักคิดจาก Dr. Yuyal Noah harari 7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์