จากประสบการณ์ของนักเขียน เมื่อนักเขียนตั้งครรภ์ก็ได้เตรียมตัวศึกษาหาข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงานที่เป็นคุณแม่ที่นักเขียนรู้จักส่วนใหญ่ก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 100 % เลยมีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกัน ได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องปั๊มนม เพราะนักเขียนลาคลอดได้ 3 เดือน และลูกอยู่กับคุณยายที่ต่างจังหวัด จึงต้องสต็อคนมเก็บไว้ให้ เครื่องปั๊มนมมี 3 แบบ 1. เครื่องปั๊มนมแบบมือ หรือแบบลูกยาง ใช้งานง่าย พกพาสะดวก ราคาไม่แพง ราคาประมาณ 100 – 200 บาท 2. เครื่องปั๊มแบบโยก นวดง่าย สบายมือ พกพาสะดวก ราคาประหยัด ราคา 200 - 600 บาท 3. เครื่องปั๊มแบบไฟฟ้า ที่นักเขียนซื้อมาใช้ ยี่ห้อยูฮาพลัส แบบ 2 เต้า เครื่องเบา พกพาได้ง่าย มีประกัน ราคา 2,000 - 4,000 บาท แล้วแต่เลือกอายุระยะเวลารับประกัน ลูกชายของนักเขียนทั้ง 2 คน เป็นเด็กนมแม่ 100% ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 1 ขวบ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่บางคนบอกว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ สามารถทำได้ แต่แม่บางคนก็บอกว่ายุ่งยาก ต้องทำงานนอกบ้านอีก แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่นักเขียนมองว่าไม่ยุ่งยากเลยค่ะ ต้องมีความตั้งใจและความมุ่งมั่น มีวินัยกับตัวเอง ซี่งตอนที่นักเขียนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น นักเขียนก็ทำงานนอกบ้านเช่นกัน อาศัยการปั๊มนมเก็บสต็อคนม โดยในช่วง 3 เดือนแรกที่ลาคลอดมีนมสต็อคเต็มตู้แช่เลยค่ะ นักเขียนโชคดีที่มีน้ำนมเยอะ แต่ก่อนที่จะมีน้ำนมเยอะนั้นก็ต้องมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสที่ 3 ต้องบำรุงด้วยอาหารการกินของคุณแม่ตั้งครรภ์ ทานขาหมู แกงเลียง น้ำขิง น้ำอินทผาลัม ตั้งแต่ยังไม่คลอด และเมื่อคลอดน้ำนมก็เริ่มไหล แต่ยังไหลไม่เยอะ ต้องมีการกระตุ้นด้วยการให้ลูกดูด หากลูกหลับก็ใช้เครื่องปั๊มนมดูดเพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่อง นักเขียนคลอดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณหมอ พยาบาลทุกคนต่างให้ความสำคัญและคอยแวะเวียนมาดูอย่างใกล้ชิด สอนท่านอนให้นม ท่านั่งให้นม สอนการนวดเต้า นักเขียนได้รับความรู้จากพี่ ๆ พยาบาลหลายเรื่องเลยค่ะ นักเขียนได้ซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าไว้แล้ว จัดเตรียมก่อนจะไปคลอด และหลังจากออกจากโรงพยาบาลก็ได้ใช้งานการปั๊มนมไฟฟ้าช่วยให้น้ำนมไหลออกดี แต่คุณแม่ต้องมีวินัยด้วยนะคะ ต้องปั๊มนมทุก ๆ 3 ชั่วโมง ถ้าถึงรอบแล้วลูกดูดเต้าอยู่ก็ให้ลูกดูดจนอิ่ม หากดูดนิดหน่อยยังไม่เกลี้ยงเต้าก็ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าปั๊มสต็อคไว้ เพื่อรอบใหม่น้ำนมจะผลิตมาตามที่เราต้องการ เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าข้อดีคือ การตั้งเวลาได้ ร่างกายเราจะผลิตน้ำนมตามที่เรากำหนด นักเขียนปั๊มนมตรงตามเวลาทุกรอบตามกำหนด เดือนแรกน้ำนมเต็มช่องฟิตตู้เย็น และเดือนที่ 2 นักเขียนได้ซื้อตู้แช่นมเพื่อแช่เสบียงนมให้ลูกน้อยจนครบ 1 ปี การเก็บน้ำนม อายุและวิธีการเก็บน้ำนม สถานที่เก็บ อุณหภูมิ ระยะเวลาเก็บ วางไว้ในห้อง 25 องศาสเซลเซียส 4 - 6 ชั่วโมง วางไว้ในห้อง 19 - 22 องศาสเซลเซียส 10 ชั่วโมง ใส่กระติกน้ำแข็ง 15 องศาสเซลเซียส 24 ชั่วโมง แช่ตู้เย็นช่องปกติ 0 - 4 องศาสเซลเซียส 8 วัน แช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว อุณภูมิไม่คงที่ 2 สัปดาห์ แช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นสองประตู -4 องศาสเซลเซียส 4 – 6 เดือน ช่องแช่แข็งเย็นจัด (ตู้แช่แข็ง) -19 องศาสเซลเซียส 6 – 12 เดือน หรือมากกว่านั้น ช่องฟิตตู้เย็นต้องสะอาดและไม่แช่อาหารทุกชนิดเพราะถ้ามีอาหารแช่ร่วมจะทำให้น้ำนมมีกลิ่นคาวอาหารที่แช่ ลูกจะไม่กินนมแม่ ตู้แช่แข็ง เปลืองไฟแต่ก็คุ้มนะคะ เสบียงน้ำนมเก็บไว้ทานได้เป็นปี น้ำนมระยะที่ 1 สร้างขึ้นช่วงหลังคลอด 1 - 3 วันเท่านั้น มีสีเหลืองข้นเหมือนน้ำนมข้าวโพดเลยค่ะ เป็นน้ำนมที่ดีที่สุด และมีภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับลูกน้อย ระยะที่ 2 น้ำนมระยะ 4 - 14 วัน น้ำนมจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ระยะที่ 3 น้ำนมระยะ 15 วัน หลังคลอดเป็นต้นไป จะมีสีขาว หรือเรียกกันว่า น้ำนมขาว นมแม่ดีที่สุด นมแม่ คือ อาหารที่ดีและวิเศษที่สุดของลูกน้อย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เพียงแต่ทำให้ลูกน้อยอิ่มท้อง ยังสร้างความเจริญเติบโตด้าน ร่างกายของลูกน้อย ในช่วง 6 เดือแรกที่ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ลูกจะไม่ขาดน้ำไม่ขาดอาหารอย่างแน่นอน นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด โดยมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ อย่างครบถ้วน นมยังเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ดีให้แก่ลูกน้อย จะเห็นได้ว่าเด็กกินนมแม่บางคนไม่ค่อยป่วยเพราะได้รับภูมิต้านทานจากนมแม่นั่นเอง นมแม่ยังช่วยเรื่องพัฒนาการด้านสมอง สติปัญญา เมื่อผู้อ่านได้ทราบถึงคุณค่าของน้ำนมแม่แล้วก็ควรสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันนะคะ ภาพประกอบ : นักเขียน