ในอดีตถ้าพูดถึงการรักษามะเร็งคนส่วนมากจะนึกถึงการใช้ยาเคมีบำบัด(คีโม) หรือการผ่าตัดเซลล์มะเร็ง แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าก็ได้มีการนำรังสีมาใช้ประโยชน์มากมาย หนึ่งในนั้นคือการนำมาใช้ในการรักษาโรค หรือที่เรียกว่า รังสีรักษา(Radiation therapy) บทความนี้ผู้เขียนจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับการฉายรังสีว่าคืออะไร มีประโยชน์การนำไปใช้อย่างไรและแนวโน้มในอนาคตเป็นยังไง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ๆของผู้ป่วย สามารถติดตามได้ในบทความนี้เลยการฉายรังสีคืออะไร? พูดง่ายๆการฉายรังสี หรือการฉายแสง คือการใช้เลเซอร์รังสียิงไปที่จุดที่ต้องการรักษา ในปัจจุบันวิธีนี้อาจไม่แพร่หลายเท่ากับวิธีอื่นๆ ในการรักษาโรคมะเร็งเท่าไหร่นัก เนื่องจากการสร้างเลเซอร์รังสีนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือพิเศษเพื่อให้รังสีมีความแข็งแรงพอในการรักษา ซึ่งในประเทศไทยมีเจ้าเครื่องนี้อยู่น้อยมากๆ ดังนั้นคนทั่วไปจึงจะไม่ค่อยคุ้นชินกับการใช้รังสีรักษา แต่จะไปคุ้นชินกับการใช้รังสีเอ็กซ์ถ่ายภาพมากกว่านั่นเอง รังสีสามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร? เนื่องจากเป็นการใช้รังสีที่มีความแข็งแรงยิงไปที่เซลล์มะเร็ง ส่งผลให้รังสีไปทำลายดีเอ็นเอ(DNA)ของเซลล์ ทำให้เซลล์มะเร็งตายในที่สุด ขณะที่เซลล์รอบข้างจะได้รับผลกระทบน้อยมากๆ ซึ่งรังสีที่ฉายจะต้องมีปริมาณ และระยะเวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ขนาด ระยะ และชนิดของมะเร็งรังสีรักษามีผลข้างเคียงมากน้อยขนาดไหน? ในเรื่องผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่เกิดขึ้นจะเกิดเฉพาะที่ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับรังสี เช่นหากฉายบริเวณศีรษะก็อาจมีอาการผมร่วง และอาจมีอาการคันที่ผิวหนังเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการอ่อนเพลียเหมือนเวลาเรากินยาปกติแนวโน้มการใช้งานรังสีเพื่อการรักษาในประเทศไทย จากความคิดของผู้เขียนคาดว่าในอนาคต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะช่วยปรับปรุงการรักษาด้วยรังสี ทำให้สามารถรักษามะเร็งได้แม่นยำ และตรงตามความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ยังพัฒนาการใช้รังสีถ่ายภาพให้มีความชัดเจนขึ้นไปอีก เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้ดีมากขึ้น และเมื่อความเข้าใจในโรคมะเร็งมีมากขึ้น การรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับรังสีรักษาที่ผู้เขียนคัดมาเพิ่มเติมที่หลายท่านอาจจะไม่รู้มาก่อนเลยก็คือนอกจากการฉายรังสีแล้ว ยังมีการฝั่งแร่ที่สามารถรักษามะเร็งได้เหมือนกัน เช่นมะเร็งต่อมลูกหมากโดยการนำสารรังสีฝังไว้ข้างๆก้อนมะเร็ง นอกจากนี้ก่อนการฉายรังสีจะมีนักฟิสิกส์การแพทย์ซึ่งเป็นผู้ทำงานร่วมกับแพทย์รังสีรักษาโดยตรงเพื่อช่วยในการวางแผนการรักษา นอกจากนี้ยังเป็นผู้คำนวณและร่วมออกแบบการรักษาด้วยรังสีให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคนอีกด้วยนั่นเอง ขอขอบคุณภาพจาก:ภาพหน้าปกโดยผู้เขียนภาพที่ 1 จาก : freepik / freepikภาพที่ 2 จาก : kjpargeter / freepikภาพที่ 3 จาก : catalyststuff / freepikภาพที่ 4 จาก : freepik / freepikส่องที่เที่ยว พิกัดลับห้ามพลาด มุมถ่ายรูปสวยที่ทรูไอดีคอมมูนิตี้