ลูกตัวเหลืองกี่วันหาย อันตรายไหม เกิดจากอะไร ส่องไฟกี่วันลูกตัวเหลืองเป็นปัญหาที่คุณแม่หลายคนกลุ้มใจ เพราะคิดว่าลูกตัวเองจะมีปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงตามมา ขนาดพยาบาลให้ข้อมูลไปแม่หลายคนก็ยังมองภาพไม่ออก เพราะด้วยความที่ว่าเป็นห่วงลูกน้อย แต่ลูกตัวเหลืองเป็นเพียงปัญหาๆ หนึ่งที่สามารถแก้ไขได้ค่ะ เพราะผู้เขียนได้มีประสบการณ์มาก่อนแล้ว ถึงจะไม่ใช่ลูกตัวเองแต่เป็นลูกของน้องสาวและผู้เขียนได้เห็นเหตุการณ์มาตลอดตั้งแต่วันคลอด จนวันไปรักษาตัวเหลืองและวันไปตรวจตามนัด แล้วก็ยังได้เห็นหลานที่ตอนคลอดมีปัญหาตัวเหลืองเติบโตมา และได้เห็นพัฒนาการจนถึงวัยปฐมวัยค่ะจึงมาอยากมาส่งต่อข้อมูลเอาไว้ในบทความนี้ เผื่อว่าจะทำให้คุณแม่ที่มีลูกตัวเหลืองมองภาพออกมากขึ้น ช่วยลดความวิตกกังวลและมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวภาวะตัวเหลืองหลังคลอดของลูกค่ะ อีกทั้งข้อมูลในบทความนี้ยังสามารถเป็นตัวอย่างได้ด้วยว่า ลูกตัวเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ และจริงๆ แล้วเราในฐานะคนเป็นแม่ต้องทำอะไรในช่วงนี้จริงๆ ที่สามารถช่วยให้ภาวะตัวเหลืองในลูกดีขึ้นค่ะ ดังนั้นต้องอ่านต่อให้จบค่ะเพราะนี่คือข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ตรงเลย งั้นอ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะก่อนจะไปยาวๆ ต้องบอกก่อนนะคะว่ารูปเด็กในภาพหน้าปกคือรูปของหลานของผู้เขียนเอง ชื่อน้องภูค่ะ เพราะหลายคนอาจคิดว่าเป็นรูปเด็กที่โรงพยาบาลจากแม่คนอื่น และภาพๆ นี้ผู้เขียนเป็นคนถ่ายภาพด้วยตัวเองกับมือค่ะ และเนื้อหาต่อไปนี้คือข้อมูลจากประสบการณ์ตรง หลังจากที่น้องสาวของผู้เขียนได้คลอดลูกด้วยวิธีคลอดเองตามธรรมชาติที่โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ คลอดมาน้องภูหนัก 3,500 กรัม เพศชายค่ะ ในวันแรกนั้นน้องภูมาอยู่ตึกหลังคลอดกับแม่ตามปกติค่ะ และดูดนมแม่ได้แต่ยังไม่มาก ประกอบกับตัวแม่มีน้ำนมน้อย ในระหว่างนั้นทางโรงพยาบาลมีนมเสริมให้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ญาติคือคนที่ทำหน้าที่ไปหยิบนมมาให้น้องภู ในช่วงนั้นน้องภูก็ดูเหมือนจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ขับถ่ายและปัสสาวะปกติ แต่พอนำเลือดไปตรวจกลับพบว่าน้องภูมีค่าบิริลูบินเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็นสำหรับเด็กแรกเกิด ซึ่งสถานการณ์นี้ไม่ได้เกี่ยวกับสถานที่คลอด หมอหรือพยาบาลที่ทำคลอดนะคะ ซึ่งคุณแม่หรือญาติต้องเข้าใจจุดนี้ก่อน เพราะต่อให้ไปคลอดที่โรงพยาบาลที่ใหญ่กว่าถ้าเด็กจะมีภาวะตัวเหลือง ยังไงก็เจออยู่วันยังค่ำค่ะภาวะตัวเหลืองในเด็กน้อยแรกเกิดนี้เกิดจากที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถขับสารเหลืองออกได้ สารเหลืองในางการแพทย์เราเรียกว่า "บิลิรูบิน" และที่เด็กกำจัดออกได้ไม่มีพอส่วนหนึ่งเกิดจากที่ตับในร่างกายของเด็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ค่ะ ประกอบกับสารเหลืองไม่ได้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับออกได้ง่าย จึงทำให้มีสารเหลืองตกค้างอยู่ในร่างกาย การสะสมของสารเหลืองที่น่ากลัวที่สุดคือการสะสมที่สมอง และมักเป็นปัจจัยชักนำทำให้มีสติปัญญาลดลงมากกว่าคนปกติ นั่นคือสรุปคร่าวๆ เกี่ยวกับภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกคลอดนะคะ และน้องภูมีค่าสารเหลืองเกินซึ่งเป็นวันที่แม่ของน้องก็สุขภาพดีขึ้นและสามารถออกจากโรงพยาบาลได้แต่น้องภูต้องรักษาตัวต่อ และนี่เองคือจุดที่ทำให้แม่หลายคนคิดมากค่ะ เพราะตัวเองดีกลับบ้านได้แต่ลูกต้องนอนโรงพยาบาล และถึงแม้ว่าน้องภูนอนโรงพยาบาลก็จริงแต่ยังอยู่ในความดูแลของทีมหมอและพยาบาลในการรักษาค่ะ โดยน้องภูได้รับการส่องไฟค่ะถ้าจำไม่ผิดประมาณ 5 วันทำการ แต่เด็กคนอื่นอาจมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ โดยในระหว่างนั้นทางโรงพยาบาลก็จะเจาะเลือดไปตรวจดูค่าบิลิรูบินด้วยถ้าปกติก็กลับบ้านได้ค่ะ ซึ่งหลังจากส่องไฟแล้วน้องภูก็ดีขึ้นแล้วก็กลับมาบ้านได้ค่ะในระหว่างส่องไฟแม่ของน้องภูต้องไปอาบน้ำให้ช่วงก่อนเที่ยง ไปให้นม ต้องจ่ายค่าผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตอนกลับมาบ้านต้องปั๊มนมใส่ขวดแช่ไว้และพอไปหาลูกก็นำนมไปให้โรงพยาบาลค่ะ และนมส่วนนี้พยาบาลได้นำมาให้น้องภูเสริมกับนมทางโรงพยาบาล ทำแบบนี้ทุกวันจนน้องออกจากโรงพยาบาลค่ะ ซึ่งการส่องไฟนั้นก็ใช้หลอดไฟให้แสงสว่างตามบ้านเรานี่ละคะแต่ใช้หลอดสั้น แสงไฟที่ส่องลงไปที่ผิวหนังมีผลไปทำให้สารเหลืองเปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปที่สามารถขับออกจากร่างกายได้ โดยสารเหลืองที่ขับออกมาถูกกำจัดผ่านอุจจาระและปัสสาวะของเด็กค่ะ ดังนั้นเด็กจะถูกกระตุ้นให้ดื่มนมมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการกำจัดของเสียค่ะ และเด็กต้องอยู่ภายใต้หลอดไฟตลอด เด็กจะได้รับการปิดตาทั้งสองข้างเพราะเแสงไฟสามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้ตาบอดได้ และเด็กใส่เพียงผ้าอ้อมเพื่อเปิดให้ผิวหน้งสัมผัสกับแสงไฟให้มากที่สุดค่ะและพอน้องภูกลับมาบ้านผู้เขียนได้พาน้องเดินเล่นตากแดดอ่อนๆ ยามเช้าและบ่ายแก่ๆ ช่วงแดดอุ่นๆ และนี่คืออีกแนวทางหนึ่งเพื่อเปลี่ยนรูปสารเหลืองให้ง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกายค่ะ กระตุ้นให้แม่ให้นมน้องภูมากขึ้น การรักษาภาวะสารเหลืองนี้ไม่มียานะคะ เราอาศัยกลไกการเปลี่ยนรูปของสารเหลืองเป็นหลักและดูดนมมากขึ้นเพื่อให้ขับถ่ายและปัสสาวะมากขึ้น จากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์น่าจะได้ น้องภูไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลโนนดินแดง ก็พบว่าค่าบิริลูบินอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ และคำว่าปกตินี้ตัวเลขจะไม่ใช่ศูนย์นะคะ แต่เป็นค่าที่ปลอดภัยต่อร่างกายเด็ก และเมื่อเด็กกลับมาบ้าน ได้ดูดนมและร่างกายพัฒนาเจริญเติบโตดีขึ้นกระบวนการกำจัดสารเหลืองก็ทำได้สมบูรณ์ขึ้น ก็ไม่มีอะไรน่าห่วงแล้วค่ะจากที่ผู้เขียนได้สังเกตมานั้นน้องภูมีพัฒนาตามวัยปกติ ถึงเวลาตั้งไข่ก็ตั้งไข่ ถึงเวลานั่งก็นั่ง ถึงเวลาเดินก็เดิน สามารถนับ 1-10 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กใกล้บ้าน เล่นและทำกิจกรรมอื่นๆ ได้เหมือนเด็กทั่วไป แสดงสีหน้าท่าทางและอารมณ์ต่างๆ ได้เหมือนเด็กทั่วไปค่ะ จำได้หมดใครพ่อ แม่ พี่ ขนาดผู้เขียนไม่เจอหน้าน้องภู 2 เดือนน้องยังจำได้ค่ะ ทานข้าวได้มากช่วงเริ่มป้อนข้าวตอน 6 เดือน ร่างกายแข็งแรงมากค่ะ กล้ามเนื้อขาและแขนใหญ่มาก กล้ามเนื้อมัดเล็กต่างๆ มีพัฒนาการที่ดี ไปฉีดวัคซีนที่สถานีอนามัยใกล้บ้านเด็กมา 10 คน น้องภูตัวโตสุดค่ะ เสื้อผ้าเปลี่ยนใหม่เร็วมาก น้องภูสุขภาพแข็งแรงดีค่ะและจากที่ผู้เขียนได้เห็นเด็กตัวเหลืองมาบ้างนั้น ยังไม่เคยเจอคนที่แก้ไขไม่ได้ค่ะ เพียงแต่ว่าใครจะใช้เวลามากน้อยต่างกันเท่านั้นเอง โดยเฉพาะในช่วงส่องไฟ อีกอย่างที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือการดูแลสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ เพราะมีผลทำให้เด็กร่างกายแข็งแรงต่างกัน จึงควรให้ความสำคัญในช่วงท้องเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทานมากจนเด็กตัวโตนะคะ เพราะถ้าเด็กหนัก 4,000 กรัม คลอดเองจะยากมากและหมอมักหมายหัวว่าเด็กอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และบางคนหนัก 3,500 กรัมแต่ก็ไม่เหลืองนะคะ หลานอีกคนก็เหลืองค่ะแต่ไม่ได้หนัก 3,500 กรัม และที่ผู้เขียนเคยเจอมาที่มีตัวเหลืองก็มีน้ำหนักแตกต่างกัน ก็จะเหมือนผู้ใหญ่เราค่ะหนักเท่ากันแต่บางคนสุขภาพดีแต่อีกคนสามวันดีสี่วันไข้ ดังนั้นบอกไม่ได้เลยค่ะแต่คนเป็นแม่สามารถช่วยลดภาวะตัวเหลืองในลูกได้ ด้วยการหันมาใส่ใจด้านสุขภาพมากขึ้นช่วงท้องค่ะและอีกอย่างที่ผู้เขียนเจอมาคือคนเป็นแม่จะคิดมากกว่าปกติค่ะ ก็ใช่อยู่ว่าคนอื่นอาจไม่ได้รู้สึกแบบเรา แต่อย่าลืมว่าถ้าเราป่วยน้ำนมก็อาจออกน้อย ไหนจะต้องดูแลเรื่องแผลฝีเย็บอีก ดังนั้นอยากให้คุณแม่ลองอ่านทำความเข้าใจดีๆ หรือถามข้อมูลกับหมอและพยาบาลที่จำเป็นไปเลยเพื่อทำให้ตัวเองมองเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น เพราะหลายครั้งเวลาเราคิดเยอะมักเป็นเพราะเราไม่รู้ค่ะ และภาวะตัวเหลืองในเด็กมีรูปแบบการรักษาที่ชัดเจนอยู่แล้ว หมอก็ทำส่วนของหมอ พยาบาลก็ทำในสิ่งที่ต้องทำ และเราคนเป็นแม่ก็ต้องทำในส่วนที่ต้วเองเกี่ยวข้องค่ะ จึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านและทำให้มองเห็นภาพมากขึ้น และถ้าชอบบทความแบบนี้อีกอย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😄👌เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดย ผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canva https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A1-trueidintrend_283919 https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B2-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99-trueidintrend_308481 https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89-trueidintrend_324660 ตามหาของอร่อย เมนูสุขภาพได้ที่แอป TRUEID โหลดฟรี !