อาการนอนไม่หลับของเราเริ่มเกิดขึ้นเมื่อตอนเรียนมหาวิทยาลัยปีที่สอง ขอเรียกว่าอาการนอนไม่หลับ เพราะอาการที่เป็นยังสามารถหาวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเองไม่ถึงกับต้องเรียกว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องพบแพทย์หรือพึ่งยา เด็กมหาวิทยาลัยหรือคนวัยทำงาน เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยมีอาการนอนไม่หลับเหมือนกับเรา เรียกได้ว่าพออายุมากขึ้น บทบาทความสำคัญของการนอนหลับยิ่งถูกลดทอนให้น้อยลงสวนทางกับอายุที่มากขึ้นนั่นเอง ขอบคุณภาพจาก : Andrea Cannata จาก Pixabay เข้าถึงจาก https://pixabay.com/th/illustrations/%E0%B8%99%E0 อาการนอนไม่หลับของเรานั้นเริ่มมาจากพฤติกรรมที่ ‘ไม่เห็นความสำคัญของการนอนให้ตรงเวลา’ โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ละเลยเวลานอน พอเลยเวลาพักผ่อนที่เคยนอนหลับเป็นประจำ ช่วงแรก ๆ เราก็มีอาการง่วงซึมใกล้จะหลับ แต่เพราะความห่วงเล่นโทรศัพท์ถือเป็นหายนะอย่างแท้จริง ร่างกายเราค่อย ๆ ปรับตัวได้เอง พอไม่ยอมหลับพักผ่อนในเวลาที่รู้สึกง่วง กลับเลือกฝืนความง่วงจนกระทั่งไม่รู้สึกอยากหลับอีกต่อไป ทำเช่นนี้ทุกวันจนร่างกายเคยชิน จากนั้นมา เราก็มีอาการนอนไม่หลับอีกเลยจนเริ่มส่งผลกระทบกับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน ยิ่งช่วงสอบ ข้อดีของการมีอาการนอนไม่หลับคือสามารถทำให้เรานั่งท่องหนังสือได้ทั้งคืนจนไม่นอนพักผ่อนเลยจนกระทั่งเช้าของวันสอบ ช่วงแรก ๆ เราไม่พบปัญหานอกจากความอ่อนเพลีย คิดว่าชดเชยเวลานอนเป็นเวลากลางวันก็คงไม่เป็นไร แต่เมื่อเป็นเช่นนี้นานเข้ายิ่งส่งผลต่อเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน จากการนอนไม่หลับในเวลากลางคืนเริ่มทำให้สายตาเราพร่าเลือนมาก ๆ ในเวลากลางวัน เรื่องความจำก็แย่ลง เราถึงขนาดนึกข้อความในหนังสือไม่ออกทั้ง ๆ ที่ท่องจำมาเป็นอย่างดีในห้องสอบ มีอาการง่วงซึมทั้งวันจนทนไม่ไหว เมื่อมีเวลาว่างก็จะหลับกลางวัน ส่วนช่วงกลางคืนแม้พยายามหลับพักผ่อนแค่ไหน สุดท้ายหลับได้แค่หนึ่งถึงสองชั่วโมงก็จะตื่นขึ้นมาและหลับไม่ได้จนกระทั่งถึงเช้า เรื่องแย่และน่าอายที่สุดคือเราเบลอจนหกล้มในห้องเรียนต่อหน้าเพื่อน ๆ และอาจารย์ รวมถึงเคยหลับลึกหลังจากที่นอนไม่หลับมาหลายวันจนไม่ได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกและเข้าสอบเกือบสาย เลยเริ่มกลับมาตระหนักได้ว่า...เฮ้ย! เราจะเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว! เมื่อทุกอย่างมีแนวโน้มที่แย่ลงเราจึงเริ่มหวาดกลัวปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่ตามมา จนมีความคิดที่จะไปพบแพทย์ ด้วยความที่ยังไม่ค่อยมีเวลาจึงเลือกที่จะลองด้วยตนเองก่อน อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่เราเข้ามาค้นหาวิธี พบข้อมูลการรักษาที่น่าสนใจ เราจึงค่อย ๆ รักษาตัวเองดังขั้นตอนต่อไปนี้1. สำรวจพฤติกรรมตนเอง พบว่ามีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับดังนี้ - ติดโทรศัพท์- ชอบนอนพักผ่อนไม่เป็นเวลา- นอนดึกจนเคยชิน- มีเรื่องเครียดหรือเรื่องตื่นเต้น2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สิ่งที่ยากคือการลงมือทำ- เพระความที่ติดโทรศัพท์ทำให้เวลาพักผ่อนถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เราหักดิบด้วยการวางโทรศัพท์ทันทีหากร่างกายส่งสัญญาณว่าต้องการพักผ่อน ไม่หยิบขึ้นมาอีกแม้แต่ครั้งเดียวแม้จะมีอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายแค่ไหนเพราะถ้าเราหยิบขึ้นมา รับรองว่าได้นอนไม่หลับอีกเลยจนกระทั่งเช้า- หากง่วงนอนในเวลากลางวันจะไม่ยอมนอนหลับเป็นเวลานาน ๆ หรือไม่หลับเลย แต่ถ้าทนไม่ไหวให้หลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แทนประมาณ 10-15 นาที วิธีนี้ได้ผลจริง ๆ หลังจากหลับเป็นเวลาสั้น ๆ เราก็ไม่รู้สึกง่วงอีกเลยตลอดทั้งวัน- การปรับอารมณ์ให้แจ่มใส เราเลือกการนั่งสมาธิหรือฟังเพลงที่มีจังหวะสบาย ๆ เนื้อหาไม่หนัก ทางที่ดีให้เลือกฟังดนตรีบรรเลง ไม่เฉพาะเรื่องเครียดเท่านั้นที่ทำให้คนนอนไม่หลับ หากมีอารมณ์ตื่นเต้นมาก ๆ ก็ทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน ขอบคุณภาพจาก : Clker-Free-Vector-Images จาก Pixabay เข้าถึงจาก https://pixabay.com/th/vectors/%E0%B9%82%E0%B8% อาการนอนไม่หลับของเราเป็นอาการที่สะสมจากการมีพฤติกรรมการพักผ่อนที่ไม่ดี ดังนั้นการรักษาจึงไม่อาจทำได้ด้วยความรวดเร็ว หลายครั้งเราก็เผอเรอกลับไปทำพฤติกรรมแบบเดิมแต่ไม่ทำจนเคยชินเป็นนิสัย เราค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมของตัวเองจนอาการนอนไม่หลับค่อย ๆ หายไป เรียกได้ว่ารักษาตัวเองมาเรื่อย ๆ เป็นเวลาเกือบครึ่งปี แม้จะกลับมานอนหลับได้ดังเดิมแต่ก็มีบางครั้งที่ต้องฝืนไม่นอนทั้งคืนเพื่ออ่านหนังสือสอบ แต่เราไม่ยอมปล่อยให้พฤติกรรมเหล่านั้นกลายเป็นความเคยชิน พอพ้นช่วงสอบหรืองานหนัก ๆ ก็รีบนอนหลับพักผ่อนให้ตรงเวลา สิ่งที่ทำร้ายสุขภาพเราได้ดีที่สุดคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ฉะนั้น หากไม่อยากเสียสุขภาพก็อย่าทำพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพจนร่างกายเคยชิน เพราะตอนปรับตัวเพื่อรักษานั้น เรียกได้ว่าลำบากจริง ๆภาพปก : Wokandapix จาก Pixabay เข้าถึงจาก https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%81%E0%B8%