"หุยยยย เก๋อะ เท่อะ เป็น ดีไซเนอร์ " มักจะเป็นคำที่ได้ยินจากคนอื่นๆเวลาบอกว่าทำงานอะไร ซึ่งเราก็ได้แต่ยิ้มๆ จากประสบการณ์การเป็น ทั้ง ดีไซเนอร์ออกแบบเครื่องประดับ และ เสื้อผ้า ทั้งแบบงานประจำ ฟรีแลนซ์ บอกได้เลยว่า นอกจากภาพเบื้องหน้าสวยๆที่ทุกคนได้เห็นกัน กว่าจะมาเป็นโชว์สวยๆ คอลเลคชั่นที่วางขาย ระหว่างทางมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ การทำงานดีไซเนอร์ การเรียนรู้ที่จะเป็นนักออกแบบ ไม่เหมือนการต้ม มาม่า ที่เรียนรู้แปบๆ เหมือนกดน้ำร้อนใส่ แปบเดียว สุก กว่าจะจบออกมาเป็นดีไซเนอร์ ต้องผ่านการเรียนอะไรหลายๆอย่างที่ ถึงจะมานั่งอธิบายคนอื่น ก็คงไม่เข้าใจ การเรียนออกแบบ ใช้ทั้งสมอง แรงกาย ในการจะทำงาน งานนึงขึ้นมา คิดงานหัวแตก ไม่พอ มือเปิง ทั้งจาก ทำเครื่องประดับ - เข็มเย็บผ้า ตำ นิ้วด้านเวลาทำงานกับ หนัง แต่เวลาออกงาน หรือ ไปร่วมงาน แน่นอนว่า เราต้องแต่งตัวให้ ภูมิฐาน เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของ องค์กร และ ต่อตนเองด้วย กว่าจะมาเป็นงานที่วางขาย ต้องผ่านกระบวนการคิดมากมายออกแบบ - ดูต้นทุนผลิต - สตอคสินค้าที่ยังค้างอยู่ แล้วบางที งานออกแบบ ก็แพ้ให้กับ fast fashion brand ที่มีกำลังผลิตงานออกมาได้ไว และ จำนวนมากกว่า การเป็นดีไซเนอร์บางทีก็ต้องการทักษะที่มากกว่าการออกแบบเสื้อผ้า ต้องติดต่อผู้คน เวลาจะออกกองถ่ายแบบ จะยืมรองเท้า เครื่องประดับ ที่ไหน ต้องใช้การติดต่อ เสียเงินบ้าง bater บ้าง โชคดีก็ได้ร่วมงานกับ ทีมงานที่ดี วุ่นวายหน่อยก็ อาจจะเจอคนในทีมไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ก็ต้องแก้ปัญหาเบื้องหน้ากันไป ปัญหาใหญ่ที่ท้าทายที่สุดคือ งบในการออกกอง จะทำยังไงให้ออกมาดี แล้ว จ่ายน้อยที่สุด อาชีพดีไซเนอร์บางทีก็ไม่ได้แค่นั่งวาดงานไปวันๆ อาจจะมีตามงานช่างบ้าง ลงมือปักงานเองบ้าง หาผ้าที่ถูกใจ เข้ากับคอลเลคชั่น และ ถูกใจลูกค้า แบบที่ขายดี ก็รีรัน บ่อยหน่อย แต่บางแบบที่ ดีไซเนอร์คิดว่าแบบมันออกมาดีมากนะ กลับขายไม่ออกก็มีเยอะเช่นกัน ดังนั้นอาชีพดีไซเนอร์จริงๆแล้วมีความกดดันสูง ภายใต้งานที่ดูจะเป็นงานศิลปะ งานสร้างสรรค์นั้น ต้องคิดต่อไปอีกว่าทำยังไง ให้ขายได้ เป็นความยากของงาน ดีไซเนอร์อีกอย่างนึง ส่วนตัว ทำงานไปมา พบว่า การเป็นฟรีแลนซ์ ตอบโจทย์ชีวิตมากกว่า ถึงแม้จะยืนอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง ในการหารายได้แต่ละเดือน แต่เนื่องจากการเป็นฟรีแลนซ์ ความสำคัญในการทำงาน คือ รับบรีฟ จากลูกค้า ตีโจทย์ให้แตก ไม่ว่าจะเป็นออกแบบเครื่องประดับ หรือ เสื้อผ้า เสนอราคาให้ลูกคา เซนสัญญาว่าจ้างเรียบร้อย ที่เหลือ ก็อยู่ที่เราทำงานส่งให้ทันเวลา ที่ตกลงกันไว้กับลูกค้า ทำงานดี ตอบโจทย์ ส่งงานไว ก็ปิดจ๊อบได้ไว เจอลูกค้าหลากหลาย ส่วนตัว การทำงานกับคนที่ไม่รู้จัก ไม่สนิท จะง่ายกว่า น่าจะเพราะเกิดความเกรงใจขึ้น ในการทำงาน ในเรื่องของการต่อรองราคา จึงไม่ค่อยเกิดปัญหา การแก้งาน เช่นกัน ถ้าตกลงไว้เรียบร้อย ยอมรับเงื่อนไขทั้ง2 ฝ่าย ก็แอปปี้ กันทั้งคนจ้าง และ คนรับงาน จะบอกว่า งานประจำ ไม่ดี หรือ? ก็ไม่ใช่ และ ไม่เชิง ว่าไม่ดี ขึ้นอยู่กับตัวองค์กร วัฒนธรรม ผู้คนภายในบริษัท และ ตัวเราเองว่า งานที่ทำอยู่ตรงกับ แนวของเราหรือไม่ วัฒนธรรมองค์กร เราอยู่แล้วโอเค สบายใจ หรือเปล่า เพราะการทำงานออกแบบ หากเกิดความเครียด ไม่ว่าจะทำงานประจำ หรือ ฟรีแลนซ์ บอกได้เลยว่า การคิดงานมีปัญหาแน่ๆ การที่ระบุไว้ใน qualification เวลาสมัครงาน ว่า เราต้องทำงานภายใต้ความกดดันได้ ในที่นี้ความกดดัน ด้วยตัวงาน เช่น เดดไลน์ หรือ ต้องรีบติดต่อฝ่ายอื่น ที่เราต้องส่งงานต่อ ยังเป็นความเครียดที่น้อยกว่าการเจอ ความกดดัน จาก บุคคล ที่เขียนมาอาจจะดูน่าสงสัยว่า ผู้เขียน เป็น ดีไซเนอร์ อินดี้ หรือเปล่า แต่จริงๆแล้ว นี่คือ ความเป็นจริง ดีไซเนอร์เป็นฟันเฟืองนึง ที่ทำให้ แบรนด์ อยู่ได้ ถ้าหากจูน คลื่นไม่ตรงกัน การจะทำงานร่วมกัน ก็เป็นไปได้ยาก การเป็นดีไซเนอร์ประจำ ก็ดี มีหน้าที่การงานที่อาจจะก้าวหน้าได้เรื่อยๆ แต่การเป็น ดีไซเนอร์ แบบ ฟรีแลนซ์ ก็ทำให้เรา รู้จักการติดต่อผู้คน การสร้างคอนเนคชั่น ความไวในการตีโจทย์ ที่ลูกค้าอธิบาย งานไม่ผูกมัดแต่ต้องมีความรับผิดชอบ และ จัดสรรเวลาให้ดี เพื่อให้งานถึงมือลูกค้า ภายในเวลาที่กำหนด เมื่อเราจัดสรรเวลาได้ เราก็จะเป็นฟรีแลนซ์ที่ เข้าที่เข้าทาง อาจจะมีงานมาเรื่อยๆ หรือ อาจจะมีช่วงที่ได้เว้นพักบ้าง แต่การทำงาน หาเงิน เป็นเพียงปัจจัยสร้างความสุข หนึ่งในชีวิต ก่อนจะก้าวเข้ามาเป็นดีไซเนอร์ อยากให้ถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า นี่คือสิ่งที่เราจะอยู่ไปด้วยทั้งชีวิต ใช่หรือ ไม่ หรือคิดว่าการเป็นดีไซเนอร์ หรือ เรียนออกแบบ จะทำให้เราค้นพบทักษะอื่นๆในตัวเองที่ไม่คิดว่าจะมีมาก่อน ก็อาจจะต่อยอดสายงานไปได้ในอนาคต ยังไงก็ ยังคิดว่า ดีไซเนอร์ เป็นอาชีพที่ ซับซ้อน ทั้งสร้างงานศิลป์ แต่ก็เป็นงานในเชิง พาณิชย์ ด้วย งานไม่ใช่แค่สวย แต่ต้องสร้างรายได้ เพราะดีไซเนอร์ยังไม่ถึงขั้น ศิลปิน การออกแบบ จึงต้องสมดุลกัน ระหว่าง ความสวยงาม และ การตอบสนองผู้บริโภค อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว คิดว่าโลกของงานออกแบบ ยังเป็นที่ที่เราอยากหายใจอยู่ในนั้น หรือไม่ คิดว่า บทความนี้ อาจจะทำให้ผู้อ่านได้ลองทบทวน ดู อย่าเลือกทำอะไร เพราะ ความใจเร็ว คิดว่า เป็นสิ่งที่เท่ เพราะ ในทุกอาชีพที่ทำ ถ้าเราไม่ได้มีpassion จริงๆ เราอาจจะอยู่กับมันได้ไม่นาน แต่ถ้า เราอยู่กับสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ทำ และ ทำอย่างเต็มที่ อาชีพดีไซเนอร์ก็คงเป็นทางเลือกที่ดีทางนึงของคุณแล้วคะ