เมื่อฤดูร้อนมาถึง เรามักจะได้รับคำเตือน และคำแนะนำจากภาครัฐผ่านสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพราะในช่วงฤดูร้อน หมา แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีอาการหงุดหงิดจากความร้อนของอากาศ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ รังแก หรือแหย่สัตว์เหล่านั้นให้รำคาญใจ จนสัตว์ที่น่ารักหัวร้อนและทำร้ายเราได้อย่างไรก็ดี หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดอุบัติเหตุถูกกัดหรือข่วน สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือ การล้างทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ จากนั้นเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ ทายาใส่แผล ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผล และรีบไปพบคุณหมอเพื่อฉีดวัคซีนผู้เขียนในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพราะที่บ้านเลี้ยงแมว 2 ตัว และหยอกล้อกันประจำ จึงมีเหตุให้เสียเลือดและตัองไปพบคุณหมอด้วยเหตุนี้เป็นประจำทุกปี จึงขอแบ่งปันประสบการณ์การฉีดวัคซีนให้ฟังกันค่ะ โดยวัคซีนที่ต้องฉีดแน่นอน คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และในบางรายต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักด้วย วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากข้อมูลในบัตรประจำตัวผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีคำแนะนำในการฉีด ดังนี้• ผู้สัมผัสโรคที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน คือ - การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ให้ฉีดในวันที่ 0 / วันที่ 3 / วันที่ 7 / วันที่ 14 และวันที่ 30 (ฉีดครั้งละ 1 เข็ม)- การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนัง ให้ฉีดในวันที่ 0 / วันที่ 3 / วันที่ 7 และวันที่ 30 (ฉีดครั้งละ 2 จุด)• ผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน คือ - ผู้สัมผัสโรคภายใน 6 เดือน หลังฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย ให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 จุด โดยฉีดเพียงเข็มเดียวในวันแรก- ผู้สัมผัสโรคเกิน 6 เดือน หลังฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย ให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 จุด ในวันที่ 0 และวันที่ 3วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ในกรณีที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน จะต้องรับการฉีดวัคซีน 3 ครั้ง เพื่อให้ได้ภูมิต้านทานที่ได้ผลเต็มที่ โดยจะฉีดวัคซีนเข้าที่กล้ามเนื้อ ครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร โดยแต่ละเข็มมีระยะห่างดังนี้ค่ะเข็มที่ 1 วันเริ่มต้นฉีดวัคซีนปัองกันโรคพิษสุนัขบ้า จะถูกฉีดวัคซีนปัองกันโรคบาดทะยักด้วย รวมแล้ววันดังกล่าวเราจะถูกฉีดวัคซีน 2 เข็ม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 1 เดือน หรือ 1 เดือนครึ่งเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 6 เดือนแนะนำว่า ฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 3 เข็ม เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักต่อไปอย่างน้อยอีก 5 ปี จากนั้นถ้ามีการฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อไปอีกอย่างน้อย 5 - 10 ปี ระหว่างนี้หากมีบาดแผลเล็กน้อยก็ไม่จะเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักอีก แต่หากเป็นแผลขนาดใหญ่ก็ควรจะขอรับคำแนะนำจากคุณหมอนะคะทั้งนี้ เมื่อได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ทางโรงพยาบาลจะออกบัตรประจำตัวผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ขอให้เก็บรักษาไว้ให้ดีนะคะ เพราะหากเกิดเหตุถูกกัดหรือข่วนซ้ำอีกครั้ง จะได้นำบัตรฯ ดังกล่าวไปแสดงต่อคุณหมอ เพื่อจะได้คำนวณระยะเวลาในการฉีดวัคซีนได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยค่ะโรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คนที่ไม่มีทางรักษา หนทางป้องกันที่ดีที่สุด คือ การอยู่ห่าง ๆ หมา แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่มีเจ้าของ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถูกกัดหรือข่วน ต้องไปพบคุณหมอ เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก นอกจากนี้ บ้านที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่คลุกคลีกับคน อย่างหมา และแมว ก็ควรนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพประจำปี และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปีด้วยนะคะ เพื่อให้สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าเครดิตภาพประกอบภาพปกจาก Canva ภาพที่ 1 ภาพโดย wirestock จาก Freepikภาพที่ 2 ภาพโดย wirestock จาก Freepikภาพที่ 3 ภาพโดย freepik จาก Freepikภาพที่ 4 โดยผู้เขียนภาพที่ 5 ภาพจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข