ณ ปัจจุบันนี้ผู้คนเกือบทั้งประเทศต่างให้ความสนใจกับเจ้าโควิด-19 กันอยู่ตลอดเวลา และถ้าเราจะบอกว่าเจ้าโรคระบาดนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างมหาศาลก็ไม่ได้เป็นคำที่พูดเกินจริงเลย เพราะมันส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วพูดไว้ว่าถ้าหากติดขึ้นมาต้องหาวิธีดูแลรักษาตัวเองกันแบบวันต่อวันเลยทีเดียว แต่ทุกท่านอย่าได้ชะล่าใจกับภัยร้ายที่เราจะต้องเผชิญในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ นั้นก็คืออภิมหาฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นวิกฤตของคนไทยมาหลายขวบปี และมาตรการแก้ปัญหาก็ดูจะทำได้ยากเหลือเกิน เพราะต้นเหตุนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย หลายทิศทาง ไล่ตั้งแต่ประชาชนชาวบ้าน ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น การเผาไร่ เผาขยะ มลพิษจากท่อไอเสียรถ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า ก็ล้วนเป็นต้นเหตุที่สามารถทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่เราเรียกกันว่า PM 2.5 ทั้งนั้น ไม่เพียงเท่านั้นเจ้า PM 2.5 ตัวร้ายก็ยังสามารถกระจายได้ไกลข้ามประเทศกันเลยทีเดียว หมายความว่าถ้าแถบประเทศเพื่อนบ้านของเรามีการสะสมของฝุ่น PM 2.5 มาก ๆ ก็มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อคนในประเทศของเราตามไปด้วยซึ่งผลกระทบที่เกิดแก่สุขภาพของเรานั้นอาจจะมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ มีอาการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยอาจจะทำให้เกิดโรคใหม่ หรือทำให้โรคเดิมที่เราเคยเป็นอยู่นั้นรุนแรงขึ้น ส่งผลให้เซลล์ของอวัยวะในร่างกายเสื่อมโทรมลง และอาจจะรุนแรงขึ้นจนกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งในที่สุดตัวอย่างผลกระทบจาก PM 2.5 ต่อสุขภาพได้แก่- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โพรงจมูกอักเสบ เกิดภูมิแพ้ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ เป็นไข้หวัดจากไวรัส(ผลจากการติดเชื้อ) ซึ่งจะทวีความรุนแรงกับแต่ละคนต่างกันออกไป- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดอุดตัน - ผลต่อระบบสมอง เช่น สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม โรคสมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน จนถึงความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้า- ผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย คือ มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะมะเร็งปอดข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าแต่ละปีมีประชาชนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น โรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง และถ้าหากเราเทียบความเสียหายจาก PM 2.5 ก็ถือได้ว่าเป็นมัจจุราชเงียบที่คุกคามคนในโลกมาตลอด และเรายังจำเป็นที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งนี้ต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะแก้ไขกันได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ แต่จำเป็นต้องใช้เวลาแก้ไขเพื่อความยั่งยืนเมื่อ PM 2.5 กลับมาเราจะป้องกันตัวเองจากเจ้าฝุ่นร้ายนี้ได้อย่างไรบ้าง ?1.ติดตามข้อมูลระดับมลพิษทางอากาศในละแวกที่อยู่อาศัยของตนเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำจาก หน่วยงานในพื้นที่ และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการประกอบกิจกรรมของตนเอง2.ควรอยู่ในอาคารให้มากเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น เด็กและผู้สูงอายุ ควรอยู่ในอาคาร ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และอยู่ห่างจากถนนที่มีการจราจรหนาแน่น ควรปิดประตูและหนา้ต่างเพื่อลดการแทรกซึมของมลพิษทางอากาศจากภายนอก3.หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากหรือใช้เวลานานเช่น การออกกำลังกายหนักกลางแจ้ง4.รักษาความสะอาดภายในบ้าน โดยพยายามถูพื้นและเช็ดฝุ่นด้วยผ้าเปียก เพราะการกวาดหรือการใช้เครื่องดูดฝุ่นจะทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กลอยในอากาศมากขึ้น5.หาเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ เพื่อเป็นการกรองอากาศในบ้านให้มีสะอาดอยู่เสมอถ้าเราสังเกตจากข้อมูลที่กล่าวมานั้นเราจะเห็นได้ว่าภัยจากฝุ่น PM 2.5 นี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราในระยะสั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราในระยะยาว และเราจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายของเราอย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยปละละเลย ต้องเริ่มที่จะป้องกันตั้งแต่ตอนที่สุขภาพของเรายังดีอยู่นะครับเขียนโดย - ภีร์ข้อมูลจาก - องค์การอนามัยโลก (WHO) และ โรงพยาบาลสินแพทย์ภาพหน้าปก โดย Marek Piwnicki จาก Pexelsภาพที่ 1 โดย Stefan Grage จาก Pexelsภาพที่ 2 โดย cottonbro จาก Pexelsภาพที่ 3 โดย Gustavo Fring จาก Pexelsภาพที่ 4 โดย Miriam Alonso จาก Pexelsภาพที่ 5 โดย Pixabay จาก Pexelsเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !