ฟันคุด (Wisdom Tooth) เป็นฟันกรามแท้ซี่ที่สามของมุมปากทั้ง 4 มุม โดยปกติจะขึ้นในช่วงอายุ 17-25 ปี แต่บางคนอาจไม่ขึ้นเลยหรือขึ้นไม่ครบทุกซี่ ฟันคุดมักมีปัญหาในการขึ้น เช่น งอกออกมาไม่ตรงแนว งอกออกมาเฉียง งอกออกมาขวาง หรืองอกออกมาอยู่ในแนวนอน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากตามมาทำให้จำเป็นต้องเอาฟันคุดออก ในบทความนี้ Sunnysisterstudio จะขอมาเล่าประสบการณ์การไปถอนฟันคุดที่โรงพยาบาลรัฐให้เพื่อน ๆ ได้นำไปประกอบการตัดสินใจและแนะนำวิธีการดูแลตัวเองหลังถอนฟันคุดด้วยค่ะจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจไป ถอนฟันคุดต้องบอกก่อนเลยนะคะว่าก่อนหน้านี้ฟันคุดของผู้เขียนยังไม่โผล่ขึ้นมาจากเหงือกเลยค่ะ ตอนแรกคิดว่าจะได้ผ่าฟันคุดออกซะแล้ว แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเป็นวันครบกำหนดต้องไปขูดหินปูนพอดี พอขูดหินปูนเรียบร้อยคุณหมอฟันก็แจ้งเลยว่ามีฟันคุดขึ้นมานะ ต้องด้านบนซ้าย ซึ่งตอนนั้นเราก็ตกใจว่าฟันที่ขึ้นมาใหม่มันเป็นฟันคุดจริง ๆ แต่คุณหมอบอกว่าไม่ต้องกังวล เพราะเป็นฟันคุดที่ขึ้นมาตรง ๆ สามารถถอนออกเหมือนถอนฟันปกติได้เลย ถ้ากายพร้อม ใจพร้อมก็มาถอนฟันคุดได้เลย ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานซึ่งฟันคุดซี่นั้นก็แอบร้ายกาจกับเรา ถึงแม้จะขึ้นมาตรง แต่ลักษณะการเรียงตัวมันเบ้ออกไปด้านข้างติดกับกระพุ้งแก้ม ทำให้กระทบกับแก้มตลอดเวลาจึงเป็นความเจ็บตอนที่เราเคี้ยวอาหารได้ เราก็เลยตัดสินใจว่า เอาล่ะ...ต้องถอนฟันคุดซี่นี้ออกให้เร็วที่สุดถอนฟันคุด จ่ายแค่ 30 บาทจริงไหม?การถอนฟันคุด สิทธิบัตรทองหรือสิทธิสปสช. ครอบคลุมให้บริการ สามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่โรงพยาบาลที่เรามีสิทธิบัตรทองได้เลยค่ะ ของเราถอนฟันคุด ราคา โรงพยาบาลรัฐ 2566 จ่ายเพียง 30 บาทเท่านั้น ถ้าไปทำที่คลินิกเอกชนก็อาจจะราคา 500 บาทขึ้นไปเลยฟันคุดจำเป็นต้องถอนทุกซี่ไหม?คำตอบคือ ไม่จำเป็นที่จะต้องถอนฟันคุดทุกซี่ ขึ้นอยู่กับลักษณะการขึ้นของฟันคุดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากฟันคุดขึ้นตรงและสามารถทำความสะอาดได้สะดวก ก็ไม่จำเป็นต้องถอน แต่หากฟันคุดขึ้นเอียงหรือขวาง ไม่สามารถทำความสะอาดได้สะดวก ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ เช่นเหงือกอักเสบ บวมแดง ปวด มีหนองฟันผุที่ฟันข้างเคียงโรคปริทันต์ถุงน้ำบริเวณขากรรไกรฟันยื่น ฟันเกกระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายดังนั้น หากมีฟันคุด ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูลักษณะการขึ้นของฟันคุดและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากทันตแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นต้องถอนฟันคุด ก็ควรถอนออกเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพฟันที่อาจตามมาอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าฟันคุดจะขึ้นตรงและสามารถทำความสะอาดได้สะดวก ก็อาจต้องถอนออกหากมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่นฟันคุดอยู่ใกล้กับเส้นประสาทหรือหลอดเลือดฟันคุดอยู่ใกล้กับฟันที่มีปัญหา เช่น ฟันผุ ฟันอักเสบฟันคุดมีขนาดใหญ่หรือรูปร่างผิดปกติดังนั้น ผู้ที่มีคุดควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมนะคะฟันคุดแบบไหนที่ถอนได้?ฟันคุดที่สามารถถอนออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัด (Simple extraction) คือ ฟันคุดที่สามารถขึ้นได้เต็มซี่ โดยโผล่พ้นเหงือกออกมาจนสามารถมองเห็นตัวฟันได้ และอยู่ในแนวที่สามารถใช้เครื่องมือทันตกรรมถอนฟันคุดออกได้โดยไม่ยากรีวิว ถอนฟันคุด เจ็บไหม?หลังจากที่ส่วนตัวแอบกลัวการถอนฟันคุด เพราะในชีวิตนี้ไม่เคยโดนถอนฟันมาก่อนเลย แถมไปอ่านรีวิวในอินเทอร์เน็ตแล้วบางคนก็แผลอักเสบ หน้าบวม เจ็บหลายวัน เราเลยกลัว แต่พอไปทำจริง ๆ ก็ไม่ค่อยเหมือนอย่างที่คิดนะ เริ่มแรก คุณผู้ช่วยจะให้เรากลั้วปากด้วยเบตาดีนก่อน จากนั้นคุณหมอก็จะมาสำรวจฟันของเราว่าซี่ที่จะถอนมันถอนได้ไหม ต้องทำยังไงบ้างเพื่อเป็นการวางแผนการรักษา จากนั้นคุณหมอก็จะเริ่มฉีดยาชา ของเราโดนไปสองจุด คือเหงือกด้านนอกและด้านใน ก็เจ็บอยู่นะทุกคน เหมือนโดนเข็มทิ่ม แต่เจ็บมากหรือน้อยจะอยู่เทคนิคการฉีดด้วย แต่จุดนี้มันยังไม่ใช่ Climax เชื่อว่าเพื่อน ๆ ผ่านพ้นไปได้แน่นอนต่อไปคุณหมอก็จะให้เรากลั้วน้ำสะอาด แล้วรอเวลาให้เหงือกเริ่มชา จากนั้นคุณหมอก็จะใช้คีมงัดฟันคุดออกมา จังหวะนี้แหละคือจังหวะที่เรารู้สึกว่าเจ็บจริง เพราะรากฟันเราค่อนข้างแน่น คุณหมอก็ดึงสุดชีวิต แถมมันอยู่ติด ๆ กับกระพุ้งแก้มข้างในที่เป็นกล้ามเนื้อเลย พออ้าปากปุ๊บมันก็จะรัดบังฟันด้วย แต่คุณหมอก็ใช้ความชำนาญจนฟันคุดออกมาได้สำเร็จ รับรู้ได้จากเสียงแห่งความพยายามของคุณหมอ แอบหอบนิด ๆ ส่วนเราก็มือสั่นหน่อย ๆ เหมือนกันค่ะ (แต่เชื่อว่าเพื่อน ๆ ผ่านไปได้แน่นอน ไม่ต้องกลัวนะคะ) มันจะเป็นการเจ็บตึง ๆ ดันหน่อย ถือว่าทนได้ค่ะ แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ให้ยกมือซ้ายส่งสัญญาณนะคะพอถอนฟันคุดเรียบร้อยคุณหมอเขาก็จะเอาผ้าก๊อซมาห้ามเลือดและให้เรากัดแน่น ๆ ให้เลือดแข็งตัวปิดรูที่ฟันหายไป เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย!หลังถอนฟันคุด ควรทำอย่างไร?หลังถอนฟันคุด ควรกัดผ้าก๊อซให้แน่นประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหลก็ให้เปลี่ยนผ้าก๊อซที่คุณหมอให้มาแล้วกัดต่อ จากนั้นให้เอาน้ำแข็งมาประคบแก้มตรงที่มีแผลถอนฟันคุดเพื่อช่วยลดบวมและทำให้เลือดแข็งตัวได้ดีขึ้นในช่วงเวลานี้ห้ามอมน้ำลายไว้นะ ให้กลืนลงไปเลยพร้อมเลือดนั่นแหละ และพยายามอย่าดูดแผล จะช่วยให้แผลหายไวขึ้น และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของทันตแพทย์รับประทานอาหารอ่อน ๆ เย็น ๆ ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก หลังถอนฟัน หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด เย็นจัด รสจัด และอาหารที่เป็นเศษเล็กเศษน้อยแปรงฟันทำความสะอาดช่องปากตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการแปรงบริเวณแผลโดยตรงหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 7 วันหลังถอนฟันหากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลไม่หยุด ปวดแผลมาก บวมมาก มีไข้ หรือมีหนองไหลจากแผล ให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันทีโดยปกติแล้ว อาการบวมจะค่อยๆ ลดลงภายใน 3-4 วัน และอาการปวดจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ สามารถกลับไปทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติภายใน 2-3 วันหลังถอนฟันถอนฟันคุด กินอะไรได้บ้าง?หลังถอนฟันคุด แนะนำว่าควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เย็นๆ ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก เพื่อให้แผลหายเร็วและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาหารที่ควรรับประทาน ที่อยากแนะนำ เช่นโจ๊กซุปสมูทตี้โยเกิร์ตไอศกรีมผลไม้อ่อน ๆ เช่น กล้วย แตงโม มะละกอผักอ่อน ๆ เช่น แครอท ฟักทอง ถั่วเขียวเนื้อสัตว์บดไข่ต้มถอนฟันคุด ห้ามกินอะไร?อาหารร้อนจัด เย็นจัด เพราะอาจทำให้แผลไหม้หรืออักเสบได้อาหารรสจัด เพราะอาจทำให้แผลระคายเคืองได้อาหารที่เป็นเศษเล็กเศษน้อย เช่น ถั่วลิสง เมล็ดพืช กระดูก เพราะอาจทำให้เศษอาหารติดค้างอยู่ที่แผลและทำให้แผลอักเสบหรือติดเชื้อได้อาหารแข็ง ๆ เหนียว ๆ เช่น ผลไม้แห้ง ผักสด ขนมปังกรอบ เพราะอาจทำให้แผลถูกกระทบกระเทือนได้อาหารเคี้ยวยาก เช่น เนื้อสัตว์ดิบ กระดูกอ่อน เพราะอาจทำให้แผลถูกกระทบกระเทือนได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เลือดออกและทำให้แผลหายช้าลงได้หลังถอนฟันคุด กี่วันหาย?ระยะเวลาการหายของแผลถอนฟันคุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ตำแหน่งของฟันคุด ลักษณะการขึ้นของฟันคุด ความรุนแรงของการถอนฟัน และการดูแลหลังถอนฟันของผู้ป่วยโดยทั่วไปแล้ว แผลถอนฟันคุดจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติภายใน 2-3 วันหลังถอนฟันส่วนตัวไม่รู้สึกเจ็บเลยตั้งแต่วันแรก อาจจะสามารถอ้าปากได้น้อยลงนิดหน่อย แต่ไม่ปวดและไม่ต้องกินยาแก้ปวดเลยค่ะ ซึ่งถือว่าโอเคมาก ๆ ถอนฟันคุด กับ ผ่าฟันคุด ต่างกันยังไง?การถอนฟันคุดเป็นการถอนฟันตามปกติ โดยทันตแพทย์จะใช้คีมถอนฟันคุดออกโดยตรง สามารถทำได้หากฟันคุดขึ้นได้ปกติ อยู่ในแนวปกติ และไม่ฝังอยู่ในกระดูกมากนักการผ่าฟันคุดเป็นการถอนฟันคุดที่มีขั้นตอนซับซ้อนกว่าการถอนฟันคุดปกติ ทันตแพทย์จะต้องเปิดเหงือก กรอกระดูก หรือแบ่งฟันคุดออกเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้สามารถนำฟันคุดออกมาได้อย่างสะดวก โดยอาจใช้ยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบร่วมด้วยบทความแนะนำhttps://intrend.trueid.net/post/401879https://intrend.trueid.net/post/378002ภาพหน้าปกภาพที่1: @elenavagengeim / ภาพที่2: @mw-images / ภาพที่3: @mw-imagesภาพประกอบภาพที่1: @elenavagengeim / ภาพที่2: @gettyimages / ภาพที่3: @rcphotostock / ภาพที่4: @gettyimages / ภาพที่5: @aslysun / ภาพที่6: @gettyimages / ภาพที่7: @gettysignature / ภาพที่8: @gettyimagesHASHTAG#ถอนฟันคุด #รีวิวทำฟัน #รีวิวถอนฟันคุด #สิทธิบัตรทอง เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !