เครดิตภาพปกโดย Serge Kutuzov จาก unsplash.com ลิงก์ https://unsplash.com/photos/NaGoAsPP0wcพวกเรารู้ว่าการขาดแสงอาทิตย์อาจมีผลต่อเรื่องโภชนาการ อาทิ วิตามินดีไม่อาจย่อยสลายในร่างกายทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนได้ รวมทั้งแสงอาทิตย์ยังมีคุณูปการอันมหาศาลต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ เป็นวัตถุธาตุสำคัญในพืช ซึ่งมีส่วนเป็นอย่างมากในการธำรงอยู่ของมนุษย์แต่ทว่าในบางพื้นที่ของโลก อาทิ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียหรือกลุ่มประเทศทางขั้วโลก รวมทั้งกลุ่มบุคคลที่อาศัยและทำงานภายใต้แสงไฟฟ้าที่สร้างจากมนุษย์ นั่นทำให้เราได้รับแสงอาทิตย์จากธรรมชาติไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดโรค SAD (Seasonal Affective Disorder) หรือภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การรักษาด้วยแสงจึงเป็นเรื่องสำคัญภาพโดย ncb80 จาก Pixabay ลิงก์ https://bit.ly/2TNLMWCหน่วยการวัดแสง คือ ‘ลักซ์’(Lux) แสงไฟฟ้าในบ้านและในที่ทำงานของเราอาจมีหน่วยถึง 500 ลักซ์ ส่วนแสงอาทิตย์ยามบ่ายนั้นอาจแรงถึง 100,000 ลักซ์ ขณะที่แสง 2,500 ลักซ์ นั้น เพียงพอต่อการยับยั้งเมลาโทนินในมนุษย์ ดังนั้นแสงไฟในที่ทำงานจึงไม่เพียงพอในอันจะทำให้วงจรชีวิตมนุษย์ดำเนินไปอย่างถูกต้อง คนงานในกะกลางคืนและผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านขั้วโลก ได้รับแสงสว่างเพียง 50 ลักซ์ ซึ่งน่าเชื่อว่าทำให้เกิดโรคหลายโรค คือ ความเหนื่อยล้า ความซึมเศร้า โรคผิวหนัง การยับยั้งภูมิต้านทาน และโรคนอนไม่หลับปัจจุบัน มีการใช้แสงที่แตกต่างกันมากมายในแสงบำบัด แสงที่ใช้มากที่สุดคือแสงอาทิตย์ เพราะคือแหล่งสเป๊กตรั๊มที่สมบูรณ์ที่สุด แสงบำบัดหมายถึงการใช้เครื่องมือที่ส่องแสงสเป๊กตรั๊มเต็มรูป หรือแสงสีขาว โดยคนไข้ควรจ้องในส่วนที่กว้างๆ ของสเป๊กตรั๊ม ไม่จ้องตรงๆ ไปยังแหล่งกำเนิดเพราะอาจอันตรายต่อดวงตาPublicDomainPicture จาก pixabay ลิงก์ https://bit.ly/2RJOVnHนอกจากโรค SAD ที่ต้องใช้เครื่องแสงบำบัดช่วยและผู้ป่วยจึงต้องไปนั่งอยู่ภายใต้แสงแดดทุกวันในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน โรคนอนไม่หลับในยามเช้าตรู่และโรคนกฮูกกลางคืน ซึ่งนอนไม่หลับในช่วงกลางคืนและไปหลับในช่วงสั้นๆ เวลาเช้าหรือ DSPS หรือ Delayed Sleep Phase Syndrome ก็สามารถใช้แสงบำบัดช่วยได้ ในออสเตรเลียได้มีการวิจัยให้ผู้นอนไม่หลับยามเช้าตรู่ถูกกระตุ้นด้วยแสง 2,500 ลักซ์ ส่องสู่พวกเขาตั้งแต่ 4 ทุ่ม ถึงเที่ยงคืน ปรากฏว่าพวกเขาง่วงนอนในยามปกติและรู้สึกง่วงนอนไปอีกชั่วโมงครึ่งนานกว่าปกติส่วนโรค DSPS แพทย์จะทดลองสาดแสงสว่างแก่คนไข้ 2 ชั่วโมงในตอนเช้าและจำกัดไม่ให้โดนแสงตอนหัวค่ำ ปรากฏว่าสามารถจำกัดการนอนไม่หลับของผู้ป่วยลงได้นอกจากนั้น แสงบำบัดยังช่วยสำหรับผู้มีอาการเจ็ตแล็ก แพทย์แนะนำให้ผู้ที่จะบินจากดินแดนตะวันออกสู่ยุโรป ตื่นเช้ากว่าเดิม 2-3 ชั่วโมง ในวันที่จะบิน โดยไปเดินให้เหงื่อโชกใต้ดวงอาทิตย์หรือภายใต้อาคารที่ส่องแสงสว่าง และเมื่อถึงจุดหมายก็อยู่กลางแจ้งสัก 1-2 ชั่วโมง ก็จะสามารถเคลื่อนเวลาในตัวเองได้ทั้งนี้โรคบูลิเมีย(โรคล้วงคอ) ซึ่งกินอาหารปริมาณมากๆ ในเวลาสั้นๆ แล้วมาล้วงให้อาหารอาเจียนออกไป แพทย์พบว่าโรคนี้มักพบในฤดูหนาว ดังนั้นการใช้แสงบำบัดในช่วงนั้นก็จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ สเป๊กตรั๊มของแสงอาทิตย์ ภาพโดย Karen Arnold จาก pixabay ลิงก์ https://bit.ly/38C0aW8สำหรับโรคซึมเศร้าทั่วไป แม้ในไทยจะยังไม่มีการใช้เครื่องฉายแสงบำบัดเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเป็นทางการ แต่ในเว็บ sanook.com ได้รายงานโดยอ้างอิงถึงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ประจำวันที่ 26 พ.ย.58 ตามลิงก์ https://bit.ly/2GYcgNr ว่าทีมวิจัยจาก ม.บริติชโคลัมเบีย แคนาดา พบว่าในการแบ่งกลุ่มผู้เป็นโรคซึมเศร้าออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกที่ได้รับยาต้านเศร้า คือ ฟลูอ็อกซีทีน และได้รับการบำบัดด้วยแสงที่เปิดจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งต้องเปิดให้สว่างในทันทีที่ตื่นนอนทุกวัน เป็นเวลา 30 นาที ปรากฏว่ากลุ่มนี้มีอาการดีขึ้นกว่าเดิม 50 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่า คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 76 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มทดลองกลุ่มที่หนึ่ง ขณะที่กลุ่มอื่นๆ ซึ่งได้รับยาหลอกหรือแสงจากเครื่องบำบัดแสงหลอกไม่มีอาการดีเท่า