รีเซต

5 ขั้นตอนการเก็บเงินที่ควรทำตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้มีเงินเหลือใช้ ไม่เดือดร้อน

5 ขั้นตอนการเก็บเงินที่ควรทำตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้มีเงินเหลือใช้ ไม่เดือดร้อน
Beau_Monde
6 พฤษภาคม 2562 ( 09:10 )
2.2K
3

     ช่วงต้นปีแบบนี้เชื่อว่าหลายๆ คนตั้งเป้าหมายอะไรสักอย่างต้อนรับปีใหม่อยู่แน่ๆ ค่ะ บางคนตั้งใจจะลดน้ำหนัก บางคนตั้งใจจะเลิกขับรถเร็ว และบางคนก็ตั้งใจจะ เก็บเงิน ให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้อย่างคนอื่นเขา ซึ่งการตั้งเป้าหมายต้อนรับปีใหม่แบบนี้ ใครๆ ก็ทำกันแต่จะมีสักกี่คนที่ทำได้จริงและทำได้ต่อเนื่องยาวนานไปจนจบปี 


     วันนี้เราเลยมี 5 ขั้นตอนการ เก็บเงิน ที่ควรทำตั้งแต่ต้นปี และควรทำตั้งแต่ตอนนี้อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปค่ะ เพราะไม่แน่ว่าหากคุณมัวแต่ปล่อยให้เวลาผ่านเลยไม่ยอมเก็บเงินเสียที เมื่อถึงเวลาที่ตัวเองจำเป็นต้องใช้เงินก็อาจจะต้องไปหยิบยืมใครให้ต้องเป็นหนี้สินก็ได้ อย่าปล่อยให้การตั้งเป้าหมายของเราในช่วงต้นปีของเราผ่านเลยค่ะ รีบเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้ เราก็จะมีเงินใช้ต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน 

1. ทบทวนปัญหาทางการเงินในปีที่ผ่านมา
     ลองสำรวจเงินในบัญชีของตัวเองดูค่ะ ว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมาคุณมีเงินงอกเงยในบัญชีบ้างหรือเปล่า ซึ่งถึงแม้ว่าบางคนอาจจะไม่มีเงินในบัญชีมากขึ้นเท่าไหร่แต่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาแทนที่แบบนี้ก็ถือว่ามีการเติบโตทางการเงินอยู่ค่ะ รวมถึงบางรายที่ไม่มีเงินเก็บในบัญชีแต่รายการหนี้ลดลงแล้วแบบนี้ก็ถือว่าดีมากๆ ส่วนใครที่ยังไม่มีอะไรเลยทั้งทรัพย์สินและเงินออมในบัญชี ลองทำข้อต่อไปดูค่ะ อย่าลืมว่าคุณยังพอจะมีเวลาที่จะเก็บออมเงินได้ แต่อย่าชะล่าใจค่ะ

2. กำหนดเป้าหมาทางการเงินในแต่ละเดือน
     ลองกำหนดเป้าหมายเป็นรายเดือนก่อนก็ได้ อาจจะไม่ต้องถึงขึ้นทำตามแผนให้ได้แบบจริงจังแต่ก็ควรทำให้ได้ตามนั้นบ้างค่ะ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะกำหนดว่าฝากเงินเดือนละ 1000 บาททุกเดือน ซึ่งถ้าเรากำหนดแบบนี้ก็จะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้มากขึ้น รวมถึงลองสำรวจภาระหนี้สินของตัวเองด้วยค่ะว่าจะทำอย่างไรให้หนี้สินที่เรามีค้างอยู่หมดไป โดยอาจใช้เงินที่เราฝากทุกเดือนมาตัดยออดหนี้สินของเราออกไปบ้างก็ได้

3. จดบัญชีรายรับ-รายจ่าย
     การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอาจจะดูยุ่งยากสำหรับบางคน แต่ในปัจจุบันเรามีแอปพลิเคชั่นเกี่ยวการการจดบัญชีเหล่านี้ในมือถือมากมาย เราสามารถบันทึกได้ง่ายๆ ค่ะ ซึ่งการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเหล่านี้ จะทำให้เราเห็นชัดเลยว่าเราเสียงินกับอะไรไปบ้างและได้รับเงินมาจากทางไหนบ้าง และรายจ่ายอะไรที่คุณสามารถประหยัดขึ้นได้หรือลดมันลงได้ เพื่อที่เราจะได้มีเงินเหลือเก็บมาขึ้นค่ะ

4. คำนวนภาษี
     ช่วงปลายปีมักจะมีสื่อสถาบันทางการเงินหลายๆ ที่ออกมากระตุ้นให้เราใช้จ่ายเพื่อการลดหย่อนภาษี ซึ่งบางคนหากมีเงินเหลือเก็บแล้วพอจะแบ่งเงินออกมาซื้อประกัน ซื้อกองทุนรวมเพื่อใช้ลดหย่อนหรือบางรายซื้อประกันเพราะตนเองยังไม่มี อันนี้ก็น่าสนใจค่ะ แต่หากบางรายที่ยังไม่มีเงินเหลือเก็บมาก ยังต้องหมุนเงินใช้อยู่แต่หวังจะซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้เพื่อหวังจะลดภาษีอย่างเดียว เราก็ขอแนะนำให้คิดดีๆ ก่อนค่ะ เพราะบางคนเงินที่เสียไปกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้นอกจากจะไม่คุ้มกับเงินภาษีที่ลดลงมาแล้ว อาจยังต้องเสียเงินเก็บ จ่ายแพงขึ้นแล้วสุดท้ายก็มากระทบกับเงินเก็บของเราค่ะ

5. ตรวจสอบความเสี่ยงทางการเงิน
     เมื่อเราอายุมากขึ้น เราก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่สูงขึ้น นอกจากนี้บางรายมีครอบครัวก็อาจจะต้องมีการเผื่อเงินไว้ให้ลูกและครอบครัว บางรายมีเรื่องของการผ่อนบ้านผ่อนรถ ก็อาจจะต้องเตรียมเงินเผื่อไว้ส่วนนี้ด้วย ซึ่งแบบนี้ถือเป็นความเสี่ยงทางการเงินที่เราควรเผื่อเงินเก็บของเราเอาไว้ เพื่อไม่ให้กระทบกับเงินเก็บก้อนหลักของเราค่ะ ซึ่งหากเรามีการวางแผนไว้อย่างดีแล้ว เราก็จะมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หนชรือเมื่อเราจำเป็นจะต้องใช้เงินค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ


5 วิธีออมเงิน ที่ลองทำแล้วชีวิตจะดี มีเงินเก็บเพียบ!

4 วิธีออมเงิน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ในหลวง รัชกาลที่ 9

เลือกธนาคารฝากเงินตามวันเกิด ให้รวยเพิ่ม เงินเก็บเพียบ!


ติดตาม women.trueid.net ได้ที่

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง