ว่ากันว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว.....ถ้าสุขภาพจิตดี สุขภาพกายย่อมดีตามไปด้วย ในสภาวะสังคมปัจจุบันนี้ มีแต่เรื่องเครียดๆ ที่คอยเข้ามารุมทำร้ายจิตใจเราอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเหตุนี้ เราจึงต้องคอยสังเกตุสุขภาพจิตและอารมณ์ของเรา หรือผู้คนที่อยู่รอบข้าง ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง....มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าบ้างไหมเอ่ย....ตอนนี้เพจครุ่นคิด EP.2...จะพาเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจ โรคซึมเศร้า กันอีกครั้ง...เพื่อจะได้ทำตัวให้ถูกเมื่อเราได้อยู่ร่วมกับผู้ที่ซึมเศร้า โรคนี้จะรู้ตัวอาการได้โดยพิจารณาตามเกณฑ์วินิจฉัยภาพรวมหลักๆ ดังนี้1.มีอารมณ์เศร้า เบื่อผิดปกติ เป็นตลอดทั้งวัน เป็นแทบทุกวัน ระยะเวลาที่เป็นกันต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป2.มีอาการเบื่อหน่าย ไม่อยากจะทำอะไร ซึ่งปกติแล้ว ก่อนที่จะมาเป็นซึมเศร้า เคยชอบทำกิจกรรมที่เคยทำอยู่เป็นประจำวัน เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง กินขนม พูดคุยพบปะสังสรรค์ แล้วพอเป็นซึมเศร้า อยู่ ๆก็ไม่อยากทำกิจกรรมนั้นอีกเลย คุณหมอหลิวได้พูดเสริมอีกว่า มีคนไข้หลายคนพูดเป็นแบบเดียวกันว่า “ ทำแล้วมันไม่มีความสุขเหมือนเดิม ”3.มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง แบบว่าหลังตื่นนอนขึ้นมา แทบจะลุกยืนขึ้นไม่ได้ แทบจะเอาตัวทิ้งจมไปกับที่นอนไปเลย ไม่อยากตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตแบบปกติ เพราะเหนื่อยมากจนไม่ไหว จนไม่อยากไปเจออะไรอีก4.เบื่ออาหาร น้ำหนักลด รู้สึกว่ากินอะไรไม่อร่อยเท่าเดิม5.มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับผิดปกติ เช่น ตื่นมากลางดึก ตื่นมาช่วงปลายของการนอน6.มีสมาธิและความจำแย่ลง และก็มีความรู้สึกผิดกับตัวเองที่มากเกินไป เช่น รู้สึกว่าทำอะไรไม่เหมาะสมทำตนเองเป็นภาระผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา คิดเรื่องการตายซ้ำๆวนเวียนไปเรื่อย ๆจนกระทั่งคิดถึงวิธีฆ่าตัวตาย สรุปอาการทั้งหมดที่กล่าวมาต้องเป็นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ติดต่อกันและเป็นเกือบตลอด อันนี้คือโรคซึมเศร้า แล้วก็ต้องไม่เกี่ยวกับเรื่องของการใช้ยาหรือสารเสพติดอื่นๆ ถึงจะมีอาการเหล่านี้ได้ ..........หมอหลิว อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งคุณหมอได้พูดไว้ใน Podcast รายการ RE-mind (ค้นหาฟังในยูทูปได้)โรคซึมเศร้า....เนื่องจากฮอร์โมน สารเคมีในสมองมันเสื่อม ? หมายถึง โรคซึมเศร้า ที่อยู่ๆก็ป่วยเป็นโรค อาจมีความเครียดมากระตุ้น....ไม่ได้เป็นนิสัย ไม่ได้อ่อนแอ ไม่ได้ไม่เข้มแข็ง ไม่ได้แปลว่าไม่สู้ แต่มันป่วยขึ้นมาเอง เป็นโรคซึมเศร้า คำว่า “โรค” แปลว่าเรามีสาเหตุทางร่างกายปัจจัยทางชีวภาพที่เกี่ยวข้อง เรื่องของปัจจัยทางชีวภาพที่พบคือ เป็นเรื่องของสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ( ขออธิบายให้ง่าย ๆ คำว่า “สารสื่อประสาท” แบบว่าในสมองของเรา จะเหมือนมีคนงานคุยกัน ติดต่อสื่อสารกัน วิธีการคุยก็ต้องใช้สารตัวนี้เพื่อติดต่อสื่อสารกัน เพื่อให้ร่างกายทำงาน ขยับแขนขา ฯลฯ )พบเจอว่ามีสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องที่มีความบกพร่องของสารเหล่านั้น เช่น บางส่วนก็มีเรื่องของสารที่มันพร่องไป หรือมีเรื่องของตัวรับที่มันบกพร่องไป มีการถูกทำลายมากผิดปกติ เช่น จะมีสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้อง ซีโรโตนิน โดปามีน นอร์เอพิเนฟริน เป็นต้น ก็จะมีสารประเภทนี้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอาการของโรคซึมเศร้าดังนั้น ผู้ป่วยซึมเศร้าจะมีสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ มีระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียด สิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้ให้เห็นว่าเป็นโรค ไม่ใช่อาการซึมเศร้าทั่วไป ดังนั้น คนบางคนโดนเรื่องเครียด คนนั้นเขาอยู่ได้รับมันได้เป็นปกติ....กับบางคนเรื่องเครียด เรื่องเดียวกันกลับเป็นโรคซึมเศร้า....แต่เมื่อใดถ้าสงสัยว่าตนเองเป็นซึมเศร้าหรือป่าว ให้ลองค้นหาในอินเตอร์เน็ตดูว่า เราเป็นซึมเศร้าหรือป่าว ก็จะมีแบบสอบถามออนไลน์ให้ประเมินเบื้องต้นเพื่อหาคำตอบให้ แล้วประเมินตัวเองได้ว่าเป็นหรือไม่เป็น หรือถ้ายังสงสัยอยู่ว่าเป็นโรคซึมเศร้าแน่ ๆ....ก็อาจจะโทรไปทางสายด่วนของกรมสุขภาพจิต โทร 1323 แล้วถ้าเรามีคนในครอบครัว จะพูดกับเขาอย่างไร มีคำพูดไหนที่ไม่ควรพูดกับเขามีคำถามยอดฮิตจากญาติของผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ว่า ทำยังไงดี...รู้สึกว่าอยู่กับคนป่วยเป็นซึมเศร้าแล้วเกร็งจังเลย ? ไม่รู้ว่าจะพูดอะไรได้...จนบางทีมันกลายเป็น ทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวคนไข้เป็นซึมเศร้า รู้สึกอึดอัด เพราะว่าทุกคนไม่กล้าพูดอะไรเลย...กลัวพูดไปแล้วผิด จะพูดอย่างไรดีให้ดูเป็นธรรมชาติมันก็มีคำพูดหลายแบบนะ เอาเป็นว่า ลองคิดตาม....คำพูดแบบไหน ไม่ควรพูด ถ้าตัวเราเองเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าคิดง่ายๆ....เราไม่ชอบคำพูดแบบไหน ก็พูดประมาณนั้นแหละ ยกตัวอย่างคำพูดที่คนชอบพูดกัน เวลาพูดกับคนไข้ซึมเศร้า หรือคนที่มีเรื่องเครียดๆ แล้วเราชอบพูดไป ยกตัวอย่าง เช่น “ อย่าคิดมากนะ ” .....คำพูดง่ายๆ พูดเบาๆแบบนี้ แต่สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าหลาย ๆ คนพูดเป็นแบบเดียวกันเลยว่า “ แล้วคิดเหรอว่าเขาไม่อยากจะคิด แต่มันห้ามตัวเองไม่ได้ ” ....บางทีคำว่า “ อย่าคิดมาก ” ที่เราพูดออกไปเพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกดี แต่ความจริงแล้วเขาไม่ได้รู้สึกดีตาม แต่กลับคิดมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ“ สู้ๆนะ ” .....คำพูดนี้ยิ่งพูดง่ายและพูดกันบ่อย ทำให้เรารู้สึกว่าได้ให้กำลังใจเขา แต่คนไข้ซึมเศร้า ผู้ป่วยก็จะพูดว่า ไม่รู้จะสู้อย่างไรแล้ว สู้จนมันไม่ไหวแล้ว.....บางครั้งเวลาเราพูด สู้ๆนะ เป็นคำทิ้งท้ายของเราก่อนจะจบบทสนทนาตอนที่เราได้เจอกัน ได้คุยกันกับผู้ป่วยซึมเศร้า....แต่มันเป็นความรู้สึกที่ทิ้งไว้ให้กับเขา คนที่เป็นซึมเศร้ารู้สึกว่า เขาต้องสู้อีกครั้ง แต่เขาสู้ไม่ไหวแล้ว...เหมือนทิ้งความรู้สึกที่ต้องเหนื่อยให้เขาอีกครั้งนอกจากนี้ก็มีอีกหลายคำพูดในลักษณะคล้ายๆกัน เช่น อย่าท้อนะ เธอต้องทำได้ เรื่องมันนิดหน่อย แค่นี้เองอันนี้ต้องทำความเข้าใจนะว่า ขนาดเราเป็นคนปกติทั่วไป ที่สภาพอารมณ์ไม่ได้ดำดิ่งเหมือนคนที่เป็นซึมเศร้า...เราไหวนะ เราไม่ท้อได้นะ เราพยายามได้นะ เราทำได้นะ เราสู้ไหวอยู่แล้วเรื่องแค่นี้เองเดี๋ยวมันก็ผ่านไป....แต่ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ได้รู้สึกแบบนั้น... พวกเขารู้สึกว่า มันไม่ใช่เรื่องที่สู้หรือไม่สู้ ท้อหรือไม่ท้อ...แต่มันเป็นโรคไง มันเลยไม่ไหวไง....ดังนั้นคำพูดให้กำลังใจแบบนี้ ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลย แล้วก็ยังมีคำพูดบางอย่างที่เป็นคำพูดเชิงตำหนิ เช่น เราไปพูดกับเขาว่า...” ร้องไห้ทำไม เรื่องแค่นี้เอง ” แต่สำหรับคนเป็นซึมเศร้าแล้ว เขาไม่ได้อยากร้องไห้นะ...แต่ลองคิดดูว่า ร้องไห้ทุกวันมา 2 สัปดาห์แบบนี้แล้ว แต่ละวันต้องร้องไห้ วันล่ะครึ่งชั่วโมง ถึงสองชั่วโมง...คนทั่วไปคงไม่ได้อยากทำแบบนั้นแน่นอน ถ้าเขาไม่ได้เป็นซึมเศร้า....ดังนั้นคำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่ส่งผลเชิงลบแก่ผู้ป่วยซึมเศร้า แต่ว่า ผู้พูดเองโดยส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบ แต่บางทีพูดไปโดยความรู้สึกที่ว่าเราหวังดีแต่เราไม่รู้ว่ามันไปกระทบใจของเขาจากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้ว เคยเผลอพูด เชิงตำหนิไปด้วยเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่ามันคือคำพูดเชิงตำหนิ ในช่วงแรกๆ เพราะเราก็ไม่รู้ตัวว่า เพื่อนกำลังเป็นภาวะซึมเศร้าอยู่...ผลก็คือเล่นเอางอน ไม่พูดกันไปเป็นเดือนเลย...มารู้ทีหลัง เราเองก็เสียใจรู้สึกผิด ในสิ่งที่ทำไปเช่นกัน....แล้วต้องรอเขาอาการดีขึ้น อีก 3-4 เดือน กว่าจะปรับความเข้าใจกันได้...เหตุการณ์นี้สอนให้รู้ว่า คิดก่อนพูด ไม่ควรมองข้ามสิ่งง่ายๆ คำพูดง่ายๆ แต่ส่งผลกับบางคนไปเป็นอีกแบบ...หวังดีแต่ได้ไม่ดีแทน ดังนั้น เมื่อเราได้อยู่กับผู้ป่วยซึมเศร้า บางทีเราก็อยากจะพูดอะไรให้เขารู้ดีขึ้น แต่ไม่ต้องพูดดีกว่า...ให้เข้าไปฟังเขา รับฟังเขาหรือบางทีการใช้ความเงียบ ก็ทรงคุณค่าและส่งผลดีกว่าที่เราจ้องจะเข้าไปพูดอะไรให้เขาฟัง โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ต้องการผู้คนเข้าใจและสังคมก็ต้องเข้าใจ ในตอนนี้การเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพจิต ก็มีมากขึ้นแล้ว.... ถ้าเราเข้าใจโรคซึมเศร้าได้ดีพอก็จะให้การดูแลช่วยเหลือตัวเอง และคนรอบข้าง ให้ได้รับการปฎิบัติตัวเบื้องต้นกับภาวะซึมเศร้าอย่างถูกต้อง อย่างเหมาะสม เราก็จะอยู่ร่วมกับโรคนี้ได้อย่างเห็นอกเห็นใจกัน สังคมก็น่าอยู่ ภาพปกทำเองจากเว็บไซต์ canva.comหน้าปก โดย flaticon จาก freepik.comภาพที่ 1 โดย benzoix จาก freepik.comภาพที่ 2 โดย benzoix จาก freepik.comภาพที่ 3 โดย flaticon จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย DCStudio จาก freepik.comเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !