กระเจี๊ยบ หรือ กระเจี๊ยบแดง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdaiffa L. และมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Jamaica sorrel หรือ Roselleกระเจี๊ยบมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกาตะวันตก ต้นกระเจี๊ยบชอบแดดจัดๆ และเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นพอเหมาะ จึงปลูกได้ง่ายๆที่ประเทศไทยลักษณะทางพฤกศาสตร์ • เป็นไม้พุ่ม ต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีขนตามกิ่งและก้านและมีสีม่วงแดง ใบกระเจี๊ยบเป็นใบเดี่ยว ดอกของกระเจี๊ยบมีสีขาวเหลือง กลางดอกสีม่วงแดง• ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกต้นบาง ต้นอ่อนมีสีเขียว ต้นแก่มีสีม่วงอมแดง• ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตามกิ่ง ใบมีลักษณะคล้ายใบเลื่อยเว้าลึก หรือทรงรีขอบเรียบ ก้านใบยาว มีสีเขียว มีขนใบเล็กๆ• ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากแขนง และรากฝอยออกรอบๆ• ดอก เป็นดอกเดี่ยว มีลักษณะทรงกรวย กลีบดอกมีสีชมพู หรือสีเหลือง ก้านช่อดอกสั้น• ผล มีลักษณะทรงกลมรี มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงเนื้อฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ มีรสชาติเปรี้ยว ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาลจะแห้งแตก มีเมล็ดอยู่ข้างในสรรพคุณของกระเจี๊ยบ • กระเจี๊ยบมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระทั้งสารในกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารในกลุ่มแอนโธไซยานิน สารพฤกเคมีดังกล่าวมีสรรพคุณในการลดไข้ ต้านการอักเสบ• ลดความดันโลหิต • ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ • ลดน้ำตาลในเลือด • ลดไขมันในเลือด • ป้องกันโรคหัวใจสารสำคัญชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในกระเจี๊ยบแดงกลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกมีสารสีแดงจำพวกแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และกรดอินทรีย์ เช่น กรดแอสคอบิก (ascorbic acid) กรดซิตริก (citric acid) กรดมาลิก (malic acid) และกรดทาร์ทาริก (tartaric acid)กระเจี๊ยบแดงมีสารต่างๆ ดังที่กล่าวมา จึงทำให้กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลายอาหารจากกระเจี๊ยบแดง• ยำดอกกระเจี๊ยบแดง• ใบกระเจี๊ยบแดงผัดไข่• น้ำกระเจี๊ยบ• กระเจี๊ยบแดงผัดกะปิ• แยมกระเจี๊ยบ• กระเจี๊ยบหยีข้อควรระวัง* ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง *• ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากการทดลองในสัตว์ พบว่า ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของอัณฑะ และตัวอสุจิได้• ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน