ต่อมาก็เข้าสู่เรื่องของสุขภาพที่น่าสับสนอีกครั้ง คงมีไม่น้อยที่เวลานั่งรถโดยสาร โดยเฉพาะนั่งรถตู้สาธารณะ หรือรถตู้ของหน่วยงานแล้วรู้สึกอยากจะเข้าห้องน้ำระหว่างทางแบบดื้อ ๆ ไม่อยาก "ชิ้งฉ่อง" ก็อยากปลด "อุนจิ" ออกมาระหว่างทาง ทำให้รู้สึกหงุดหงิดใจไม่น้อย ประมาณว่า...เมื่อไหร่จะถึง? ถ้าโชคร้ายหน่อย ถ้าหากรถติดหรืออยู่ในที่ไม่สามารถหาห้องน้ำได้ คงจะยิ่งกว่า "แนตตี้" หรือ "อีแหนด" ในเรื่องไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ ก็เป็นได้ Credit pic : https://www.pexels.com/photo/white-toilet-paper-191845/ สาเหตุ 1. รับประทานเยอะก่อนเดินทาง ก่อนอื่นเราต้องถามตัวเราเองว่าก่อนหน้านี้ได้ทานอะไรหนัก ๆ บ้างไหม เช่น ทานอาหารจานเดี่ยวก่อนจะขึ้นรถ ซึ่งยังไม่ทันได้ย่อยดี พอนั่งรถไปใช้ระยะเวลาในการเดินทาง จะเริ่มเข้าสู่ระบบการย่อยอาหารภายใน 1-2 ชม. อาหารที่เหลือแค่กากรอในการกำจัดออกจากร่างกาย Credit pic : https://pixabay.com/illustrations/offal-marking-medical-intestine-1463369/ 2. ปัญหาสุขภาพ - คนที่มีปัญหาท้องผูก ถ่ายไม่ออกจะให้ทานยาระบาย ซึ่งการยาระบายเป็นยาที่ใช้ในกรณีท้องผูกเป็นเวลานาน ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาถ่ายไม่ตรงจังหวะได้ จึงไม่ควรทานเพื่อลดน้ำหนักหรือลดไขมันแบบสุ่มสี่สุ่มห้า - คนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสียเนื่องจากอาหารเป็นพิษ จะควบคุมการขับถ่ายไม่ค่อยได้ แต่ต้องทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ท้องเสีย เพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย - ปัญหาระบบลำไส้ผิดปกติ เช่น ลำไส้อักเสบ มีแบคทีเรียปนเปื้อนในทางเดินอาหาร หรือเยื่อบุผนังลำไส้ผิดปกติ ควรมียาประจำอาการนี้ติดตัวด้วย Credit pic : https://www.pexels.com/photo/bunch-of-white-oval-medication-tablets-and-white-medication-capsules-159211/ 3. สภาพอากาศ อากาศที่ร้อนอบอ้าวทำให้กระตุ้นการขับถ่ายมากขึ้นกว่าปกติ และอากาศที่หนาวทำให้เกิดปวดปัสสาวะง่ายเช่นกัน ฉะนั้นควรวางแผนการเดินทางให้ดี อย่างน้อยก็ควรทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางเพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัย Credit pic : https://www.pexels.com/photo/blur-cars-dew-drops-125510/ 4. ปัจจัยภายใน คนที่มีความเครียด หรือวิตกกังวลสูงจะทำให้ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ยิ่งนั่งรถตู้แล้วเจอเรื่องหงุดหงิดทั้งกลิ่นแอร์ รำคาญคนข้าง ๆ แม้กระทั่งโมโหสภาพนอกรถตู้ เช่น รถติด ฝนตก มีแอร์ก็เหมือนไม่มี ทำให้หงุดหงิดจนเกิดโอกาสถ่ายไม่ตรงจังหวะได้ง่ายกว่าคนปกติ Credit pic : https://www.pexels.com/photo/man-wearing-brown-jacket-and-using-grey-laptop-874242/ ทางแก้ไขเพื่อแก้ปัญหาปวดหนักบนรถตู้ ถ้าจะบอกให้แก้ไขตรง ๆ นั้นมันอยู่ที่แต่ละบุคคล ไม่ว่าจะสุขภาพ ระดับความเครียด อีกทั้งอุปนิสัยที่แตกต่างกัน แต่จะให้น้ำหนักไปทางสุขภาพ เพราะถ้ามีเรื่องอื่นถาโถมเข้ามา ทำให้ระบบการขับถ่ายมีปัญหา จึงมีวิธีแนะนำได้ดังนี้ 1. ระมัดระวังการกิน - ก่อนออกเดินทางควรรับประทานอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานสมบูรณ์ พอทำงานดีแล้วเตรียมตัวทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย - ก่อนออกเดินทาง กินแค่พอคลายท้องร้องพอ ไม่จำเป็นอย่ากินอาหารหนัก ๆ เช่น ถ้าจะกินให้กินกราโนล่าคลายท้องร้องไปก่อน อย่าเพิ่งทานเมนูข้าวเยอะ เพราะช่วงการเดินทางแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน อาจทำให้อาหารย่อยก่อนที่จะถึงที่หมาย - อย่าเพิ่งทานอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เผ็ดจัด จะไปกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายมากกว่าปกติ กินแล้วมันจะทำให้ลำไส้ปั่นป่วนง่าย 2. รักษาสุขภาพให้ดี - ท้องเสียมักจะควบคุมยาก ใครที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย จำเป็นจะต้องนั่งรถตู้ ควรทานยาฆ่าเชื้อกับยาแก้ท้องเสียด้วย เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น และไม่ให้เกิดอาการปวดหนักกลางทาง - ใครที่ท้องผูกแนะนำว่าควรทานยาระบายเมื่อถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพแล้วจะดีกว่า (ทานที่บ้านได้จะดีมาก) เพราะระบบลำไส้จะได้ไม่รวน และถูกปล่อยออกมากลางคันโดยไม่ทันตั้งตัว 3. การถ่ายตอนเช้า - การถ่ายตอนเช้าช่วยได้มาก เพราะช่วยให้ระบบขับถ่ายสมดุลขึ้นกว่าขับถ่ายตามเวลาสะดวก และจะลดปัญหาปวดระหว่างโดยสารได้ดี ข้อนี้ควรทำให้เป็นนิสัยเพื่อป้องกันการเกิดปัญหานี้ขึ้นจริง - กรณีถ่ายในห้องน้ำสาธารณะ ไม่ว่าจะไปไหนให้เตรียมทิชชูแห้งกับทิชชูเปียกติดไว้ด้วย 4. หากสุดวิสัยจริง ๆ - บอกโชเฟอร์ไปเลยแบบไม่ต้องกลัวอายว่า แวะปั๊มไหม จะเข้าห้องน้ำ บางคันอาจจะบอกระยะว่าใกล้ถึงปั๊มแล้ว หรือบางคันอาจจะต้องรอเข้าเมืองก่อน ผ่านทางด่วนก่อนถึงจะแวะได้ ในช่วงนี้ต้องอดทนอดกลั้นให้มาก ๆ เพื่อที่จะได้ปลดปล่อยออกมา - ถ้าเกิดกรณีนี้บนที่ไม่น่าจะเกิด เช่น บนทางด่วน บอกโชเฟอร์ให้เป็นระยะ โชเฟอร์จะได้เลี่ยงเส้นทางเพื่ออำนวยความสะดวก อดทนให้มาก ๆ ว่าอย่าเพิ่งพรวด ณ ตอนนี้เลย ต้องข่มใจและรู้จักขมิบให้ได้ ในช่วงนี้ภาวนากันยกใหญ่เลยทีเดียว Credit pic ภาพปก : https://www.pexels.com/photo/a-white-van-parked-on-the-street-side-near-building-3298901/