รีเซต

เรื่องที่คุณแม่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์ !! ภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูง คืออะไร รวมสาเหตุและวิธีป้องกัน

เรื่องที่คุณแม่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์ !! ภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูง คืออะไร รวมสาเหตุและวิธีป้องกัน
Beau_Monde
12 กรกฎาคม 2564 ( 13:38 )
346

     คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้วมีความผิดปกติเกิดขึ้น อย่างเช่นการตั้งครรภ์แล้วมีเลือดออก อาจเป็นไปได้ว่ามีปัญหาแท้งคุกคามหรือในบางคนก็อาจจะมีการคลอดก่อนกำหนด สัญญาณที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากและควรต้องรีบพบคุณหมอโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณหนึ่งในภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูงก็เป็นได้ ซึ่งภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูงเป็นภาวะที่สามารถสร้างอันตรายต่อตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ได้ค่ะ

 

 

ภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูง คืออะไร 

     การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง (High Risk Pregnancy) หมายถึง ภาวะใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่กระทบต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ โดยอาจกระทบถึงชีวิต ซึ่งภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูงนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอดก็ได้ โดยมีหลายปัจจัยที่ทำให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยง


ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์ความเสี่ยงสูง

  •  เกิดจากคุณแม่มีประวัติการตั้งครรภ์ก่อนไม่ค่อยดี 

     เช่น คลอดก่อนกำหนด, คลอดทารกที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม, มีประวัติการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด, ปัญหารกเกาะต่ำ, แท้งคุกคาม, ครรภ์เป็นพิษ และครรภ์แฝด

  • คุณแม่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อน 

     เช่น เบาหวาน, ความดันสูง, โรคหัวใจ, SLE, ต่อมไทรอยด์, โลหิตจาง, โรคติดเชื้อ และมีเนื้องอกที่มดลูกหรือรังไข่ รวมถึงเคยผ่าตัดทางสูตินรีเวช

  • คุณแม่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และมากกว่า 35 ปี
  • คุณแม่มีน้ำหนักเกิน
  • คุณแม่มีหมู่เลือด Rh negative
  • คุณแม่มีประวัติใช้ยาเสพย์ติด สูบบุหรี่ ติดสุรา

การป้องกันและรักษาภาวะครรภ์เสี่ยง

     การดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงมีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง โดยคุณแม่ควรควรปฏิบัติตัวดังนี้

1. ก่อนการตั้งครรภ์ ควรตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณพ่อ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ หากพบว่ามีปัญหาสุขภาพจะได้รีบทำการรักษาหรือควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนตั้งครรภ์ 
2. หากวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรรับประทานกรดโฟลิกล่วงหน้า 2-3 เดือน เพื่อป้องกันความผิดปกติในทารก เช่น กระดูกสันหลังแหว่งหรือเปิดในเด็ก
3. ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ และควรแจ้งประวัติส่วนตัว ประวัติโรคที่เป็นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด รวมถึงต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
4. งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด
5. หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดผลต่อครรภ์ได้
6. วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
7. ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยจนเกินไป
8. คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกาย และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
9. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
10. พักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

อ้างอิง

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง