เราเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังเข้าใจผิดว่า 'ไขมัน' คืออุปสรรคใหญ่ในการลดความอ้วน เลยเลือกที่จะไม่กินไขมันเลย ซึ่งวิธีลดความอ้วนแบบนี้อันตรายมาก เพราะไขมันเป็นสิ่งที่รายกายเราต้องการนะคะ อดไม่ได้จะบอกว่า จริง ๆ ไขมันไม่ได้อันตรายเสมอไป เพราะไขมันนี่แหละที่เป็นตัวช่วยลดความอ้วนชั้นดีเลยค่ะ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันใหม่ก่อนนะคะว่าไขมันมีกี่แบบ แล้วเราควรทานไขมันแบบไหนที่ช่วยลดความอ้วนได้ ไขมันแบบไหนที่ช่วยให้เราลดความอ้วนได้?ไขมันจะมีอยู่ 2 แบบคือ ไขมันดี และ ไขมันไม่ดี ไขมันดี คือ ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไขมันตัวนี้แหละที่เป็นคีย์หลักในการลดความอ้วนของเรา!สามารถพบได้ในอาหารจำพวก : น้ำมันมะกอกถั่วและพืชมีฝักโฮลเกรน (ธัญพืชไม่ขัดสี) ข้าวกล้องผลไม้ไฟเบอร์สูง เช่น พรุน แอปเปิล ลูกแพร์ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์สายรุ้ง ปลาทูน่าชนิดอัลบอคอร์เมล็ดแฟลกซ์บราซิลนัต (ถั่วบราซิล) อัลมอนด์ พิสตาซิโอ ถั่วลิสงเมล็ดเจียอะโวคาโดถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และไขมันอีกแบบนึงก็คือ ไขมันไม่ดี เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว ที่มีผลเสียต่อร่างกาย หากกินเข้าไปในปริมาณมากทุกวัน อาจจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมายได้ สามารถพบได้ในอาหารจำพวก :ของทอด เนื้อสัตว์ นมชีส เนย กะทิ เบคอน สรุป ไขมันสามารถกินได้ แต่ควรกินในปริมาณพอเหมาะ และควรเลือกกินไขมันดีให้มากขึ้น เลี่ยงอาหารจำพวกไขมันไม่ดีต่าง ๆ เพื่อลดภาวะการเกิดคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วนนั่นเองค่ะ เพราะอะไรไขมันดีถึงไม่ทำให้อ้วน ไขมันดี ย่อยนานกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ทำให้อิ่มนานมากขึ้น ลดการกินจุกจิกและลดความอยากอาหารได้ ไขมันดี ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกายไขมันดีช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานอีกด้วยนะ ถ้าอยากลดความอ้วน ให้ลดอะไรแทนไขมัน?ให้ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง (แต่ห้ามงด) หรือให้เลือกกินเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแทนรู้มั้ยคะว่า ไขมันไม่ได้เป็นตัวเพิ่มไขมันในร่างกาย แต่เป็นคาร์โบไฮเดรตต่างหาก เพราะงั้น แทนที่เราจะลดไขมัน ให้ไปลดตัวคาร์โบไฮเดรตแทนมีงานวิจัยหลายตัวชี้ว่า การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ สามารถลดความอ้วนได้เร็วกว่า การกินอาหารไขมันต่ำถึงสามเท่าอีกด้วย เห็นมั้ยว่า ไขมันไม่ได้มีข้อเสียเสมอไป ถ้าเราเลือกทานเป็น มันยังช่วยให้เราลดความอ้วนได้มากอีกด้วย ทีนี้ก็คลายข้อสงสัยไปไม่มากก็น้อย แต่จริง ๆ ข้อมูลในบทความนี้ยังเป็นเพียงส่วนน้อยนะคะ สำหรับใครที่ลดความอ้วนอยู่ก็อยากให้ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายขึ้นกับตัวเองกันค่ะ ที่มาของบทความ :healthlinehealthshotsbiopharmเครดิตรูปภาพ : ภาพหน้าปก โดย wildpixel จาก istockภาพที่ 1 โดย JulijaDmitrijeva จาก istockภาพที่ 2 โดย a_namenko จาก istockภาพที่ 3 โดย SHVETS production จาก pexelsภาพที่ 4 โดย Total shape จาก unsplashเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !