Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ ภัยร้ายคนเมือง 2020 เรื่อง : PARICH ในสภาวะที่สภาพอากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มลภาวะที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สิ่งที่กล่าวมานั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตได้ โดยเฉพาะคนทำงานภยในอาคารหรือตึกกลางเมือง จนอาจเกิดเป็น ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ ได้นั่นเอง โรคนี้มีที่มาอย่างไร แล้วทำไมปัจจุบันโรคนี้ถึงเริ่มเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมหาวิธีการป้องกันกันดีกว่ารูปภาพจาก : Unsplash กลุ่มของโรคตึกเป็นพิษ มักจะเกิดภายในบริเวณอาคาร เนื่องจากสภาพของอากาศมีคามเป็นมลพิษ ทั้งจากระบบหมุนเวียนของอากาศที่ไม่ดี ทั้งจากสารระเหยที่ถูกปล่อยมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สาระเคมีที่ระเหยออกมาจากผนัง ทั้งจากสีทาผนัง สารเคลือบต่าง ๆ รวมไปถึงไรฝุ่นที่กระจายตัวอยู่ตามพรม เฟอร์นิเจอร์ ห้องที่อับชื้นภายในอาคาร รูปภาพจาก : Unsplash ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลให้เกิดอาการอ่อนล้า มีอาการเวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ ระบบทางเดินหายใจบกพร่อง คัดจมูก ไอ จาม หรืออาจะเกิดอาการระคายเคืองดวงตา และจมูก แต่จะมีอาการเฉพาะเวลาอยู่ภายในอาคาร เมื่อออกจากอาคารแล้วอยู่ในบริเวณที่ปลอดโปร่งอาการเหล่านี้จะหายไป แต่สำหรับคนที่มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย อาจส่งผลให้มีอการที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ จนอาจไปถึงอาการหอบหืด จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเริ่มมีอาการ รูปภาพจาก : Unsplash วิธีการป้องกัน เริ่มจากการปรับระบบหมุนเวียนภายในอาคารให้สามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีมุมอับหรือห้องอับ เปิดหน้าต่างระบายอากาศบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนอากาศจากภายนอก ทำความสะอาดภายในอาคารให้มีความสะอาดอยู่เสมอ จัดสัดส่วนของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อลดพื้นที่ในการเก็บฝุ่น เลือกใช้สีในการทาผนังที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณสารระเหยที่เป็นพิษต่อร่างกาย หาต้นไม้ต้นเล็ก ๆ มาตั้งไว้ในอาคารบ้างสักเล็กน้อย นอกจากจะตกแต่งให้บรรยากาศร่มรื่นแล้วยังช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์มากขึ้นด้วย รูปภาพจาก : Unsplash โรคตึกเป็นพิษ แม้จะเป็นโรคใกล้ตัวที่มีโอกาสเป็นกันได้ง่ายมากขึ้น แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่าย ๆ เช่นกัน เพียงแค่เริ่มจากตัวเรานั่นเองครับ