เดี๋ยวนี้ กระแสการรับประทานน้ำตาล หรือแป้งให้น้อยลงค่อนข้างสำคัญ เพราะน้ำตาลเป็นตัวการนำไปสู่ความเจ็บป่วยหลายอย่าง เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น หลายคนเริ่มรับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น แต่เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่า น้ำตาลยังพบได้ในผลไม้บางชนิดอยู่ดี แถมบางตัวก็ให้น้ำตาลพอๆ กับน้ำตาลในชานมไข่มุกอีกด้วย ถ้าอย่างนั้น จะมีผลไม้น้ำตาลสูงอะไรบ้างที่เราไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ไปดูกันเลย!***หมายเหตุ*** การบริโภคน้ำตาลตามองค์การอนามัยโลกได้กำหนดการบริโภคน้ำตาล ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หรือ 24 กรัมต่อวัน)สำหรับผู้อ่านที่สนใจผลไม้ที่น้ำตาลน้อยสามารถคลิกดูเพิ่มเติมได้ที่ : 12 ผลไม้คุมน้ำหนัก ลดความอ้วน ไฟเบอร์สูง น้ำตาลต่ำ แถมดีต่อสุขภาพด้วย1. มะพร้าว น้ำมะพร้าวปริมาตร 105 มิลลิลิตร มีปริมาณน้ำร้อยละ 94 ให้พลังงานเพียง 17 กิโลแคลอรี แต่! น้ำตาลต่อหนึ่งลูกอยู่ที่ 4.4 กรัม ถึงแม้ปริมาณน้ำตาลในน้ำมะพร้าวสดจะไม่สูงมาก แต่ก็ควรระวังเวลาไปซื้อน้ำมะพร้าวปั่น หรือสำเร็จรูป เพราะอาจได้น้ำตาลสูงเกินความจำเป็นด้วยนะครับ ส่วนตัวผลเลยชอบดื่มน้ำมะพร้าวสดดีกว่า เพราะสดชื่นดี2. ละมุดผลไม้เนื้อนุ่มนิ่มแบบนี้ไม่น่าเชื่อเลยว่า ประมาณ 2 ลูกใหญ่ ให้น้ำตาลถึง 17 กรัม แถมให้พลังงานไปตั้ง 117 กิโลแคลอรี ใครมีความเสี่ยงเรื่องน้ำหนักขึ้น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรเพลาๆ ผลไม้ชนิดไว้ก่อนจะดีกว่านะครับ3. ลำไยนึกถึงลำไย คงต้องนึกถึงความหวานแหลมชนิดผึ้งบินมาตอม โดยลำไยประมาณ 100 กรัมให้น้ำตาลอยู่ที่ 17-18 กรัม แถมให้พลังงานตั้ง 111 กิโลแคลอรี ส่วนถ้าอบแล้ว 10 ลูกจะให้น้ำตาลลงมาหน่อยประมาณ 13 กรัม เรียกได้ว่าสายลดน้ำหนักอย่างผมที่ไม่ชอบลำไยเลยขอเลี่ยง แต่หากจะทานคงทานแบบอบแห้งไม่เกิน 5 ลูก น่าจะโอเคกว่า4. อ้อยน้ำอ้อยปั่นสดนี่มันสดชื่นดีจริงๆ แต่เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่า อ้อย 100 กรัม ให้น้ำตาลสูงถึง 14 กรัมเลยทีเดียว!!! ยิ่งถ้าเอามาทำน้ำคั้นไม่รู้ใช้อ้อยไปกี่ท่อน เรียกว่าน้ำตาลคงพุ่งทะยานแน่ๆ สำหรับตัวผมแล้ว อ้อย ผมก็ขอโบกมือลาเช่นกันครับ5. ขนุนผลไม้ราคาถูก หอมหวานที่หลายคนชอบรับประทานมานาน ก็คือ ขนุนเนื้อแน่นๆ นี่เอง โดยขนุนประมาณ 3 ยวงใหญ่ (100 กรัม) ให้น้ำตาลอยู่ที่ 21-28 กรัม แถมให้พลังงานตั้ง 163 กิโลแคลอรี สายห่วงน้ำหนักขึ้นผมว่าถ้าอยากรับประทานจริงๆ เพียง 1 ยวงก็คิดว่าน่าจะเพียงพอแล้ว6. ทุเรียนหลายคนอาจจะคิดว่าทุเรียนมีแค่ไขมันที่ควรกังวล แต่ทุเรียนนี่แหละก็เป็นแหล่งน้ำตาลที่สูงเช่นเดียวกัน โดยปริมาณน้ำตาลจะแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ในช่วง 10-21 กรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม สายพันธุ์ที่มีปริมาณน้ำตาลสูงสุดคือ หมอนทอง น้อยที่สุดคือ ชะนีไข่ รู้แบบนี้แล้วไปรับประทานชะนีไข่เพิ่มดีกว่าเนอะ แต่ใครอยู่ในภาวะอ้วน เบาหวาน ความดัน โรคไต ควรเลี่ยงดีกว่า7. มะม่วงสุกมะม่วงสุกต้องติดอันดับอยู่แล้วแหละเนอะ เช่นเดียวกันกับทุเรียนที่ปริมาณน้ำตาลจะต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์ ระหว่างช่วง 18.8- 11.3 ต่อน้ำหนัก 100 กรัม สายพันธุ์ที่ให้น้ำตาลมากที่สุดคือ มะม่วงเขียวเสวยสุกนั่นเอง แต่โดยรวมแล้ว มะม่วงสุกแบบไหนก็ให้น้ำตาลสูงเช่นเดียวกัน ดังนั้น รับประทานให้น้อยๆ จะดีกว่านะครับ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน8. เงาะเห็นตัวเลขแล้วแทบจะตกใจ เพราะเงาะโรงเรียนเพียง 4 ลูกก็ให้น้ำตาลกับคุณไปแล้วถึง 12.9 กรัม ยิ่งใครชอบรับประทานแบบเชื่อม อาจจะต้องคำนวณปริมาณน้ำตาลต่อวันให้ปวดหัวเล่นอีกเยอะแยะเลย ผมก็เลยหันไปรับประทานผลไม้อื่นๆ แทนมากกว่า9. มะขามหวานสายนางงามมะขามหวานอาจต้องรีบวางฝักมะขามหวานข้างๆ ลงอย่างด่วน เพราะมะขามหวาน 100 กรัม ให้น้ำตาลสูงถึง 58.3 กรัม!!! คุณพระช่วย ใครสายชอบทานมะขามหวานอาจต้องเริ่มลดปริมาณการรับประทานแล้วล่ะ ว่าไหม?10. สับปะรดสับปะรดรสเปรี้ยว ที่หลายคนคิดว่าน้ำตาลน่าจะน้อยสุดๆ ก็อาจจะไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะปริมาณน้ำตาลจะต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์ ระหว่างช่วง 11.1-14.5 ต่อน้ำหนัก 100 กรัม สายพันธุ์ที่ให้น้ำตาลเยอะคือสับปะรดภูเก็ต น้อยสุดคือสับปะรดภูแล ดังนั้นผมมักจะรับประทานไม่เกิน 4 ชิ้นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว11. มังคุดมังคุด 4 ลูก (64 กรัม) ให้น้ำตาลประมาณ 11 กรัม แต่ถ้าเทียบ 100 กรัม ก็ให้น้ำตาลสูงถึง 17 กรัมเลยทีเดียว ถือว่าไม่ใช่น้อยๆ เลยนะ ดังนั้นควรรับประทานแค่ 1-2 ลูกให้พออิ่มก็เพียงพอแล้ว12. ลิ้นจี่ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เห็นแล้วจะร้องว้าวแน่นอน เพราะเพียง 4 ผล แต่ละสายพันธุ์ก็ให้ปริมาณน้ำตาลตั้งแต่ 18.6-13.4 กรัม นี่ยังไม่นับการรับประทานแบบแช่อิ่มที่อาจทำให้หวานขึ้นไปอีก ใครสายกลัวแป้ง กลัวน้ำตาลต้องคิดหน้าคิดหลังดีๆ แล้วล่ะนะ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับตัวอย่างผลไม้น้ำตาลสูง ที่อาจทำให้คุณน้ำหนักตัวเพิ่ม หรือเสี่ยงต่อภาวะอ้วน เบาหวานไม่รู้ตัว ฉะนั้นใครมีภาวะเหล่านี้ควรพยายามลดปริมาณการบริโภคลง เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงในอนาคตด้วยนะครับ สำหรับข้อมูลรายละเอียดผลไม้ที่หลากหลายกว่านี้สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโภชนาการอนามัย เครดิตปกและรูปจาก pexel.com ภาพปก จาก Jane Doanรูปที่ 1 จาก Jane Doan, รูปที่ 2 จาก Thunyarat Klaiklang, รูปที่ 3 จาก Riki Risnandar, รูปที่ 4 จาก Quang Nguyen Vinh, รูปที่ 5 จาก Adrienne Andersen, รูปที่ 6 จาก abdul sameer, รูปที่ 7 จาก Tom Fisk, รูปที่ 8 จาก Riki Risnandar, รูปที่ 9 จาก Quang Nguyen Vinh, รูปที่ 10 จาก Ieng Pisey, รูปที่ 11 จาก Jessica Lewis Creative ,รูปที่ 12 จาก Quang Nguyen Vinh,รูปที่ 13 จาก Pixabayเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !