น้อยหน่า มีชื่อเรียกหลากหลาย ตามท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ลาหนัง (ปัตตานี), มะแน่ (ภาคเหนือ), หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น ประโยชน์ของหน่อยหน่า นอกจากเป็นผลไม้ที่มีรสชาติ หอม หวาน ไม่ต้องการการดูแลมาก ใบของมันยังมีประโยชน์ในการจำกัดเหาได้ด้วยหลาย ๆ ครอบครัวที่มีลูกเล็กในวัยอนุบาลถึงชั้นประถม ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย คงมีประสบการณ์เรื่องเหาเกือบทุกครอบครัว ซึ่งสามารถติดต่อกันได้จากการนั่งใกล้ชิดกัน และเด็กที่ไม่ชอบสระผมหรือนาน ๆ สระ เนื่องจากตัวเหาสามารถกระโดดได้ เมื่อเข้าไปอยู่ที่ศีรษะ จะมีอาการเริ่มแรก คือ คันมากถ้าผู้ปกครองปล่อยปะละเลย ไม่สระผมบ่อย ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ตัวเห่าจะไข่ฝากไว้ที่โคนผม จำนวนหลายใบ หลังจากนั้นจะออกลูกเล็ก ๆ ขยายไปอย่างรวดเร็วและสามารถติดคนที่นั่งใกล้ชิดกันได้ง่ายเมื่อรู้ว่ามีเหา มีวิธีกำจัดเหามาแนะนำ 2 วิธีคือใช้แชมพูกำจัดเหาที่มีขายตามร้านขายยา สระทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หลังจากนั้นใช้หวีที่ซี่ถี่ ๆ หรือหวีเสนียด สางให้ทั่วเอาตัวเหาออก ยาจะฆ่าเหาที่เป็นตัวแล้วให้ตายได้ ยกเว้นไข่เหา หลังจากนั้นประมาณ 4-5 วันทำซ้ำอีก เพราะไข่เหาจะออกเป็นตัวอีกครั้ง แชมพูจะมีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย และระวังอย่าให้เข้าตาอีกหนึ่งวิธีที่ทำมาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย คือใช้ใบน้อยหน่านำมาคั่นหรือตำกับน้ำเล็กน้อย นำน้ำที่ได้ไปหมักผมให้เปียกจนทั่วหัวคลุมผมด้วยผ้าหรือพลาสติก ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 หลังจากนั้นใช้หวีเสนียดสางเหาออกและสระผมด้วยแชมพูอีกครั้งหนึ่ง ระวังอย่าให้น้ำน้อยหน่าเข้าตา ข้อเสียของใบของน้อยหน่ามีกลิ่นค่อนข้างฉุน ข้อดีไม่ต้องเสียเงินในการซื้อ หาได้ง่ายเพราะส่วนมากจะมีต้นน้อยหน่าทุกภูมิภาคของไทยการป้องกันการแพร่กระจายของเหา สามารถทำได้ด้วยการรักษาความสะอาดของทุกคนในบ้าน ทำความสะอาดเครื่องใช้ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ที่นอน หมอน ให้สะอาด แยกของใช้ ไม่ใช้ร่วมกับผู้ที่เป็นเหา และเมื่อเป็นเห่าควรรีบกำจัด และควรตัดเล็บให้สั้น ไม่แคะ แกะ เกา บริเวณที่เป็นเหา เพราะอาจทำให้ติดเชื้อซ้ำได้