รีเซต

วิธีดูแลกล้วยด่าง พันธุ์ไม้แต่งบ้านยอดฮิต กล้วยด่างมีกี่ชนิด เลือกอย่างไรไม่ให้โดนหลอก

วิธีดูแลกล้วยด่าง พันธุ์ไม้แต่งบ้านยอดฮิต กล้วยด่างมีกี่ชนิด เลือกอย่างไรไม่ให้โดนหลอก
Beau_Monde
4 กรกฎาคม 2564 ( 10:35 )
22.5K

     นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก "กล้วยด่าง" ต้นไม้ที่กำลังเป็นแทรนด์ฮิตอยู่ในขณะนี้ ซึ่งด้วยสีสันที่แปลกตา ทำให้เกิดเป็นลวดลายบนใบที่สวยงามและกลายเป็นที่ต้องการของคนรักต้นไม้อยู่ในตอนนี้ จนทำให้ราคาค่าตัวของกล้วยด่าง พุ่งขึ้นไปกว่าหลายเท่าตัว

     หลายๆ คนที่อยากจะปลูกกล้วยด่าง ก็ควรที่จะต้องมีการศึกษารายละเอียดกันก่อน ว่ากล้วยด่างนั้นมีกี่สายพันธ์ จะต้องเลี้ยงดูอย่างไรให้ต้นไม้ยังดูแข็งแรงและเจริญเติบโต รวมถึงจะดูอย่างไรว่าต้นกล้วยด่างที่เราได้มานั้นเป็นไม้ด่างจริงๆ ไม่ใช่เป็นไม้ด่างเพราะขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ วันนี้เรามีรายละเอียดมาให้แล้วค่ะ

 

 

กล้วยด่างคืออะไร

     จากข้อมูลขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้ให้ไว้ว่า กล้วยด่าง จัดเป็นพืชในวงส์ MUSACEAE โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa (ABB Group) ‘Kluai Dang’ ลักษณะลำต้นเทียมสูง 2.0-3.0 เมตร ให้หน่อด่างเมื่อลำต้นใหญ่ขึ้นจะมีสีเขียวอมชมพู แผ่นใบใหญ่ โคนก้านใบสีชมพูอ่อน ปลีสีแดงคล้ำ มีนวล รูปค่อนข้างเรียว เครือหนึ่งมี 4-5 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล รูปผลโค้งงอ ปลายสอบเรียว ผิวสีด่างขาวเขียวหรืออมชมพู โดยผลของกล้วยด่างนั้นสามารถรับประทานผลสุกได้ รสชาติคล้ายกล้วยไข่ แต่มีรสอมเปรี้ยว

 

กล้วยด่างมีกี่ชนิด

     กล้วยด่างนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ โดยเกิดจากกรกลายพันธุ์และทำให้มีสีด่างเกิดขึ้นที่ใบ ซึ่งการกลายพันธุ์นี้สามารถเป็นได้กลับกล้วยทุกพันธุ์ค่ะ แต่สายพันธุ์กล้วยด่างที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเป็นไม้ประดับนั้น มีหลักๆ อยู่ประมาณ 4 สายพันธุ์ด้วยกันนั่นก็คือ

 

1. กล้วยฟลอริด้าด่าง (Musa Florida Variegated)

 

 

 

     กล้วยฟลอริดาด่าง Musa Florida Variegated ลักษณะคล้ายต้นกล้วยปกติทั่วไป แต่แตกต่างตรงที่ใบและลำต้นมีลวดลายด่างสีขาว สีเหลืองสลับสีเขียวตามแนวเส้นใบ จัดเป็นไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นเป็นแบบกาบใบซ้อนกันจนแน่น มีผลคล้ายกล้วยหักมุกและกล้วยหอม ผลมีลวดลายด่าง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินที่มีการระบายน้ำที่ดี ชอบแดดรำไรแต่ก็สามารถอยู่กลางแดดจัดได้เช่นกัน

 


2. กล้วยแดงอินโดด่าง (Musa Siam Ruby)

 

 

 

     กล้วยด่างชนิดนี้ จะมีใบสีแดงแซมด้วยสีเขียว บางส่วนของใบอาจเป็นสีขาวและเหลืองผสมอยู่ ซึ่งลายด่างแบบนี้จะไล่ไปตามแกนใบหรือเส้นใบ ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร กาบใบมีสีน้ำตาลแดงซ้อนทับกันจนแน่นเหมือนต้นกล้วยทั่วไป สามารถขยยพันธ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด แยกหน่อและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบแดดรำไรและน้ำปานกลาง

 

3.  กล้วยเทพพนมด่าง (Praying Hands Bananas)

 

 

 

     กล้วยเทพพนมด่าง มีลำต้นสูงประมาณ 3-5 เมตร จัดเป็นกล้วยที่มีผลรูปทรงสวยงาม ออกผลติดกันไม่แยกเป็นลูกเดี่ยว ลักษณะคล้ายการพนมมือ ใน 1 หวีจะมีผลประมาณ 15-17 ผล โดยปกติแล้วผลของกล้วยเทพพนมนิยมนำไปบูชาพระ เนื้อผลเหนียวนุ่ม และมีรสหวาน ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์จนเกิดเป็นกล้วยพนมด่างขึ้นและนิยมปลูกเป็นกล้วยประดับ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการแยกหน่อและเพาะเนื้อเยื่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยระบายน้ำได้ ชอบแดดรำไรและน้ำปานกลาง

 

4. กล้วยตานีด่าง (Musa ballbisiana Colla 'Variegated')

 

 

 

     กล้วยตานีด่าง ลำต้นเป็นแบบกาบใบซ้อนกันจนแน่นสูงประมาณ 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. สีของกาบลำต้นด้านนอกสีเขียวเข้มมีเส้นริ้วด่างขาว ใบด้านนอกสีน้ำตาลอมแดง มีไขหรือนวลเยอะ ใบด้านในสีเหลืองซีด ปลายใบสีแดงอมชมพู มีผลขนาดเล็กสั้นป้อม ใน 1 เครือมีประมาณ 7-8 หวี ใน 1 หวีมีประมาณ 8-10 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้ม มีริ้วด่างขาว เมื่อสุกเนื้อผลสีขาว มีเมล็ดมาก เมล็ดสีดำ ผนังเมล็ดหนาและแข็ง สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเนื้อเยื้อและแยกหน่อ 

 

วิธีดูแลกล้วยด่างและการเลือกต้นพันธุ์

     ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนของการเลี้ยงดูกล้วยด่างให้แข็งแรงและเจริญเติบโต ก็ควรจะต้องเริ่มที่ขั้นตอนการคัดเลือกหน่อต้นที่แข็งแรงเสียก่อนค่ะ โดยให้เราพิจารณราจาก

  • รากแน่นและเยอะ
  • ลำต้นสมบูรณ์ ไม่มีรอยช้ำหรือหัก
  • ลำต้นต้องแข็ง ไม่นิ่ม
  • สังเกตรูปแบบของลวดลายที่ปรากฎที่ใบ ลำต้นและถึงผล ลวดลายด่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีสีสันที่ชัด ลักษณะของใบต้องสมบูรณ์ ไม่มีรอยไหม้หรือรอยโรค

     ซึ่งเมื่อได้ต้นที่สมบูรณ์แล้ว ก็ถึงเวลาไปลงปลูกและดูแลค่ะ โดยสามารถทำได้ดังนี้

1. แช่น้ำยา

     ให้น้ำต้นกล้วยด่างที่ได้มา แช่ลงในน้ำยาฆ่าหนอนกอ แช่ยากันราและแช่วิตามินเร่งราก เพื่อฟื้นฟูต้นกล้วยด่างก่อนการลงดินปลูก

2. ผสมดินปลูก

     โดยควรจะเป็นดินที่ร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี ซึ่งผู้ปลูกสามารถผสมดินดำ เศษใบไม้และขุยมะพร้าวลงในดินได้

3. ใส่ปุ๋ยบำรุง

     สามารถใส่ปุ๋ยคอกและเสริมด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ได้บ้างเล็กน้อย

4. ระวังเรื่องแสงแดด

     กล้วยด่างชอบแสงรำไร ยิ่งในช่วงที่เพิ่งปลูกใหม่ ลำต้นยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ดียิ่งควรต้องระวัง หากโดนแดดจัดใบจะไหม้ได้ง่าย แนะนำให้สร้างโรงเรือนหรือใช้สแลนกันแดด

5. ระวังเรื่องของการรดน้ำ

     อย่าให้น้ำขังและชื้นเแฉะเกินไปเพราะอาจจะทำให้รากและลำต้นเน่าได้

 

อ้างอิง

www.qsbg.org/Database/กล้วยด่าง

www.qsbg.org/Database/กล้วยตานีด่าง

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี