สวัสดีจ้าทุกคน...ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยก็มีเพื่อนในคณะไปเที่ยวที่มัณฑะเลย์ ประเทศพม่า นี่ก็ฟังมาจากเพื่อนอีกทีว่าเขาไปที่ไหนมา หลังจากพม่าเปิดประเทศ แหล่งท่องเที่ยวมีให้เชคอินเพียบ พอผู้เขียนได้ฟังเรื่องเล่าจากเพื่อน ก็นึกสนใจว่ามีแพลนจะไปเที่ยวพม่าดูเหมือนกัน เพราะที่เคยเที่ยว เคยไปแต่เวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งใจไว้ว่าถ้ามาพม่า อยากจะไปสักการะเทพทันใจกับเที่ยวแถวแม่น้ำอิระวดีเหมือนกัน เห็นว่าแม่น้ำสวยมาก แต่ช่วงนั้นงบยังไม่มี เลยพักแพลนที่จะเที่ยวไปก่อน จนได้ยินประโยคหนึ่งจากปากเพื่อนว่า "บ้านเขายังนุ่งโสร่งอยู่เลย" จากปากเพื่อน มันทำให้นึกถึง Keyword ที่จะเขียนเรื่องการแต่งกายแบบนี้ขึ้นมา ถ้าหากมีโอกาสได้ไปก็อยากไปสัมผัสที่นั่นเหมือนกัน พอมาเห็นข่าวตรงตามที่เพื่อนเล่า จะว่าไปเห็นชาวพม่านุ่งโสร่งก็น่ารักดีนะ...ดู Chic ดี Credit pic : freepik เราเคยได้ยินว่าพม่าหรือเมียนมาร์ (Myanmar) เปิดประเทศกันมาได้สักพักแล้ว ซึ่งเวลาเราจะเห็นชาวพม่าแต่งตัว ก็เริ่มแต่งตัวมาทางตะวันตกมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าชาวพม่าจะเบนไปนิยมแต่งตัวแบบทางตะวันตกเสมอไป แม้กระทั่งแฟชั่น Longyi ก็เช่นกัน ในฐานะที่เราเป็นคนไทย เราพอเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว เอาล่ะเรามาทำความรู้จักกับ Longyi กันเถอะว่าที่มามีความเป็นมายังไง ทำไมเขานิยมแต่งกายแบบนี้กัน แล้วการแต่งตัวแบบนี้มีความร่วมสมัยยังไงบ้างนะ ทำไมถึงยังไม่หายไปจากสังคมและวัฒนธรรมของชาวพม่าเลย แม้กาลเวลาจะยังคงเปลี่ยนแปลงไปตามโลกที่หมุนก็ตาม Credit pic : pixabay Longyi หรือที่คนไทยเรียกว่า "ลองยี" เป็นผ้านุ่งพม่า ซึ่งคล้าย ๆ ผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่จะนุ่งกันในวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยง งานมงคล งานรื่นเริงต่าง ๆ เราเคยได้ยินการนุ่งผ้าแบบนี้จาก "อองซาน ซูจี" ซึ่งเป็นเทรนด์การแต่งตัวที่ทำให้ดูว่า ลองยีใส่แล้วไม่เชยเลยสักนิดเดียว จะเห็นได้ว่ายังมีคนนิยมแต่งตัวด้วยลองยีอยู่ ไม่ว่าจะแถวกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ หรือผู้คนจะมาเที่ยวชมพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ก็ยังสวมใส่อยู่ และยังมีกฎให้ชาวต่างชาตินุ่งผ้าถุง หรือนุ่งลองยีเพื่อความสุภาพ เคารพสถานที่ที่จะไป ณ ที่นั้นด้วย Credit pic : pixabay ในประวัติศาสตร์พม่าอาจจะมีบันทึกเกี่ยวกับลองยีอยู่บ้าง (รวมถึงพงศาวดารพม่า) แต่ก็ใช่ว่าจะมีแค่สังคมชั้นสูงเท่านั้นที่นุ่งใส่กัน ยังมีประชาชนธรรมดาที่ยังสวมใส่บ้าง บ้านเขาอาจจะใส่มานานหลายอายุคน แต่เราเห็นอย่างเป็นรูปธรรมก็คงจะเป็นสมัยราชวงศ์คองบอง หรือสมัยราชวงศ์อลองพญา ที่เป็นรัชกาลสุดท้ายก่อนที่พม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ (เคยกล่าวถึงในหนังสือเรื่อง พม่าเสียเมือง) ก็ยังเห็นภาพถ่ายของบุรุษและสตรีใส่ลองยีอยู่ เพื่อสื่อให้เห็นความเป็นพม่า และยังคงความเป็นดั้งเดิม (Traditional) จนถึงปัจจุบัน ใครได้เห็น หรือได้ยินเรื่องราวความรักของมะเมี๊ยะ จะสวมใส่ชุดตามแบบสตรีพม่าดั้งเดิมเลยล่ะ การแต่งตัวด้วยลองยีมิใช่แค่ของผู้ชายอย่างเดียว แต่ผู้หญิงก็นิยมนุ่งไม่น้อย ซึ่งเวลาไปข้างนอก แม้กระทั่งคนรากหญ้าทำงาน ก็ยังมีแฟชั่นลองยีอยู่ เพราะลองยีสามารถเป็นสื่อกลางระหว่างความเป็นพื้นเมือง และความร่วมสมัยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นสิ่งสะท้อนของแฟชั่นในสายตาชาวโลกได้ไม่แพ้ "อ๋าวหญ่าย" ของประเทศเวียดนามเลย Credit pic : pixabay ลองยีก็เหมือนเป็นตัวแทนการแต่งกายที่เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์ แต่แฝงไว้ด้วยความเรียบง่าย ไม่หวือหวามาก อีกทั้งแฟชั่น "ลองยี" ยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าทางศิลปะที่จับต้องได้เป็นอย่างดี จะว่าไปลองยีก็หาซื้อได้ตามร้านขายชุดประจำชาติในประเทศไทยได้ เพราะแหล่งซื้อลองยีตามร้านมีอยู่มากเกือบทุกที่ แม้กระทั่งช่องทางออนไลน์ ระบุไปว่าลองยีชาย หรือลองยีหญิง หรือจะไปดูในประเทศพม่าของจริงก็แล้วแต่จะสะดวก อย่างไรเสียเวลาที่นึกถึงลองยีทีไร จะนึกถึงอองซาน ซูจีเสมอ ผู้เขียนชอบเรียกว่ามาดามซูจี เพราะทำให้ผ้าที่สวมใส่เรียกว่าลองยีดูแพงไปอีก แพงชนิดที่ว่าแบรนด์ดัง ๆ ก็หา Unique ไม่เจอ ดูแล้วผู้เขียนชื่นชอบซูจีมาก ดูมีความขลัง มีเสน่ห์ เหมือนมาดามแห่งลุ่มน้ำอิระวดี จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้กับชาวพม่าในรุ่นต่อ ๆ ไป ว่าแฟชั่นนี้คือ Signature ของประเทศพม่าอย่างแท้จริง ถ้าหากหมดช่วง COVID-19 เมื่อไหร่ผู้เขียนจะเก็บงบ พาครอบครัวไปพม่าดูสักครั้ง นอกจากเห็นต่างด้าวในไทยทาทานาคา ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องสำอางแล้ว ก็อยากเห็นผู้คนนุ่งลองยีสักครั้งด้วยตนเอง น่าจะมีเสน่ห์เลยทีเดียว ผู้เขียนขอจบบทความเพียงเท่านี้...สวัสดีจ้า :) Credit pic : shutterstock ใน pixabay