เมื่อเกิดโรคขึ้นมาก็มักจะพาให้เราคิดไปต่าง ๆ นานา ว่าอาการที่เกิดขึ้นกับตัวนั้นจะทรุดหนักไหม? จะเป็นอะไรมากกว่านี้เป็นโรควิตกจริตตามมาอีกโรคก็ว่าได้ สาเหตุเพราะว่ากังวลใจกับโรคที่เป็นอยู่จนให้คิดไปว่าอาการที่เกิดขึ้นแทรกซ้อนมานั้นจะทำให้ร่างกายของเรานั้นจะติดโรคเพิ่มหรือไม่ ยิ่งคนที่เป็นโรคที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่าง “โรคไขข้ออักเสบ” ด้วยแล้วละก็ยิ่งกังวลไปมากขึ้น เพราะอย่างนั้นมาเช็คอาการเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันดีกว่าสำหรับคนที่เป็นโรคไขข้ออักเสบรวมไปถึงคนที่ยังไม่ได้เป็นโรคไขข้ออักเสบก็สามารถที่จะเช็คอาการเหล่านี้ไปพร้อมกันได้เช่นกัน เครดิตภาพโดยhttps://www.freepik.com/ 1. ข้อต่อบวมขึ้น อาการไขข้ออักเสบนั้นจะเกิดอาการเจ็บแปลบ ๆ ที่ข้อต่อแต่จะยังไม่มีอาการบวมเกิดขึ้นเพียงแต่เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายข้อต่อนั้นจะเกิดอาการเจ็บขึ้นมา แต่หากเมื่อไหร่ที่เกิดอาการบวมขึ้นตรงข้อต่อที่รู้สึกเจ็บแล้วละก็นั่นคือสัญญาณที่แสดงว่าอาการไขข้ออักเสบที่เป็นอยู่นั้นเริ่มร้ายแรงขึ้นมาแล้วล่ะ หากเกิดอาการแบบนี้กับคนใกล้ชิดหรือตัวคุณเองควรที่จะไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบอาการตรงข้อต่อส่วนอื่นว่าจะมีอาการลามไปยังส่วนอื่นหรือไม่พร้อมหาทางรักษาได้ทันเวลา อันที่จริงแล้วหากอาการเจ็บเริ่มรุนแรงขึ้นก็ควรที่จะไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ จะเป็นการดีเพราะหากปล่อยจนเกิดอาการบวมนั้นอาจจะร้ายแรงไปกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้ เครดิตภาพโดย Dr. Manuel González Reyes จาก Pixabay 2. อาการเลือดออกตรงไขข้อ อาการนี้จะไม่ได้แสดงออกมาให้เราเห็นแต่จะเป็นอาการต่อเนื่องจากอาการเจ็บที่รุนแรงขึ้นจะปรากฎอาการนี้ออกมาเมื่อเรานั้นได้ไปเอ็กซ์เรย์กระดูกข้อต่อที่เจ็บเท่านั้นถึงจะเห็นอาการได้ชัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านี่คืออาการที่บ่งบอกอย่างเห็นได้ชัดว่าอาการของไขข้ออักเสบนั้นรุนแรงไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยนั้นมักจะชะล้าใจเพราะไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็นจึงเป็นสาเหตุให้บางรายนั้นอาการทรุดหนักกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นเมื่อมีอาการเจ็บที่ไขข้อบ่อยครั้งไม่ว่าจะส่วนไหนควรไปพบแพทย์เพื่อเอ็กซ์เรย์เพื่อหาต้นเหตุจะดีกว่า ดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีกว่ามารักษาตอนที่อาการทรุดหนัด 3. อาการทรุดหนักของเลือด การตรวจเลือดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์มักใช้ในการวินิจฉัยโรคไขข้ออักเสบร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจถึงอาการทรุดหนักนั้นอยู่ในระดับใด โดยการตรวจนั้นจะตรวจหาซิทรูลีนซึ่งการทดสอบนี้จะเรียกในทางการแพทย์ว่าการทดสอบแอนติบอดีเปปไทด์แอนติบอดี หรือ ACPA โดยแพทย์กล่าวว่า การทดสอบเป็นการตรวจหาอาการทรุดหนักของโรคไขข้ออักเสบเพื่อจะได้รู้ถึงความรุนแรงของอาการไขข้ออักเสบว่าอยู่ในระดับใดประกอบการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและหาทางรักษาได้อย่างถูกต้อง เครดิตภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay 4. ความเสียหายของข้อต่อ เมื่อเกิดอาการเจ็บบ่อยครั้งตรงข้อต่อควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ เพื่อที่จะดูว่าข้อต่อนั้นได้รับความเสียหายไปแค่ไหนแล้ว ถึงได้บอกว่าเมื่อเกิดอาการเจ็บแปลบบ่อยครั้งในที่เดิมควรที่จะไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อให้แพทย์นั้นได้ดูความเสียหายของไขข้อว่าได้รับผลกระทบและความเสียหายไปขนาดไหนแล้วจะได้หาทางรักษาได้อย่างทันท่วงที 5. การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป อันนี้ถือว่าเป็นการตรวจสอบอาการจากกิจกรรมของเราง่าย ๆ เช่นเราเคยเดินขึ้นบันไดได้ไกลแต่เมื่อมีอาการเจ็บแปลบขึ้นมาทำให้การเดินไปได้ซักพักก็จะเกิดอาการเหมือนติดขัดบ่อยครั้งหรือเมื่อเราเหคลื่อนไหวที่หัวไหล่ได้ปกติหรือตามข้อต่อ แต่เมื่อเกิดอาการขึ้นมาเมื่อขยับทำให้ไม่สามารถขยับในท่าเดิมที่เคยทำได้อีกครั้ง การสังเกตุอาการเหล่านี้เป็นการสังเกตุที่จะเจอเมื่อเราไปพบแพทย์ที่เกี่ยวกับไขข้อและกระดูก เหมือนเป็นแบบสอบถามอาการเบื้องต้นของคนที่มีอาการเหล่านี้ว่าจะนำไปสู่การเกิดโรคไขข้ออักเสบหรือไม่ เพราะฉะนั้นแล้วให้สังเกตร่างกายของตัวเองให้ดีเพราะหากเกิดความผิดปรกติในการเคลื่อนไหวร่างกายบริเวณข้อต่อส่วนใดแล้วล่ะก็มักจะตามมาด้วยอาการแทรกซ้อนด้วยเช่นกัน ร่างกายของเรานั้นโดยใช้งานต่อเนื่องมาหลายปีก็เป็นปรกติที่จะมีการเสื่อมของกระดูก กล้ามเนื้อ รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างแน่นอนเพราะฉะนั้นแล้วหากเกิดความปรกติใดควรไปพบแพทย์จะดีกว่าหรือหากสังเกตุอาการที่ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุใดแล้วละก็ การพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างมาก แต่หากจะให้ดีกว่านั้นการดูแลรัการ่างกายให้ดีอยู่เสมอเป็นยารักษาที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของเราในระยะยาวได้ เครดิตภาพปกโดย Dr. Manuel González Reyes จาก Pixabay