ขอบคุณภาพปกจาก Pixabay.com อาการชักในเด็ก มักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี เพราะการพัฒนาของสมองยังไม่เต็มที่ แค่พูดถึงคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนก็คงจะตกใจและเป็นกังวลแน่นอน อาการชักเกิดจากหลายปัจจัย และหลายสาเหตุ อาจเป็นมาจากพันธุกรรมของคุณพ่อและคุณแม่ วันนี้เราจึงนำสาเหตุ ลักษณะอาการ และวิธีรักษาเบื้องต้น สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มาให้ความรู้ เพื่อดูแลลูกน้อยต่อไปสาเหตุของอาการชักในเด็กภาวะชักจากไข้ขึ้นสูง มักเกิดขึ้นวันแรกหรือวันที่สองของการมีไข้เมื่ออุณหภูมิในร่างกายเกิน 39 องศาเซลเซียสจะทำให้เด็กชักได้ภาวะเสียสมดุลของน้ำตาลและเกลือแร่บางชนิดในเลือดทำให้ร่างกายผิดปกติและเกิดอาการชักได้พยาธิสภาพในสมองเฉียบพลันเกิดได้หลายสาเหตุเช่นเนื้องอกสมองขาดเลือดการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมองเป็นต้นพยาธิสภาพในสมองมาแต่กำเนิด เกิดจากการพัฒนาของสมองผิดปกติลักษณะของอาการชักอาการชักในเด็กที่มักจะพบบ่อยคือ การเกร็ง หรือเกร็งแล้วกระตุกทั่วตัว ไม่มีสติ ตาเหลือก และไม่รู้สึกตัว เมื่อเป็นบ่อย ๆ ก็จะทำให้พัฒนาการช้า อาการชักมีหลายประเภท เช่น ชักตัวอ่อน ชักตัวเกร็ง ชักสะดุ้ง ชักเหม่อ เป็นต้น"เมื่อลูกเกิดอาการชัก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร"จับลูกให้อยู่ในพื้นราบ เพื่อป้องกันอันตราย ให้ลูกนอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก และถ้าเป็นไปได้ ควรถ่ายคลิปเพื่อไปให้คุณหมอวินิจฉัยอาการ เป็นประโยชน์ต่อการรักษาค่ะ และห้ามเขย่าตัวลูก หรือปั๊มหัวใจเด็ดขาด แล้วรีบพาน้องส่งโรงพยาบาลทันที "การรีบปฐมพยาบาลและพาลูกไปตรวจร่างกายอย่างรวดเร็ว จะช่วยลดผลกระทบทางสมองที่เกิดจากอาการชักได้ " คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เขาแสดงออก หากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพราะมันอาจจะอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากการพัฒนาของระบบต่าง ๆ ของทารกยังไม่แข็งแรง สมบูรณ์ "เมื่อลูกมีไข้ ก็ควรหมั่นเช็ดตัว และวัดอุณหภูมิร่างกายเสมอ ไม่ควรให้เกิน 39 องศาฯ เพราะจะทำให้ร่างกายน้องช็อกได้" การมีลูกน้อยควรให้ความสำคัญกับเขามาก ๆ เฝ้าดูพัฒนาการต่าง ๆ เพื่อที่จะได้รู้ถึงความผิดปกติอื่น ๆ ขอบคุณภาพประกอบจาก Pixabay.com